แวะดู ! เงินเดือนในแต่ละฐานภาษีเสียภาษีเท่าไหร่ ?
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
ใกล้เข้ามาแล้วกับเทศกาลยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ปีนี้จะต้องยื่นภายใน 31 มีนาคม 2565 เหมือนเดิม ซึ่งยอดเงินได้สุทธิเป็นยอดรายได้จากปี 2565 ทั้งสิ้น จะมาเรียกหาการลดหย่อนปีนี้คงไม่ทัน (แต่วางแผนสำหรับปีหน้าคงทันอยู่) แล้วยิ่งมีรายได้อื่น ๆ มากมายจากการปล่อยเช่าที่ ขายบ้าน หรือขายของออนไลน์ ก็ต้องเตรียมยื่นให้ดี เพื่อรักษาสิทธิ์ยื่นภาษีของตัวเอง วันนี้มาฟังวิธีการยื่นภาษีสำหรับมือใหม่กันค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 ) ต้องรู้ว่าเงินได้สุทธิของตัวเองคือเท่าไหร่
ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีแบบให้ยื่นทั้งหมด 3 เอกสารด้วยการ โดยคุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้มีเงินได้อื่น ๆ นอกจากการรับเงินเดือนผ่านบริษัทอย่างเดียว
- ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้มีเงินได้จากการรับเงินเดือนผ่านบริษัทอย่างเดียว
- ภ.ง.ด. 94 สำหรับผู้มีเงินได้หลายช่องทาง ต้องยื่นภาษีแบ่งเป็น 2 ครั้ง ต่อปี
รู้สักนิด ! เงินได้คืออะไร?>> ความหมายของเงินได้คือเงินที่ได้รับจากการรับค่าตอบแทน ต่าง ๆ ในทางกฎหมายนั้นแบ่งออกเป็น 8 ข้อ ดังนี้1) เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จ เงินค่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้,เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า,เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ,เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับจ้างทำงาน 3) ค่าให้เช่าลิขสิทธิ์ 4) ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน 5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก การให้เช่าทรัพย์สิน, การผิดสํญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน,การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว 6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ หรือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม 7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาฯ อื่นการอื่นนอกจากเงินได้ตามมาตรา 40 (1)-(7) |
ส่วนอัตราการเสียภาษีนั้น ของปี พ.ศ. 2562 มีดังนี้
ขั้น |
เงินได้สุทธิ (บาท) |
เงินได้ในขั้นนี้ |
อัตราภาษี (%) |
จำนวนภาษีที่เสียในขั้นนี้ |
ภาษีสะสมของขั้น |
1 | 0 – 150,000 | 150,000 | 5 | ได้รับยกเว้น | 0 |
2 | 150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 |
3 | 300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 |
4 | 500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 |
5 | 750,001– 1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 |
6 | 1,000,001– 2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 |
7 | 2,000,001– 5,000,000 | 3,000,000 | 30 | 900,000 | 1,265,000 |
8 | 5,000,001 ขึ้นไป | 35 |
