เช็กพื้นที่เสี่ยง #ฝุ่นPM25 ก่อนออกจากบ้าน พร้อมวิธีรับมือ
นับตั้งแต่เริ่มต้นเดือนมกราคม 2564 มาจนถึงวันนี้ ไม่ได้มีเพียงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เราต้องเฝ้าระวัง และคอยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ติดหรือยังนะ ?” ทุกคนยังต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก กับปัญหาฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งถือเป็นปัญหาหนักอกหนักใจของชาวกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหลายจังหวัดในประเทศไทย ที่มาแต่ละครั้งก็สร้างผลกระทบยืดยาวหลายเดือน เพราะไม่ว่าจะมุมไหน ใกล้หรือไกลใจกลางเมือง ก็ล้วนแล้วแต่มีค่าฝุ่นในระดับที่ไม่น่าอยู่อาศัย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โดยที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ ก็พยายามวิธีรับมือฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการให้คำแนะนำประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน และล่าสุด กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้ ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) วันที่ 23 มกราคม 2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 66 พื้นที่
เช็กพื้นที่อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ที่นี่
เขตหนองแขม | เขตตลิ่งชัน | เขตคลองสามวา | เขตหลักสี่ | สวนหลวง ร.9 (เขตประเวศ) |
เขตทวีวัฒนา | เขตภาษีเจริญ | เขตบางกะปิ | เขตบางซื่อ | สวนจตุจักร (เขตจตุจักร) |
เขตประเวศ | เขตยานนาวา | สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (เขตบางคอแหลม) | เขตจตุจักร | สวนวชิรเบญจทัศ (เขตจตุจักร) |
เขตจอมทอง | เขตหนองจอก | เขตมีนบุรี | สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (เขตลาดกระบัง) | สวนลุมพินี (เขตปทุมวัน) |
เขตบางขุนเทียน | เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย | เขตพระนคร | เขตบางพลัด | สวนกีฬารามอินทรา (เขตบางเขน) |
เขตบางบอน | สวนทวีวนารมย์ (เขตทวีวัฒนา) | เขตบางรัก | เขตดอนเมือง | สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (เขตจตุจักร) |
เขตบางแค | เขตสัมพันธวงศ์ | เขตบางเขน | สวนพระนคร (เขตลาดกระบัง) | เขตห้วยขวาง |
เขตบางกอกใหญ่ | เขตราษฎร์บูรณะ | เขตคันนายาว | สวนเบญจกิติ (เขตคลองเตย) | สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน (เขตดอนเมือง) |
เขตบางนา | เขตสาทร | เขตดุสิต | สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (เขตบางกอกน้อย) | |
สวนธนบุรีรมย์ (เขตทุ่งครุ) | สวนบางแคภิรมย์ (เขตบางแค) | เขตบึงกุ่ม | สวนสันติภาพ (เขตราชเทวี) | |
เขตทุ่งครุ | เขตวัฒนา | สวนหนองจอก (เขตหนองจอก) | เขตวังทองหลาง | |
เขตบางกอกน้อย | เขตบางคอแหลม | สวนหลวงพระราม 8 (เขตบางพลัด) | เขตสะพานสูง | |
เขตคลองสาน | เขตสายไหม | เขตสวนหลวง | เขตลาดพร้าว | |
เขตคลองเตย | เขตลาดกระบัง | เขตพญาไท | สวนเสรีไทย (เขตบึงกุ่ม) |
ปัจจัยที่มีผลต่อค่าฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง ?
สำหรับใครที่สงสัยว่า ทำไมบางช่วงค่าฝุ่น PM 2.5 ก็เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้สภาพอากาศโปร่ง ไร้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มาตลอดหลายเดือน ซึ่งเรื่องนี้เรามีคำตอบมาฝาก
เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคนล้วนส่งผลต่อการเกิดฝุ่นประเภทนี้ไม่มากก็น้อย อาทิ การเพิ่มปริมาณการใช้รถที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซล การปล่อยควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาขยะในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น
สภาวะอากาศและฤดูกาล
ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ นั้นเกิดขึ้นทุกปี เพียงแต่ว่าแต่ละครั้งที่เกิดฝุ่นพิษ อาจจะมีดีกรีค่าฝุ่นที่มาก-น้อยต่างกัน และเวลาที่เกิดอาจจะมีความช้า-เร็วแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยปกติแล้วฝุ่น PM 2.5 จะเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลประมาณเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี
แต่ด้วยสภาวะโลกร้อนปัจจุบันทำให้เวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดของฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลง ผนวกกับปริมาณการใช้พลังงานของผู้คนในเมืองที่มากขึ้น ซึ่งปัจจัยทางธรรมชาติและวิถีการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ล้วนส่งผลต่อการเกิดฝุ่น PM 2.5 ค่อนข้างเร็วและมากกว่าที่เคยเป็นมา
ทิศทางลม
กระแสลมในแต่ละวันมีผลต่อค่าฝุ่นที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ในปัจจุบันก็มีแอปพลิเคชันและเว็บไซต์หลายแห่งให้บริการตรวจวัดพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 ทั้งในกรุงเทพฯ และเขตที่มีค่าฝุ่นสูงในจังหวัดต่าง ๆ
วิธีการรับมือฝุ่น PM 2.5
สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น
หน้ากาก N95 เป็นหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ แต่หากเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบทั่วไปที่ไม่ใช่หน้ากาก N95 แนะนำให้สวมใส่ซ้อนทับกัน 2 ชั้น หรือสวมหน้ากากอนามัย 1 ชั้น ก่อนซ้อนด้วยกระดาษเช็ดหน้าพับครึ่ง 1 แผ่นด้านใน วิธีนี้ก็ได้เช่นกัน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำให้ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง อาทิ การออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกายอาจเพิ่มอัตราการหายใจมากขึ้นกว่าปกติ 10-20 เท่า ซึ่งจะนำมลพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้มากขึ้น
เตรียมยาให้พร้อม
สำหรับผู้เป็นโรคที่มีความเสี่ยง ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบผิวหนัง ระบบตา รวมถึงผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ อาทิ แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ควรเตรียมพกยาที่จำเป็นต้องใช้ติดตัวไว้เสมอ
ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ควรเลี่ยงออกจากบ้าน
กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่อาจจะมีอาการป่วยได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน รวมถึงหลีกเลี่ยงการเปิดประตูและหน้าต่างทิ้งไว้
READ MORE :
- รวมร้านขายหน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 พร้อมส่ง รับมือปัญหามลภาวะ
- GQMAX หน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 ราคาเท่าไหร่ หาซื้อได้ที่ไหน ?
- ชี้พิกัด! แมสกันฝุ่น PM 2.5 ซักได้ หาซื้อได้ที่ไหน ?
- มุ้งลวดนาโนกันฝุ่น ยี่ห้อไหนดี? เหมาะสำหรับ PM 2.5
- หน้ากาก PM 2.5 ญี่ปุ่น ราคาเท่าไหร่ ? หาซื้อได้ที่ไหน