WHO แจงโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 อาการไม่รุนแรง
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) หรือ B.1.1.529 Variant พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนมากกว่า 50 ตำแหน่ง ส่งผลให้สายพันธุ์โอไมครอนสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้นและแพร่กระจายได้รวดเร็ว อีกทั้งมีแนวโน้มหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ทั้งภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและภูมิคุ้มกันธรรมชาติในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่นมาแล้ว เรียกได้ว่าสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนอย่างมาก
ช่วงเดือนธันวาคม 64 จนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 65 พบว่ายอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด! พบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกอย่างมากกับสายพันธุ์ดังกล่าว หลายเว็บไซต์ระบุว่าสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ไม่ก่ออาการรุนแรง อีกทั้งยังมีข้อมูลกว่าวว่าเชื้อไวรัสโควิด 19 สอดคล้องกับการปรับตัวเป็น “โรคประจำถิ่น หรือ โรคติดต่อตามฤดูกาล”

โอมิครอน BA.2 อาการไม่รุนแรง
ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ระบุว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ไม่ก่ออาการรุนแรงมากไปกว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิมหรือ BA.1 ซึ่งเป็นข้อมูลจากผู้ติดเชื้อจากหลายประเทศ ขณะนี้ยังไม่พบความแตกต่างเรื่องความรุนแรงของ BA.2 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.1 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ยังสอดคล้องกับการปรับตัวไปสู่โรคประจำถิ่น เพราะมีความรุนแรงลดลง พบผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 1 รายต่อผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย และผู้ที่มีอาการรุนแรง น้อยกว่า 5 รายในผู้ป่วยติดเชื้อ 1,000 ราย
แต่ถึงอย่างไรขอให้ประชาชนทุกคนรับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ครบกำหนด เพราะยังถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นลดอาการความรุนแรง รวมถึงการเสียชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกระบุข้อมูลเบื้องต้นว่าไวรัสสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่า BA.1 และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดทั่วโลกของทุกตัวกลายพันธุ์มีรายงานว่ากำลังลดลลง
สายพันธุ์ BA.2 อาการไม่รุนแรง ปรับตัวเป็น “โรคประจำถิ่น
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยโอมิครอน BA.2 แพร่ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิม แต่อาการไม่รุนแรง ใกล้ปรับตัวเป็นโรคประจำถิ่น แต่…ขอประชาชนป้องกันตัวเองสูงสุดและรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากวัคซีนช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ลดอัตราการเสียชีวิต ประสิทธิผลของวัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงหากติดเชื้อ และลดอัตราการเสียชีวิตได้ ป้องกันการป่วยหนัก ลดอัตราการรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ๆ
เชื้อโอไมครอนฟักตัวกี่วัน?
สายพันธุ์โอไมครอนใช้ระยะฟักตัวแค่ 3.25 วัน สั้นกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เริ่มแรกแสดงอาการปวดเมื่อยร่างกาย มีไข้อ่อนเพลีย ฉีดวัคซีนเข็ม 3 แล้วยังมีโอกาสติด โดยมีอาการทั่วไป อาทิ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว อ่อนเพลีย ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ และไม่สูญเสียการรับรสหรือดมกลิ่น
วิธีป้องกันตนเองเบื้องต้น
- ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม หรือครบโดส
- สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อพูดคุย หรือออกจากบ้าน
- เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก
- ล้างมือบ่อย ๆ ดูแลสุขอนามัย
- เฝ้าระวังและสังเกตอาการอยู่เสมอ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ปวดหัว ไอแห้ง ๆ ควรรีบตรวจหาเชื้อหรือไปพบแพทย์

หากคุณมีโอกาสใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) (ตรวจได้ด้วยตัวเอง) และการตรวจด้วยชุดตรวจ RT-PCR (Real Time PCR) โดยทั้ง 2 ประเภทสามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก ***กรณีตรวจ ATK ด้วยตนเองและผลเป็นบวก (+) ควรตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและความปลอดภัยของตัวคุณเอง
อ่านเพิ่มเติม
- ทำความรู้จักสายพันธุ์ใหม โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสอาการ
- โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด 1.1.529 ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อแล้ว
- 8 อย่างที่ควรรู้ เกี่ยวกับ Delta Variant (สายพันธุ์เดลต้า)
- เช็กอาการโควิดสายพันธุ์อังกฤษเริ่มต้น หลังพบแพร่ระบาดในไทย