4 ธนาคารที่สามารถซื้อพันธบัตรได้
การซื้อพันธบัตรรัฐบาลพันธบัตรรัฐบาลเป็นการออมเงินอีกอย่างหนึ่งที่ไม่มีความเสี่ยงว่าจะเงินจะหาย และดอกเบี้ยที่ได้จากการเสนอเพื่อมอบให้กับผู้ฝากเงินกับการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ก็จะมาพร้อมด้วยจำนวนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไปแล้ว ปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 0.5 โดยประมาณ แต่ดอกเบี้ยจากการฝากกับพันธบัตรรัฐบาลจะอยู่ที่ร้อยละ 1.70 ขึ้นไป โดยก่อนซื้อพันธบัตรรัฐบาลควรรู้เงื่อนไขต่อไปนี้
1 เปิดจำหน่ายเป็นรอบ ๆ
การเปิดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลไม่ได้เปิดจำหน่ายตลอดทั้งปี จะมีการเปิดให้ซื้อเป็นรอบ ๆ คล้ายกับการเปิดโปรโมชั่นบัญชีเงินฝากประจำเพื่อรับดอกเบี้ยพิเศษ แต่ทางรัฐบาลจะออกหน่วยพันธบัตรให้ธนาคารที่เกี่ยวข้องเป็นตัวแทนจำหน่าย และมีระยะเวลาฝาก 5 กับ 7 ปี และมียอดครบกำหนดให้ไถ่ถอนที่เงื่อนไขแตกต่างกันไป จะต้องตรวจสอบกับทางธนาคารตัวแทน
2 ดอกเบี้ยร้อยละ 1.70 กับ 1.95 ต่อปี
สำหรับพันธบัตรที่เปิดจำหน่ายปี 2563 รอบแรกนี้ จะเปิดฝากเป็น 2 แบบ คือ แบบ 5 ปี จะได้รับดอกเบี้ยปีละ 1.70 และ แบบ 7 ปี จะได้รับดอกเบี้ย 1.95 ต่อปี ซึ่งมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากแต่อาจจะน้อยกว่ากองทุน RMF แตกต่างกับกองทุนตรงที่เงินต้นไม่ลด
3 บุคคลธรรมดาถูกหักภาษี 15%
หากซื้อในนามบุคคลธรรมดาจะถูกหักภาษี 15% ต่อปี เป็นเงื่อนไขของการหักภาษี ณ ที่จ่าย
4 ซื้อได้ 4 ธนาคารเท่านั้น
การซื้อพันธบัตรรัฐบาล 2563 นั้น สามารถซื้อได้กับ 4 ธนาคารนี้เท่านั้น ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิรกรไทย และธนาคารกรุงไทย และสอบถามเพิ่มเติมได้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
5 จำหน่ายวันสุดท้าย 24 เมษายน 63
หลังจากเปิดรอบให้จองจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมาแล้ว ผู้จองต้องชำระหน่วยพันธบัตรได้ถึงวันที่ 24 เมษายน 2563 เท่านั้น
6 ไม่มี Bond Book ก็ซื้อได้
Bond Book ก็คือสมุดที่บันทึกหน่วยลงทุนของนักลงทุนแต่ละท่านว่ามีการซื้อไว้กี่หน่วย โดยยอดที่ซื้อต้องปัดเป็น 1,000 บาท เต็ม จะแยกเป็นครึ่งหน่วยไม่ได้ และหากซื้อกับธนาคารกรุงไทยก็จะได้รับการออก Bond Book
7 ซื้อผ่าน ATM, Mobile APP, Bond Direct Application, เคาน์เตอร์ ก็ได้
หากเคยมีสมุด Bond Book แล้วก็สามารถซื้อพันธบัตรได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Mobile App หรือตู้ ATM ของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันนั้นสะดวกมาก
8 Bond Direct Application จะต้องผูกกับบัญชีออมทรัพย์ กรุงไทย
แต่หากต้องการซื้อพันธบัตร่ผ่านแอป ฯ Bond Direct ที่ดาวน์โหลดมาแล้วนั้นเจ้าของแอป ฯ จะต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทยธนาคารกรุงไทยก่อน
9 ซื้อได้ทีละ 1,000 บาท ขึ้นไปเท่านั้น
ไม่สามารถซื้อปัดเศษต่ำกว่า 1,000 บาทได้ จะต้องซื้อเต็มหน่วยเป็น 1,000 บาท ขึ้นไปเท่านั้น
10 จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
ตามเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยรายปีทางรัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในวันที่ 13 มิถุนายนและ 13 ธันวาคม ของทุกปี
11 โอนกรรมสิทธิ์ได้หลังจาก 13 มิ.ย. 63
หากต้องการโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อบุคคลอื่น สามารถทำได้หลังวันที่ 13 มิถุนายน 2563
12 นิติบุคคลแสวงหาผลกำไร ไม่มีสิทธิ์ ซื้อ
มีข้อกำหนดว่านิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่าง สภากาชาด สถานศึกษา วัด มูลนิธิต่าง ๆ สามารถซื้อพันธบัตรเพื่อเป็นการออมทรัพย์ได้ แต่องค์กรแสวงหาผลกำไรไม่สามารถทำได้
13 จะเช็คดอกเบี้ยได้อย่างไร?
หากต้องการเช็คดอกเบี้ยเมมื่อซื้อพันธบัตรไปแล้วแต่ละปีนั้น ก็สามารถทำได้ด้วยการสอบถามกับธนาคารที่ซื้อพันธบัตร โดยการนำ Bond Book ไปสอบถามหรือใช้เลขประจำตัวประชาชนเลขประจำตัวประชาชน
14 โอนเป็นมรดกได้ไหม?
หากคุณซื้อสลากแล้วภายหลังต้องการระบุไว้เป็นพินัยกรรมเพื่อยกให้ทายาทก็สามารถทำได้ แต่ทำได้หลังการซื้อไป 15 วันทำการแล้วทั้งนั้น
15 จ่ายเงินต้นและดอกผ่านช่องทางธนาคารที่ซื้อพันธบัตร
สำหรับท่านที่ซื้อพันธบัตรผ่านช่องทางธนาคารใดก็ตาม จะได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืนตามช่องทางธนาคารนั้น ๆ คาดว่าจะไม่สามารถไปขอขึ้นเงิน รับเงินข้ามธนาคารได้ สอบถามเพิ่มเติมได้จากธนาคารที่คุณซื้อพันธบัตร
ที่มา : Kbank
อ่านเพิ่มเติม :
- บัตรเครดิตกรุงไทย มีกี่แบบ? สมัครได้ที่ไหนบ้าง?
- สินเชื่อกรุงไทย smart money ใครกู้ได้บ้าง? ได้วงเงินเท่าไหร่
- แอพกระเป๋าสตางค์กรุงไทยใช้ยังไง ?
- ขั้นตอนขอเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย โดยไม่ต้องไปธนาคาร ทำอย่างไร?
- สินเชื่อธนวัฏธนาคารกรุงไทย ผ่านยากไหม ?
ดูโปรโมชั่นธนาคารทั้งหมดได้ที่นี่