ติดโควิดรักษาฟรี แนะช่องทางร้องเรียนหากถูกเรียกเก็บเงิน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้มีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าในขณะนี้มียอดผู้ติดรายใหม่ 24,932 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 24,765 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 167 ราย ทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ป่วนสะสม 595,847 ราย ส่วนจังหวัดที่มีคนติดโควิดมากที่สุดยังคงเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร
นอกจากการแพร่ระบาดของโรคที่น่ากังวลแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้คนคิดหนักอยู่ไม่น้อย นั่นคือเรื่องสิทธิ์รักษาในกรณีที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เกิดการร้องเรียนอยู่พักหนึ่งว่ามีสถานพยาบาลบางแห่งเรียกเก็บค่ารักษาโควิด ความจริงเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร รักษาฟรี หรือต้องเสียเงินกันแน่ วันนี้ Promotions.co.th มีคำตอบ
ทำความเข้าใจอีกครั้ง! ติดโควิดต้องได้รักษาฟรีเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมออกแบบให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาโควิดฟรีตามสิทธิ์สุขภาพที่แต่ละคนมีสิทธิ์อยู่ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป แต่ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางคณะรัฐมนตรีได้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นที่เรียบร้อย แต่ล่าสุด คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ออกมาเปิดเผยว่าแม้ทาง ครม.จะได้มีการยกเลิกประกาศดังกล่าว และประชาชนยังคงใช้สิทธิ์รักษาอาการป่วยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินในกรณีติดเชื้อโควิด-19 ได้ตามเดิมในทุกสถานพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ขณะนี้กลับพบว่ามีประชาชนจำนวนมากเข้ามาร้องเรียนว่าถูกเก็บเงินจากการเข้ารับการรักษาโรคโควิด-19

ซึ่งประเด็นนี้ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคพร้อมสมาชิก 247 องค์กรทั่วประเทศ ที่เป็นหน่วยงานตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 ที่มีอำนาจในการรับเรื่องร้องเรียนไกล่เกลี่ยปัญหาผู้บริโภค ตามมาตรา 14 ได้มีการประกาศสนับสนุน สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขในการให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่ประชาชนถูกเรียกเก็บเงินจากการเข้ารับการรักษาเมื่อติดเชื้อโควิด-19 พร้อมเน้นย้ำว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 59
ถูกเรียกเก็บค่ารักโควิด ร้องเรียนได้ที่ไหน?
โดยเงื่อนไจในการร้องเรียนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้รับบริการไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร หรือตามสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่กำหนดตาม พ.ร.บ. จากหน่วยบริการ หรือในกรณีที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บ ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดที่ถูกเรียกเก็บเงินขณะเข้ารับการรักษาในกรณีติดเชื้อโควิด-19 (ที่ตรงตามเงื่อนไข) สามารถส่งเรื่องร้องเรียนที่ สภาองค์กรของผู้บริโภคผ่านช่องทางเหล่านี้
- เบอร์โทรศัพท์ : 081 134 9216
- E-Mail : [email protected]
- Facebook Inbox (อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก) : สภาองค์กรของผู้บริโภค
- Line OA (ไลน์ ออฟฟิเชียล) : @tccthailand
- Twitter (ทวิตเตอร์) : @tccthailand
- Instagram (อินสตาแกรม) : tcc.thailand
- หรือ กรอกข้อมูลเพื่อร้องเรียนปัญหาดังกล่าวผ่านแบบฟอร์ม (google form) ที่ลิงก์ https://forms.gle/3ybmXvKagseaBvTZ6
แต่ทั้งนี้สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการรุนแรง ประชาชนที่ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดหรือผลเป็นบวกว่าติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้ารับการรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation ได้โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ ด้วยการติดต่อผ่าน 1330 ผ่านไลน์หรือสแกน QR code สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดระบบเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากภายหลังมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือรุนแรงขึ้น สามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ได้เช่นกันโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิการรักษาโควิดฟรีที่เรานำมาบอกต่อทุกคน ดังนั้นหากคุณหรือญาติมีอาการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอให้ตรวจสอบสิทธิการรักษาและเงื่อนไขการรักษาต่าง ๆ ให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเอง ที่สำคัญอย่าลืมปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม :
- คำถามยอดฮิต หายจากโควิดตรวจ ATK เจอไหม แนวทางปฎิบัติ
- ติดโควิดรอบ 2 อาการอันตรายไหม เปิดเหตุผลทำไมเป็นซ้ำได้
- ปรับมาตรการ Test & Go ล่าสุด ลดตรวจโควิดทั้ง RT-PCR และ ATK
- เช็กที่นี่! รวมจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดมากที่สุด
- อัปเดต จังหวัดที่ติดโควิดมากที่สุด งดเดินทาง หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม