วงเงินบัตรเครดิตถาวร เพิ่ม – ลด ยังไง? กับเหตุผลที่ธนาคารไม่ได้บอก
จากเรื่องราวก่อนหน้านี้ ที่ promotions.co.th เคยนำเสนอเกี่ยวกับ “วงเงินบัตรเครดิตซิตี้” ว่าคนอื่นได้กันเท่าไหร่บ้าง? ก็มีหลายความคิดเห็นในกระทู้ Pantip ต่าง ๆ ที่เกียวข้อง เล่าว่า ถ้าตอนแรกได้วงเงินน้อย ต้องรอ 6 เดือนขึ้นไปก่อน จึงจะขอเพิ่มวงเงินได้ แต่ทำไมต้องรอให้เป็น 6 เดือนก่อนถึงจะเพิ่มได้ วันนี้เรามีข้อสันนิษฐานมาบอกกล่าวกัน
วงเงินบัตรเครดิต เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคนก็อยากจะได้วงเงินสูง ๆ บางคนก็อยากได้วงเงินจำกัดเท่าที่มีจ่ายเท่านั้น เพราะกลัวว่าจะหักห้ามใจไม่ไหว เมื่อได้รับวงเงินสูง ๆ อาจจะเอาไปใช้จ่ายเยอะ และมักมีข้อสงสัยว่า หากต้องการวงเงินเพิ่มเพราะเปลี่ยนฐานเงินเดือนแล้ว ทำไมยังทำไม่ได้สักที
ความสามารถในการชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นหลัง 6 เดือน
ยกตัวอย่าง :
หากเงินเดือนเพิ่มจากเดิม 15,000 บาท เป็น 26,000 บาท และคุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 8,000 บาท เมื่อคุณขอเพิ่มวงเงินถาวร ในเดือนแรกจะเท่ากับว่าคุณมีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มเป็น 13,000 บาท ซึ่งทางธนาคารอาจจะนำตัวเลขนี้ ไปคำนวณเป็นวงเงินให้คุณเพิ่ม
- ตัวเลขหารจะมากขึ้น
ใน 6 เดือน หากใช้เลข 13,000 มาหารด้วยเดือน ใน 6 เดือน ก็จะเป็น (13,000×6)/6 จะอยู่ที่ 13,000 บาท เท่าเดิม ซึ่งคุณอาจจะได้วงเงินใหม่เพิ่มระหว่าง 13,000 ถึงไม่เกิน 2.5 เท่าของรายได้ แต่หากระยะเวลาในแต่ละเดือน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ความสามารถในการชำระหนี้อาจไม่ถึง 13,000 บาทต่อเดือน ก็ทำให้วงเงินอาจจะน้อยกว่าที่คำนวณนี้
- อายุงานเพิ่มขึ้น
เมื่อเงินเดือนเพิ่มขึ้น อายุงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้ใน Credit Score ซึ่งเจ้าหน้าที่คำนวณวงเงินให้สินเชื่อ ดีขึ้นไปด้วย อาจมีส่วนทำให้คุณได้รับวงเงินเพิ่มขึ้นนั่นเอง
บางธนาคารก็ไม่ต้องรอถึง 6 เดือน เพียงแค่ 3 เดือน ก็เตรียมขึ้นวงเงินให้ทุก ๆ ท่านที่เป็นลูกค้าประวัติดี แต่ก็จะมีการบอกกล่าวเป็นหนังสือ / โทรศัพท์ หรือ SMS มาบอกก่อนทุกครั้ง
แต่หากคุณรอแล้วทางธนาคารไม่ได้เพิ่มวงเงินถาวรให้กับบัตรเครดิตของคุณสักที ก็สามารถทำเรื่องขอวงเงินได้ด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ของซิตี้ โดยศึกษาวิธีการขอเพิ่มวงเงินบัตรเครดิต Citibank ได้ที่นี่ค่ะ
อยู่ๆ ธนาคาร เพิ่มวงเงิน “สินเชื่อ” หรือ “บัตรเครดิต” ให้เราทำไม?