DOPA PLUS แอปฯ กรมการปกครอง ทำอะไรได้บ้าง?
เดี๋ยวนี้ การใช้งานอะไรก็ตามผ่าน Application จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น แม้ว่าทุกวันนี้ธุรกรรมกับธนาคารจะก้าวล้ำไปก่อน ด้วยการนำ Smart Phone มาใช้เพื่อติดต่อกับทางธนาคาร แต่ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทย พยายามเร่งรัดให้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก้าวล้ำไปทันยุค Thailand 4.0 คือการใช้นวัตกรรมสมัยใหม่มาเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของภาครัฐง่ายขึ้น ตอนนี้หน่วยงานต่าง ๆ ก็เริ่มทำกันไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น แอปฯ ทางด่วน, แอป Taxi OK จากกรมขนส่ง และวันนี้ก็เพิ่งเปิดตัวแอปฯ ใหม่ ที่ให้บริการฟังก์ชั่นติดต่ออ่านข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนไปอำเภอ ดังนี้
กรมการปกครอง ทำอะไรบ้าง?
คนไทยทุกคนมีธุระที่ต้องติดต่อกับ กรมการปกครอง ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ตั้งแต่เริ่มต้นขอใบเกิดสูติบัตร, ขอเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน, เปลี่ยนแปลง ชื่อ – สกุล, ขอเลขที่บ้านปลูกสร้างใหม่ จนกระทั่งขอใบมรณบัตรเมื่อเสียชีวิต ทั้งหมดนี้เรียกสั้น ๆ ว่าเป็น ธุระที่ต้องไปอำเภอ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเรียกว่าสำนักงานเขต แต่ต่างจังหวัด เวลาจะติดต่อธุระนี้ต้องไปที่เทศบาลหรือ อำเภอเท่านั้น ซึ่งเมื่อก่อนก็ต้องเดินทางไปยังอำเภอจึงจะสอบถามข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ได้ หรือการโทร 1548 สายด่วนนี้ก็อาจจะรอสายนานกว่าจะได้เจอกับเจ้าหน้าที่มาพูดให้เราฟังอย่างอดทนจริง ๆ ซึ่งต่อจากนี้เป็นต้นไปหากคุณมีคำถามเล็ก ๆ น้อย ๆ อยากศึกษาด้วยตัวเองก่อน ให้ไปโหลดแอปฯ ที่ชื่อว่า DOPA Plus มาติดเครื่องโทรศัพท์ไว้
ข้อมูลที่ DOPA Plus จะบอกคุณได้ มีหลายอย่างที่คุณจะได้รู้ ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 10 ข้อที่เรายกตัวอย่างมาเพื่อให้เห็นชัด ๆ ซึ่งหากใครต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับกรมการปกครองเรื่องใด ก็อ่านข้อมูลในแอปฯ ก่อนได้ อาทิ
1 ขอใบสูติบัตร
เมื่อมีเด็กเกิดในบ้าน ก็ต้องแจ้งชื่อเข้าบ้านทุกคน เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิพื้นฐานของรัฐในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยรายได้ของแม่ กับค่าคลอด ในช่วงแรกเกิดเพื่อเบิกกับประกันสังคม รวมถึง สิทธิที่เด็กจะได้รับจากรัฐเมื่อเข้าโรงเรียน และหากอายุ 7 ปี ก็ต้องทำบัตรประชาชน โดยสูติบัตร เป็นหลักฐานสำคัญมากสำหรับเด็กซึ่งถือเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ที่กำลังจะมาทดแทนรุ่นก่อนหน้า
2 ติดต่อทำบัตรประชาชน / เปลี่ยนแปลงชื่อสกุล
เมื่ออายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประชาชนแล้วก็ต้องรีบไปทำ เพื่อจะได้ใช้บัตรนี้ยืนยันขอรับสิทธิ์ต่าง ๆ หรือหากยังไม่มีบัตรประชาชน แล้วต้องการเปลี่ยนชื่อสกุล เปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ก็ต้องพากันมาที่อำเภอ เพื่อเวลาออกสมุดพกทางการเรียน จะได้ยืนยันการศึกษา นำไปต่อยอดเรียนต่อ หรือ สมัครงานในอนาคต
3 จดทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสอย่างถูกกฎหมาย ต้องมาที่อำเภอ หรือ เชิญเจ้าหน้าที่ไปออกเอกสารประทับตราให้ที่สถานที่จัดงานแต่ง แต่ว่าหากจดทะเบียนสมรสซ้ำ หรือ ทะเบียนสมรสหาย ก็ต้องเดินทางมาขอคัดสำเนารื้อย้อนหลังดูว่า คู่นี้จดทะเบียนกันไปเมื่อไหร่? เพื่อใช้ยืนยันต่อหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป
4 หย่า
