ขับรถยนต์ชนคนปั่นจักรยาน ประกันภาคบังคับ ให้ความคุ้มครองหรือไม่ อย่างไร ?
สวัสดีครับ วันนี้ผมมีสาระดี ๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์มาฝากกันอีกเช่นเคย สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนนั้นเชื่อเหลือเกินว่าคงรู้จักประกันภาคบังคับ หรือในชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 กันดีอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงน้อยคนมากที่จะรู้ว่าประกันตัวนี้ถือกำเนิดมาได้อย่างไร และให้ความคุ้มครองแก่ใคร และกรณีใดบ้าง
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ประกันภาคบังคับ เป็นประกันคนละตัวกับประกันชั้น 1 หรือชั้น 2 ซึ่งเป็นประกันภาคสมัครใจที่เราทำกันอยู่ แต่สำหรับประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ตัวนี้ เป็นประกันภัยที่รัฐบาลออกเป็นกฎหมายบังคับให้เจ้าของรถทุกคนต้องทำ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ซึ่งสาเหตุที่ต้องทำ พ.ร.บ. ตัวนี้ก็เพราะว่าเมื่อก่อนนี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนมีหลายกรณีที่ผู้กระทำผิดไม่สามารถรับผิดชอบ หรือเยียวยาคู่กรณี รวมถึงบุคคลภายนอกได้ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าปลงศพ เป็นต้น ประกันตัวนี้จะมาดูแลในส่วนนี้แทนนั่นเอง
*แต่อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ตัวนี้จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและร่างกายเท่านั้น ไม่รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินแต่อย่างใด
ขับรถชนคนขี่จักรยาน พ.ร.บ. คุ้มครองหรือไม่ อย่างไร
สำหรับกรณีที่จั่วหัวไว้ข้างต้นนั้น การขับรถไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถบรรทุก รถพ่วง รถอีแต๋น หรือรถพ่วง ก็ตาม แล้วเกิดไปชนคนขี่จักรยานเข้า ตรงจุดนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 จะเข้ามาดูแลคนขี่จักรยานในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล และหากเสียชีวิตก็มีค่าปลงศพด้วย แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถจักรยานที่พังเสียหาย พ.ร.บ. ตัวนี้จะไม่คุ้มครองแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 คุ้มครองอะไรบ้าง และใครบ้าง ?
กรณีที่พิสูจน์ถูก-ผิด และเป็นฝ่ายถูก
- บาดเจ็บ : ค่ารักษาตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- ทุพพลภาพถาวร : 300,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ มือ แขน ขา เท้า ตา 1 ข้าง : 250,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ มือ แขน ขา เท้า ตา 1 ข้าง 2 กรณีขึ้นไป : 300,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ มือ แขน ขา เท้า ตา 2 ข้าง : 300,000 บาท/คน
- นิ้วขาด 200,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะอื่น 250,000 บาท/คน
กรณีรอการพิสูจน์ถูก-ผิดและเป็นฝ่ายผิด
- บาดเจ็บ : ค่ารักษาตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- บาดเจ็บ ต่อมาทุพพลภาพ หรือตาย : ค่าเสียหายรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท/คน
- ตาย : ค่าปลงศพ, จัดการศพ 35,000 บาท/คน
- ค่าชดเชยรายวัน (ผู้ป่วยใน) : วันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน
สรุปก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 จะดูแลประชาชนทุกคนที่ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า คนที่อยู่รอบรถ หรือในรถ หรือคนที่ถูกลูกหลงจากอุบัติเหตุรถชนกันก็รวมอยู่ด้วย ดังนั้นผู้ขับขี่รถจักรยานก็อยู่ในความดูแลของ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 นี้เช่นกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับชีวิตและร่างกายเท่านั้น จะไม่คุ้มครองทรัพย์สินแต่อย่างใด
สามารถซื้อความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์กับบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยได้ทุกแห่ง ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่เป็นที่ยอมรับ ได้มาตรฐานก็คือ TQM ประกันภัย โบรคเกอร์บริษัทประกันจากบริษัทประกันชั้นนำกว่า 40 บริษัท สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737
อ่านเพิ่มเติม :
- ทำ พรบ. ออนไลน์ สะดวกและดีกว่าทำกับบริษัทประกันภัยจริงหรือ ?
- จ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ถูกลง มีวิธีใดบ้าง ?
- ซื้อประกันรถยนต์ผ่านบริษัทประกันภัยดีไหม? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
- คุ้ม 2 ต่อ! เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ฟรี พร้อมลุ้นรับตุ๊กตาหมี TQM สุดน่ารัก