ขั้นตอนที่ 2 ) ต้องรู้ตัวเองมีสิทธิ์ลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
( ต้องอ่าน >> เช็คสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2562 ได้ที่นี่)
โดยปกติแล้ว การยื่นภาษีเงินได้นั้น หากได้รับเงินเดือนอย่างเดียว แล้วรายได้หรือเงินเดือนไม่ถึงประมาณ 26,600 บาท ยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ว่ารายละเอียดของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะมีเหตุให้ลดหย่อนภาษีแตกต่างกัน อาทิ
- บางทำประกันชีวิต บางคนก็ไม่ได้ทำ
- บางคนมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุยังไม่ถึง 60
- บางคนใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากการสมรส และภรรยาไม่มีรายได้
- บางคนมีบุตรหลายคน
- บางคนลาออกระหว่างปี ทำให้เงินสมทบประกันสังคมไม่เท่ากัน
- ฯลฯ
เพราะฉะนั้นการประเมินรายได้ และยอดส่งในการเสียภาษีของแต่ละฐานเงินเดือนก็ไม่เท่ากัน ผู้เขียนลองเปรียบเทียบฐานเงินเดือนคร่าว ๆ กับสิทธิ์ลดหย่อนประมาณ 15,000 บาท ซึ่งทำให้ได้ตัวเลขกลม ๆ คร่าว ๆ ของแต่ละฐานเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี ดังนี้
ฐานเงินเดือน |
เสียภาษี |
15,000 บาท | ยังได้รับการยกเว้นอยู่ในปีภาษี 2562 |
20,000 บาท | ยังได้รับการยกเว้นอยู่ในปีภาษี 2562 |
30,000 บาท | 2,500 – 3,000 บาท |
40,000 บาท | 8,500 – 10,500 บาท |
50,000 บาท | 20,500 – 22,500 บาท |
60,000 บาท | 35,000 – 38,000 บาท |
70,000 บาท | 53,100 – 56,000 บาท |
80,000 บาท | 73,500 – 77,000 บาท |
90,000 บาท | 97,000 – 101,000 บาท |
100,000 บาท | 122,500 – 125,000 บาท |
ขั้นตอนที่ 3 ) เริ่มคำนวณ
วิธีคำนวณ ก็แค่บวกลบเลขตามตารางด้านล่างนี้ที่ให้ไว้ แค่คุณเปลี่ยนตัวเลขสีแดงที่ผู้เขียนยกตัวอย่างเอาไว้
ขั้น | เงินได้สุทธิ (บาท) | เงินได้ในขั้นนี้ | อัตราภาษี (%) | จำนวนภาษีที่เสียในขั้นนี้ | ภาษีสะสมของขั้น | เงินได้ของคุณ | เงินได้ที่เหลือไปคำนวณ | ภาษีที่ต้องเสีย |
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่องที่ 3 | ช่องที่ 4 | ช่องที่ 5 | เลขตั้งต้น | เลขตั้งต้น – เงินได้ในช่องนี้ | ถ้าตั้งลบแล้วเกินช่องที่ 2 ก็เอาช่องที่ 4 มากรอกไว้ | |
ถ้าลบแล้วไม่เกินช่องที่ 2 ให้เอาตัวเลขที่ลบได้ คูณด้วยอั้นตราภาษีในขั้นนั้น |
แต่หากท่านใดเงินเดือนมากกว่านี้ ลองใช้วิธีการคำนวณภาษีตามข้อมูลด้านล่างนี้ดูครับ ยกตัวอย่างเช่น มีเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว 1,739,020 บาท มีวิธีคิดการเสียภาษีเงินได้ดังนี้
ขั้น | เงินได้สุทธิ (บาท) | เงินได้ในขั้นนี้ | อัตราภาษี (%) | จำนวนภาษีที่เสียในขั้นนี้ | ภาษีสะสมของขั้น | เงินได้ของคุณ | เงินได้ที่เหลือไปคำนวณ | ภาษีที่ต้องเสีย |
1 | 0 – 150,000 | 150,000 | 5 | ได้รับยกเว้น | 0 | 1,739,020 | 1,589,020 | 0 |
2 | 150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 | 1,589,020 | 1,439,020 | 7,500 |
3 | 300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 | 1,439,020 | 1,239,020 | 20,000 |