ไม่ใช่แค่เรื่องแต่งงาน “จดทะเบียนสมรส” หากจะหย่าขาดจากกัน แยกกันอยู่ ไม่ต้องการแบ่งสินทรัพย์ที่ได้มาระหว่างแต่งงานให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ทางการเป็นพยานจัดการเรื่องให้ ไม่ใช่ว่าไม่ชอบขี้หน้าคู่สมรสขึ้นมา แล้วบอกว่า “เราเลิกกัน” เหมือนสมัยคบกันนั้นไม่ได้ ถือว่ายังไม่มีผลทางกฎหมาย
5 ขอใบมรณบัตร
ในแต่ละปี ต้องมีการ บวก ลบ ยอดจำนวนประชากร หากบุคคลเสียชีวิตแล้วไม่ได้มีญาติมาแจ้ง จะทำให้ประชากรมวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งจะผิดหลักการบริหาร ดังนั้นจึงต้องมีผู้ไปแจ้งเสียชีวิตแก่ทางราชการด้วย และทางราชการต้องมีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่าเป็นการเสียชีวิตที่ผิดปกคิหรือเปล่า? หากเป็นฆาตรกรรม จะมีโทษทางอาญา ถือว่าแผ่นดินยอมความไม่ได้ ต้องตามหาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ตายเพื่อปิดสำนวน โดยอาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวข้องกับการชันสูตรด้วย
6 แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้าน / ย้ายที่อยู่
เมื่อมีเด็กแรกเกิดขึ้นในบ้านก็ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้าน และในสูติบัตรของเด็กต้องมีเลขที่บ้านกำกับด้วย เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องเข้าไปแจ้งเรื่องให้ และหากมีการย้ายถิ่นที่อยู่ ก็ต้องย้ายชื่อในทะเบียนบ้านด้วย บางโรงเรียนมีกำหนดว่า จะให้สิทธิ์เด็กสมัครเรียนกับโควต้าใกล้บ้าน เพื่อให้เข้าโรงเรียนง่ายขึ้น
7 ติดต่อขอเลขที่บ้าน
หากมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างใหม่ อย่าง บ้าน หรือ คอนโด ทางเจ้าของที่ดินต้องแจ้งขอเลขที่บ้าน กับกรมการปกครอง เพื่อให้ทางรัฐออกที่เลขที่ให้ และจะมีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบสถานที่ เพื่อออกเลขที่ให้ ผ่านเรื่องสำนักทะเบียนกลาง และ สำนักทะเบียนจังหวัดต่อไป (เพราะมีผลต่อการเสียภาษีโรงเรือนในอนาคต)
8 ขอขึ้นทะเบียนอาวุธปืน
การมีอาวุธปืนขอติดตัว ต้องนำปืนไปลงทะเบียน ตีเลขที่ ที่อำเภอด้วย ทั้งปืนสั้น และปืนยาว หรือแม้กระทั่งการโอนปืนจากญาติพี่น้อง ต้องนำปืน ไปให้นายทะเบียนได้ลงบันทึกที่อำเภอ โดยเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน พร้อมชำระค่าธรรมเนียมบริการต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด
9 ดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนคดีอาญาในเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
ในกรณีที่เกิดเรื่องร้องเรียน ว่ามีการกระทำผิดที่เข้าข่าย คดีอาญา ที่มีเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง เป็นผู้ก่อเหตุ ทาง กรมการปกครอง ก็ต้องดำเนินการดูแล และสืบสวนสอบสวน
10 รักษาความมั่นคงภายใน ดูแลการปกครองส่วนท้องที่ อาทิ คนต่างด้าว
ในบางอาชีพ ทางกรมการปกครอง ต้องออกหนังสือรับรองให้แก่คนต่างด้าวได้ทำงาน เป็นการจดทะเบียน ในส่วนภาคจังหวัดกำหนด โดยกรอกข้อมูลลงทะเบียน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ปกครอง
ทั้งหมดนี้คุณสามารถศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชั่น DOPA Plus
เข้าไปดาวน์โหลดได้ตามวิธีนี้
เพราะส่วนใหญ่แล้วเอกสารส่วนตัวที่เราต้องใช้เบิกประกันชีวิต และ ประกันสังคม จะต้องทำที่อำเภอ ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน ซึ่งกดเข้าไปดูสาขาและรายละเอียดค่าธรรมเนียมก่อนได้ที่ DOPA Plus
อ่านเพิ่มเติม :
- E-Services ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานประกันสังคม
- ฟรีแลนซ์ สมัยนี้ ป่วยได้ พักได้ กับประกันสังคม สำหรับฟรีแลนซ์ โดยเฉพาะ
- 14 โรคที่ประกันสังคมไม่จ่าย (ไม่ครอบคลุมค่ารักษา)
- ประกันสังคม ของเรา คุ้มครองอะไร แล้วดีกว่าต่างประเทศไหม
- ประกันสังคม จะช่วยเหลือเราได้จริง ๆ หรอ