คุ้มหรือเปล่า ? ถ้ายกเลิกแผนเที่ยวเพราะโควิด กับการ #Saveตัวเอง #Saveสังคม
ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก นำมาใช้กับการระบาดของโคโรน่าไวรัสได้ จาก Super Spreader ตัวอย่างแรกที่เกิดขึ้นในเกาหลี ที่ผู้สูงอายุท่านหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการกักกันตัวเองอยู่ที่บ้านหลังจากมีประวัติไปต่างประเทศ และได้สร้างโอกาสแพร่เชื้อแก่ผู้ใกล้ชิด และที่สาธารณะไปกว่า 1,000 คน และประเทศไทยได้พบกับเหตุการณ์ใกล้เคียงกันแต่ยังไม่ถึงกับยกระดับเป็น Super Spreader
โดยเคสนี้เป็นคุณลุงที่มีไข้สูง เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นแต่ไม่ยินยอมเปิดเผยแก่เจ้าหน้าที่และทางโรงพยาบาล และยังใช้ชีวิตสัญจรเป็นปกติคิดว่าตัวเองไม่ป่วย ส่งผลให้สาธารณสุขต้องเข้ามาดูแลประกาศให้โรงเรียน และที่ทำงานของคนในครอบครัวดังกล่าวต้องหยุดเรียนเพื่อลดอาการติดเชื้อ
COVID-19 อันตรายจนต้องยกเลิกไฟลท์บิน และ ยกเลิกทริปต่าง ๆ หรือเปล่า?
ก่อนอื่น เราต้องติดตามข่าวจากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถึงประเทศที่ควรเลื่อนสถานะการเดินทาง ซึ่งพบจำนวนผู้ติดเชื้อสูง และได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงอื่น ๆ ตอนนี้มี 6 ประเทศใหญ่ ๆ ที่จำเป็นต้องเลื่อนเดินทาง ได้แก่
- จีน (รวมถึง ไต้หวัน, มาเก๊า และ ฮ่องกง)
- ญี่ปุ่น
- สิงคโปร์
- เกาหลีใต้
- อิตาลี
- อิหร่าน
ลำดับต่อมา คุณอาจจะรู้สึกเสียดายตั๋ว เสียดายค่าทริป ซึ่งสิ่งที่คุณต้องทำคือ ตัดสินใจว่าจะเลื่อนตั๋ว หรือ ไปต่อ ซึ่งข้อนี้รัฐบาลไม่ได้ห้าม ยังไม่ได้ออกกฎหมายประกาศควบคุมว่าห้ามไป แต่ได้ออกมาขอความร่วมมือด้วยเหตุผลหลายประการ เพื่อความปลอดภัยของคุณ และครอบครัว ถึงแม้ว่าเราไปเมืองที่ไม่พบการระบาด แต่ก็มีผู้โดยสารเดินทางผ่านใช้สนามบินเดียวกันตลอด โดยคุณอาจจะเริ่มประเมินได้จาก
ประเมินค่าใช้จ่ายที่สูญเสีย
- ถ้าไม่เลื่อนตั๋ว ไม่เลื่อนทริป จะต้องเสียค่าที่พัก หรือ ตั๋วอะไรบ้าง ที่ไม่สามารถขอคืนเงินได้
- ตั๋วแบบไหนที่ขอคืนเงินได้
- กรรมวิธีคืนเงิน หรือ คืนเครดิต คุ้มค่าไหม ? ใช้ได้ถึงวันไหน?
หากจองโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน หรือตั๋วอื่น ๆ ทั้งโดยตรงและกับ AGENCY
ก็สามารถติดต่อขอยกเลิกหรือเลื่อนได้ตามข้อกำหนด
อย่างน้อยก็สามารถได้เป็นเครดิตเงินคืน, คะแนนสะสม, ได้ Voucher คืน
และหากเลื่อนไม่ได้ ต้องดูเงื่อนไขการยกเลิกทัวร์ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยว
ประเมินเหตุผลที่จำเป็นต้องเดินทางไปจริง ๆ
- ลงทะเบียนมอบตัวเพื่อศึกษาต่อ
- ติดต่อธุรกรรม
- เยี่ยมญาติพี่น้อง
- เดินทางกลับไปทำงาน
- และอื่น ๆ
หากจำเป็นต้องเดินทางไปจริง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทำประกันภัยการเดินทาง
ประเมินเหตุผลที่ไม่ควรเดินทาง
- หากประเทศนั้นควบคุมการติดเชื้อไม่ได้
- ไม่มีธุระจำเป็นกับเมืองนั้นจริง ๆ
- มีเด็กไปด้วย ควรประเมินว่าจะพาเด็กไปด้วยไหม? หรือยกเลิกทริป เพราะเด็กนั้นเป็นวัยเรียนรู้ เราควบคุมการเคลื่อนไหวไปสัมผัสสิ่งสาธารณะได้ไม่ทั้งหมด และมักมีคนแปลกหน้ามาจับมือ มาหอม
- มีผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยไปด้วย ควรยกเลิก ชะลอ หรือยกเลิกทริปไหม ? เพราะภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะง่ายต่อการติดเชื้อ เมื่อเป็นแล้วจะรักษายาก
เพราะในกลุ่มผู้ติดเชื้อทั่วโลก ระบุว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ เด็ก และ ผู้สูงอายุ
ถ้าตัดสินใจไปเที่ยวแล้ว จะเจอกับอะไรบ้าง?
หากคุณตัดสินใจที่จะเดินทางไปต่างประเทศแล้วทั้งเหตุผลที่จำเป็น และเหตุผลอื่น ๆ ก็ต้องเตรียมรับความพร้อมและโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกมากมายดังนี้
- จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำประกันการเดินทาง ที่คุ้มครองสุขภาพจากการติดเชื้อต่างประเทศ
- ตรวจสอบเงื่อนไขประเทศที่จะเดินทางไป เพราะบางที่เขาจะส่งคนไทยกลับ ไม่ให้ผ่านเข้าเมือง
- เตรียมอุปกรณ์ป้องกันสุขอนามัยของตัวเอง ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย สบู่
- ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเจอกับเชื้อโรค และรู้จักป้องกันตัวเอง และป้องกันการติดเชื้อ
- ตรวจสอบที่ทำงาน หรือ สถานศึกษา ว่ามีข้อปฏิบัติให้กักตัวอยู่ที่บ้านหลังจากกลับจากการเดินทางแล้วมาอย่างไร
**ประกันการเดินทางบางเจ้า ไม่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหากติดเชื้อเจ็บป่วยมาจากต่างประเทศในกรณีที่ประเทศนั้นออกกฎหมายควบคุมห้ามเดินทางแล้ว ดังนั้นต้องตรวจสอบเงื่อนไขให้ชัดเจน
บ ท ค ว า ม แ น ะ นำ . . . ..
- ตม. มีสิทธิ์ สุ่มตรวจเงิน คนไทย และนักท่องเที่ยว ที่สนามบิน
- อยากเที่ยวต่างประเทศ แต่กลัว ตม.ทำยังไงดี?
- พาสปอร์ตใกล้หมดอายุ ใช้ได้ไหม?
ถ้าติดเชื้อล่ะ?
อย่าว่าแต่ติดเชื้อเลย หากไม่ติดเชื้อ แต่กลับมาจากประเทศในประกาศ ก็ควรกักตัว 14 วันอยู่ที่บ้านเช่นกัน แต่บางมหาวิทยาลัย บางบริษัท ประกาศห้ามเดินทางหลังจากที่โรคติดเชื้อจากโคโรน่านี้ถูกประกาศเป็นโรคร้ายแรงอันดับที่ 14 ซึ่งระหว่างเดินทางคุณควรติดตามข่าวสารจากประกาศหน่วยงานของคุณด้วย
COVID-19 มีโอกาสถูกประกาศให้ใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมโรค
ซึ่งตอนนี้โรคระบาดนี้ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 เป็นรองมาจากโรคไข้ทรพิษ และโรคอันตรายที่อนาคตอาจจะถูกประกาศให้มีกำหนดโทษในผู้ที่ขัดคำสั่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรค ซึ่งไม่ได้หมายถึงคุณหมอ หรือ เจ้าหน้าที่ ตม. อย่างเดียว แม้กระทั่งบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถได้รับอำนาจให้เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อระงับการระบาดนี้ได้
มาดูกันว่าถ้าติดเชื้อ ใครที่มีโอกาสติดต่อจากคุณบ้าง?
