สามี ภรรยา หย่าขาดจากกัน หรือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงการลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำ “บุตร” มาเป็นเงื่อนไขในการขอลดหย่อน ซึ่งจะพูดถึงในกรณีที่ สามีภรรยา หย่ากันภายหลัง หรือ สามี ภรรยา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ส่วนท่านที่จดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม ก็เพียงแค่นำหนังสือไปยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ ไม่มีปัญหาอะไร
เพราะฉะนั้นใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องภาษี อย่าคิดเอง อย่าอ่านแต่พันทิป ให้รวบรวมข้อมูลข้อสงสัย หาข้อมูลกับกรมสรรพากร หรือไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่สรรพากร เจ้าหน้าที่อำเภอที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เผื่อว่าปัญหาของคุณไม่เคยเกิดขึ้นกับใครมาก่อน และไม่มีใครมาตอบแทนคุณได้
เหตุผลที่ต้องยกกรณีของการหย่าร้าง และ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสมาพูดถึงก็เพราะว่า มีข้อสัยอยู่มากว่าจะต้องทำอย่างไร?
ครอบครัวเมื่อยังอยู่ด้วยกันดีก็ไม่มีปัญหาในข้อตกลงการเงินต่าง ๆ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เกิดการหย่าร้าง ต่อให้ไม่ใช่ดาราดังก็มีปัญหาภาษีที่ต้องแยกกันเคลียร์ จากที่อาจจะเคยยื่นภาษีร่วมกัน จะต้องแยกยื่นภาษี และมักเกิดคำถามกับคู่สมรสทีหย่าร้างกันแล้ว ดังนี้
Q เรื่องข้องใจ สามี ภรรยา หย่าร้าง และต้องยื่นภาษี
- สามีต้องจดทะเบียนรองรับบุตรใหม่หรือไม่?
- ใครจะเป็นฝ่ายนำชื่อบุตรไปลดหย่อนภาษี พ่อ หรือ แม่?
A ยื่นลดหย่อนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น
กรณีสามี ภรรยา หย่าร้างกันแล้ว โดยปกติ ภรรยาจะเป็นฝ่ายนำชื่อบุตรไปลดหย่อนภาษี เพราะเด็กจะอยู่กับแม่เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางครอบครัวที่ตกลงกันว่าจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้จัดการเรื่องบุตร ก็จะยกชื่อบุตรให้ฝ่ายสามีใช้ลดหย่อนภาษี
การหย่าร้างหากเกิด “หย่า” ในปีภาษีเดียวกับที่สามีต้องไปเสียภาษีส่วนบุคคล สามีไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร แต่หากเกิดหย่าร้างคนละปีควรไปจดทะเบียนรับรองบุตร
กรณีที่บางครอบครัวมีรายจ่าย รายได้ จากทรัพย์สินที่จำเป็นต้องแยกจากกันเนื่องจากธุรกิจส่วนตัว และเหตุผลอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส สามีก็สามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้ที่อำเภอ
Q สามีไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร จะนำชื่อบุตรไปยื่นลดหย่อนได้หรือไม่?