4 | 500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 | 1,239,020 | 989,020 | 37,500 |
5 | 750,001– 1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 | 989,020 | 739,020 | 50,000 |
6 | 1,000,001– 2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 | 739,020 | 0 | 184,755 |
7 | 2,000,001– 5,000,000 | 3,000,000 | 30 | 900,000 | 1,265,000 | 0 | 0 | 0 |
8 | 5,000,001 ขึ้นไป | 35 | 0 |
รวมแล้วหากคุณมีรายได้ดังตัวอย่างที่ยกมานี้ จะต้องเสียภาษีทั้งหมด 6 ขั้น
ภาษีจากขั้น 5 % ต้องจ่าย 7,500 บาท
ภาษีจากขั้น 10 % ต้องจ่าย 20,000 บาท
ภาษีจากขั้น 15 % ต้องจ่าย 37,500 บาท
ภาษีจากขั้น 20 % ต้องจ่าย 50,000 บาท
ภาษีจากขั้น 25 % ต้องจ่าย 184,755 บาท
รวมการเสียภาษีครั้งนี้คือ 299,755 บาท
ขั้นตอนที่ 4 ) เข้าไปยื่นภาษีในเว็บสรรพากร
ง่ายมาก ก่อนยื่นภาษี ควรทำตาราง Excel ไว้ก่อน และเตรียมเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายลับและการหักภาษีในปีภาษีนั้นมาเตรียมไว้ และเข้าไปที่เว็บไซต์ rdserver.rd.go.th แล้วเลือกไปที่ “ยื่นแบบออนไลน์” แล้วเลือกไปที่ “ลงทะเบียน” หรือ “ลืมพาสเวิร์ด”
โดยอุปกรณ์ที่รองรับการเข้าเว็บไซต์นี้ ก็มีทั้งโทรศัพท์มือถือ แทบเลต หรือโน้ตบุ๊ก ผ่านช่องทาง internet explorer, google chrome, firefox
เริ่มกรอกข้อมูลต่าง ๆ โดยมีเอกสารสำคัญ ดังนี้
- โดยส่วนใหญ่ต้องใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่จ่ายค่าจ้างให้แก่เรา โดยเลือกผู้ที่จ่ายเงินสูงสุด
- หากให้เช่าบ้านต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้เช่า
- ขอหนังสือรับรองเบี้ยประกันชีวิต / เบี้ยกระกันสุขภาพ ของตนเอง และคุณพ่อคุณแม่
- เลขประจำตัวของบิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ที่จะนำมาใช้ลดหย่อน
- ข้อมูลตัวเลขเงินได้ และ ยอดหักประกันสังคม
- ยอดหักกองทุกต่าง ๆ
ซึ่งหากยังไม่อยากกดยื่นภาษี จะต้อง Save ไว้ก่อนแล้วค่อยมาแก้ทีหลังได้ ขอแนะนำให้เข้าไปกรอกในช่วงเวลาที่คุณเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว และค่อยกด Save เพื่อยื่นทีเดียว และขอคืนเงินภาษี เพื่อที่จะได้รับเงินคืนภาษีได้ถูกต้องและไว โดยปี 2562 นี้จะได้รับเป็นเช็ค เพราะฉะนั้นที่อยู่ที่กรอกไว้ตั้งแต่หน้าแรกต้องเป๊ะ ห้ามผิดแม้แต่จุดเดียว เดี๋ยวจะส่งผิดที่อยู่
เรื่องการยื่นภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่คุณมีรายได้ ก็ยื่นได้แล้ว หากทำไม่เป็นก็ฝึกยื่นไว้ อีกหน่อยหากเป็นมหาเศรษฐี 100 ล้าน จะได้รู้ว่ามีกองทุนหรือประกันชีวิตแบบไหนให้ทำทันลดหย่อนบ้าง สำหรับวันนี้หากคุณยังไม่มั่นใจเรื่องการยื่นภาษี ก็ให้บริษัทยื่นให้ หรือลองสอบถามเพื่อน ๆ นะคะ
อ่านเพิ่มเติม :
- ชําระภาษีผ่านบัตรเครดิต 2563 มีค่าธรรมเนียมไหม ?
- รู้ยัง? เตรียมขึ้นภาษีรถจักรยานยนต์แบบใหม่ ปี 2563
- ซื้อหนังสือลดหย่อนภาษี 2562 ได้เท่าไหร่ ?
- รู้ยัง..ชิม ช้อป ใช้ ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2562 ได้
- กรมราง เล็งเสนอคมนาคม ซื้อตั๋วรถไฟครบ 1.5 หมื่นบาท ลดหย่อนภาษีได้