ทะเบียนสมรส เป็นสิ่งสำคัญตลอดชีวิตคู่
ปัญหาโลกแตก สำหรับครอบครัว ที่ฝ่าย สามี หรือ ภรรยา ได้แต่งงานมามากกว่า 1 ครั้ง และฝ่ายนั้น ก็มีบุตร ด้วย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว บิดา หรือ มารดา มีหน้าที่จะต้องอนุเคราะห์บุตรด้วย .. แต่เรื่อง “ภรรยาเก่า” นี่ล่ะก็! กฎหมายก็ไม่ได้ครอบคลุม จะฟ้องร้องขอค่าเลี้ยงดูก็ได้เฉพาะส่วนของบุตรเท่านั้น
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ช่วงบ่าย ๆ ที่ผ่านมา มีคุณภรรยา มาตั้งกระทู้ ด้วยความกังวลว่า ภรรยาเก่าจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ร่วมกันหามากับสามีหรือไม่? ซึ่งเธอเป็นภรรยาที่ถือทะเบียนสมรสอยู่ และตอนนี้ภรรยาเก่าก็ยังไม่ได้เรียกร้องอะไร แต่ก็กังวลไปว่าอนาคต หากสามีเสียชีวิต แล้วจะมีโอกาสมาร้องขอทรัพย์สินมรดกหรือเปล่า?
เรื่องนี้จะง่ายมาก หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน กับคุณสามีขึ้นมาจริง ๆ ผู้ที่จะได้รับมรดก (หากไม่มีพินัยกรรม) ก็จะเป็นทายาทโดยชอบธรรม ซึ่งก็คือ ภรรยา (ที่ได้รับการจดทะเบียนสมรส) และบุตร ซึ่งบุตร นี้รวมถึงบุตรนอกสมรสด้วย และหากบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ แล้วภรรยาเก่าต้องการเรียกร้องขึ้นมาจริง ๆ ก็จะเป็นในส่วนของค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งสุดท้ายจะต้องจ่ายเท่าไหร่ ต้องผ่านการพิจารณาจากศาล เท่านั้น
ซึ่งศาล ก็มีระดับศาลปกติก่อน แล้วค่อยเป็น ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา คดีส่วนใหญ๋จะเจรจาตกลงกันได้หลังจากผ่านศาลตัดสินรอบแรก กว่าจะไปอุทธรณ์ และฏีกา จะเป็นกรณีที่เรียกร้องทรัพย์สินจำนวนมาก หลักล้าน มหาศาลจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีของผู้มีรายได้สูง กลุ่มนักธุรกิจ
ซึ่งตอนนี้เพิ่งเปิดกระทู้ได้ 1 ชั่วโมงกว่า ๆ เท่านั้น และผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ก็มีเพียง 2 ท่าน ซึ่งก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ให้สามีทำพินัยกรรม”
ทำประกันชีวิต ให้ผู้ถือผลประโยชน์ เป็นบุตร
แต่ในกรณีที่ทั้งคู่ เคยมีบุตรด้วยกันแล้ว ในแง่มุมตัวแทนประกันชีวิต จะแนะนำให้ทำกรมธรรม์ให้กับ บุตร คนละฉบับ ซึ่งภายหลัง เงินส่วนนี้ ใช้เป็นทรัพย์สินมรดกก็ได้ และ ทำเบี้ยประกันในทุนประกันระดับที่คุณพ่อ จ่ายไหว ซึ่งควรทำประกันในแบบที่ได้เป็นเงินปันผล (หากครบกำหนดชำระเบี้ย แล้วได้เงินคืน พร้อมกับ ดอกเบี้ยจากเงินปันผล)
- กู้เงินจากประกันชีวิต เพื่อเป็นทุนการศึกษาลูกได้
- รับเงินก้อน จากเงินปันผลประกันชีวิต เพื่อเป็นมรดกให้กับบุตรได้
- คุ้มครองชีวิต ผู้เอาประกันภัย นำความเสี่ยงให้บริษัทประกันชีวิต ดูแลความเสี่ยง
20 ข้อกฎหมายต้องรู้ ของ “ทะเบียนสมรส” ที่เกี่ยวข้องกับเงินล้วนๆ
เรื่องชีวิตคู่ เป็นเรื่องของคน 2 คน แต่หากวันหนึ่ง ชีวิตคู่ต้องพังลง แต่ละคนก็ต้องเดินต่อไปได้ในทางของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ อาจจะเคยเป็นความกังวลใจของใครหลายคนมาก่อน ซึ่งหากการวางแผนครอบครัว ด้วย 2 คน ดูเหมือนจะยากลำบาก ลองปรึกษา ผู้ใหญ่ หรือ คนใกล้ตัว ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อนได้ … อย่าเพิ่งเครียดนะคะ ♥
Read More :
- ผ่อนค่ารักษาพยาบาลกับ Citi PayLite 0% กับโรงพยาบาลนนทเวช – 2561
- เก็บเงินแต่งงาน ต้องเริ่มเก็บยังไง แบ่งกี่ส่วน? SCB มาสอนไว้
- เจ็บใจไหม? เรื่องของชาวพันทิปกับเรื่องที่น่าเสียดายเงินมากที่สุด
- วิธียกเลิกข้อความ AIS / TRUE / DTAC กินเงิน เสียเงินถาวรต้องทำยังไงกันนะ