- คนที่นั่งข้าง ๆ ใกล้เคียง
- พนักงานสายการบิน
- (หากใช้รถสาธารณะ) คนที่ใช้รถยนต์สาธารณะร่วมกัน, คนที่ใช้รถไฟฟ้าร่วมกัน
- คนในครอบครัว
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้สัมผัสตรวจคุณ
และหากไม่กักตัวอยู่บ้าน ยังไปร้านสะดวกซื้อ นั่งรถไปเที่ยว ไปคอนเสิร์ต ไปทำงาน ไปประชุม จะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อให้กับผู้อื่นอีก
ไม่กันตัวจาก COVID-19 ได้ไหม เพราะกลัว…
1. กลัวสังคมรังเกียจ
ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า COVID-19 ไม่ใช่โรคที่สังคมรังเกียจ และถ้าหากคนรอบข้องของคุณเข้าจะว่าจะพูดอะไรก็ช่าง หากเกินงามเราก็สามารถตอบกลับได้ตามสิทธิ์ของเรา แต่เราต้องให้ความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขที่ประกาศออกมาแล้วว่าผู้ที่เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน เพราะถึงแม้เราจะไม่ได้เป็นอะไร แต่ก็ต้องรอให้มั่นใจ เพราะ
- โรค COVID-19 มีอาการติดต่อเหมือนไข้หวัดใหญ่
- ผู้ป่วยโรค COVID-19 ไม่ได้เสียชีวิตทุกคน มีความเสี่ยงอยู่ที่ 2%
- ต้องตระหนักว่าคำพูดด่าทอว่าร้ายไม่ให้กำลังใจกันในช่วงนี้ ไม่ควรเก็บเป็นสาระมาฟัง หากมันเกิดไปจนเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลก็ฟ้องร้องได้
2. กลัวขาดรายได้
หากคุณคิดว่าถ้าต้องกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน โดยที่ไม่มีเงินเดือนจากบริษัท เพราะเป็นเจ้าของกิจการ หรือทำงานรายวัน แล้วคิดว่าเงินเก็บต้องหมด จนทำให้คุณไม่ต้องการกักตัวเอง 14 วัน ให้คุณโทรไปขอคำปรึกษากับสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 แล้วแจ้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าคุณได้มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อมา หรือ ได้เข้าใกล้กับคนที่มากับไฟลท์บินนที่พาผู้ป่วยติดเชื้อมา ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป และอาจจะให้กักตัวอยู่ใในสถานที่ที่จัดหาไว้ให้
3. กลัวค่าใช้จ่ายค่ารักษา
เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลแบบนอนค้างโรงพยาบาลค่อนข้างสูง แม้ว่าจะเดินทางไปปรึกษากับทางโรงพยาบาลแล้วจะไม่ทราบผลทันที ก็มีค่าใช้จ่าย ค่าพบแพทย์ ฯลฯ มากมาย หากตรวจเจอแล้วก็ต้องถูกกักตัวอีก ให้คุณโทรไปเบอร์ 1422 เช่นเดียวกัน เพื่อขอรับคำปรึกษา และวางแผนการรักษาร่วมกัน หากอยู่ในพื้นที่ไกลจากโรงพยาบาล คาดว่าจะมีสถานที่รับรองกักกัน โดยต้อง
- ติดต่อกับโรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง
- ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ Covid-19 ประกันสังคมรักษาฟรีไหม ?
- เจาะลึก! อาการไวรัสโคโรน่า COVID-19 อย่างละเอียด
ผู้ที่ทำงานบริการแก่บุคคลสาธารณะ โดยเฉพาะผู้หารายได้รายวัน มีโอกาสติดเชื้อมากกว่า หากเราไปแพร่เชื้อให้แก่พวกเขา ก็จะทำให้พวกเขาเสียรายได้ ไม่เหมือนกับพนักงานบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่บริษัทยังประกาศจ่ายเงินเดือนให้เต็มจำนวน ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์ 63 นี้ก็พบผู้ติดเชื้อ COVID-19ที่เป็นแม่บ้าน และผู้ขับรถรับจ้างแล้ว ดังนั้นแล้ว จึงเป็นเหตุให้ทุกคนควรออกมาดูแลตัวเอง แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้ติดต่อไปสู่คนอื่น ๆ
ที่มา :
- https://www.posttoday.com/world/615940
- https://www.hfocus.org/content/2020/02/18577
ติดตามข่าวสาร CORONA VIRUS 2019 ได้ที่นี่