Aหากสามีจะนำชื่อบุตรไปยื่นลดหย่อนภาษี ต้องยื่นจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน
สามี หรือ คุณพ่อ จะไม่สามารถนำชื่อลูก หรือ เด็กคนไหนไปใช้ลดหย่อนภาษีได้เลย หากไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร และต้องได้รับความยินยอมจากมารดาด้วย หลังจากนั้นเด็กก็จะมีชื่อบิดาอยู่ในใบสูติบัตร และได้สิทธิต่าง ๆ ตามสิทธิพลเมืองของไทย อาทิ สิทธิการรักษาพยาบาล, สิทธิรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยต้องขอยื่นเอกสารที่สำนักอำเภอ ดังนี้
เอกสารจดทะเบียนรองรับบุตร
- บิดาเป็นผู้ทำเรื่อง ที่สำนักอำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือ สำนักงานเขต
- สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาและบุตร
- บัตรประชาชนของบิดามารดา
- สูติบัตรของบุตร
- พยานบุคคล 2 คน
ข้อยกเว้นทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนรองรับบุตรได้
- มารดาของเด็กเสียชีวิต ขณะที่เด็กยังไร้เดียงสา
- มารดาของเด็กไม่ยินยอม
ซึ่งหากจะจดทะเบียนรับรองบุตร
หรือบุตรบุญธรรมต้องร้องต่อศาล
บางท่านมีวัตถุประสงค์ต้องการจดทะเบียนรองรับบุตรบุญธรรมเพื่อลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะ ซึ่งการจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมนี้ ต้องดูอายุของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยว่าต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และพ่อกับแม่ที่แท้จริงของเด็กจะต้องไม่ได้นำชื่อเด็กไปใช้ลดหย่อนแล้ว ไม่เช่นนั้น คุณก็จะไม่ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากบุตรบุญธรรม โดยมีรายละเอียดการขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คร่าว ๆ ดังนี้
- หากคุณจะรับใครเป็นลูกบุญธรรม คุณจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
- หากคุณจะรับใครเป็นลูกบุญธรรม คุณจะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ของเด็กก่อน (กรณีเด็กเป็นผู้เยาว์)
- คู่สมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรมต้องยินยอมด้วย
- หากคุณจะรับใครเป็นลูกบุญธรรม บุตรจะต้องอายุน้อยกว่าคุณ 15 ปี
- หากคุณจะรับใครเป็นลูกบุญธรรม บุตรจะต้องไม่เป็นบุตรบุญธรรมของใครมาก่อน
- บุตรบุญธรรมที่อายุมากกว่า 15 ปี ต้องยินยอมด้วยตัวเอง พ่อแม่ที่แท้จริงจะมาบังคับยกให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นไม่ได้
- บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้ ไม่มีข้อกำหนดเรื่องอายุลูกบุญธรรม แต่ต้องห่างจากผู้รับ 15 ปี ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
- บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกเท่ากับบุตรที่เป็นทายาทที่แท้จริงของพ่อแม่บุญธรรมเช่นกัน
ผู้รับบุตรบุญธรรม จะไม่ใช่สายเลือดเดียวกันกับบุตรเสมอ แต่ก็อาจจะมีเงื่อนไขแบบในละครให้พบเห็นบ้าง เช่น เด็กไม่รู้ว่าคนนี้เป็นพ่อแม่ที่แท้จริง เพราะอาจจะสมรสอยู่กับคนอื่นก่อนแล้ว เกิดเป็นดราม่าซับซ้อนของแต่ละครอบครัว ซึ่งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมก็เป็นทางออกของปัญหาเรื่องทรัพย์สินที่แต่ละครอบครัวต้องจัดการกันไป
การใช้ชื่อบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนภาษี ก็อาจจะลดได้ตั้งแต่ 15,000 บาท ต่อปีขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของคุณพ่อคุณแม่) ถือว่าเป็นจำนวนเม็ดเงินที่ไม่น้อย ฝ่ายสามีหรือภรรยาจึงต้องตกลงกันว่าใครจะเอาชื่อเด็กมาแยกรับการลดหย่อน
อ่านเพิ่มเติม
- รวม 6 สถานที่เที่ยว น่าไป ในกรุงเทพฯ ฉบับครอบครัว
- คนไทยเป็นหนี้ 150,000 บาท ต่อครอบครัว ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ยันแก่!
- 2 ข่าวดังเกี่ยวกับโรคและสุขภาพของเด็ก
- มาแล้ว ออมสินเปิดให้เด็กฝากเงินที่เซเว่นกับแคมเปญ เด็กดีออมฟรี
- ข้อควรระวัง ! เมื่อมีเด็กอยู่ในรถเรา
https://promotions.co.th/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%86/investment/finance/25-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5.html