เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซื้อของแพงเข้าบ้าน พ่อแม่มีสิทธิ์เอาไปคืน
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
เรื่องกฎหมายการเงินนั้น เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ต้องเรียนรู้กันทุกคน โดยเฉพาะปัจจุบันนี้เป็นยุค 4G ซึ่งเด็ก ๆ ทั้งหลายเข้าใกล้ Social Media มากขึ้น วันดีคืนดี สั่งของมาส่งที่บ้าน ใช้บัตรเสริมของพ่อแม่ หรือ เกิดเป็นคดีความขึ้นมา พ่อแม่ต้องตามดูแลอย่างใกล้ชิดอีก มาดูกันว่า เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นิติกรรมแบบไหนที่เด็กทำได้ หรือ ทำไม่ได้บ้าง พ่อแม่ควรจดไว้เลย
1 เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ถือว่าเป็นผู้เยาว์
ตามกฎหมายถือว่าผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นผู้เยาว์ เรียกสั้น ๆ ว่ายังเป็นเด็กอยู่ จะทำนิติกรรมอะไรก็ยังไม่สมบูรณ์ ถ้าพ่อแม่ไม่เห็นด้วย เด็กไม่สามารถถูกเอาชื่อไปเป็นมีตำแหน่งในทางบริษัทได้ แต่สามารถเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเด็กมีเงินได้ตั้งแต่แรกเกิด (เป็นดารา ถ่ายแบบ ฯลฯ) ส่วนการซื้อของทุกอย่าง หากเป็นสิ่งไม่จำเป็นกับชีวิต พ่อแม่มีสิทธิ์เอาไปคืนได้ เช่น
- โทรทัศน์
- โทรศัพท์มือถือ
- อุปกรณ์ไอทีราคาสูง
- รถมอเตอร์ไซต์
- ตุ๊กตา
- ของสะสม
- ของเล่น
- ฯลฯ
2 เด็กที่แต่งงานมีครอบครัว ถือว่าบรรลุนิติภาวะ เมื่ออายุ 17 ปี ขึ้นไป
แต่ว่าเด็กบางคน มีบุตร ตั้งแต่อายุ 12 – 15 บ้าง แต่จะบรรลุนิติภาวะได้ ก็ต่อเมื่ออายุ 17 ปี และพ่อแม่รับรู้ทั้ง 2 ฝ่าย จึงเป็นที่มาว่าทำไม ท้องก่อนแต่งขึ้นมาต้องเป็นเรื่องใหญ่โตให้จับแต่งงาน เพราะจะมีเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนี่เอง และจะตามมาด้วยนิติกรรมอื่น ๆ อย่างเช่น การซื้อบ้าน ซื้อของเข้าบ้าน แยกค่าใช้จ่ายส่วนของลูก
3 พ่อแม่ถือว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
หากเกิดเหตุ เด็กซื้อของแพงเข้าบ้าน พ่อแม่เป็นคนแรกที่สามารถออกมาปกป้อง พาลูกเอาของไปคืน หรือไปแจ้งความก่อนเอาของไปคืนได้ เพราะพ่อแม่ถือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม (เป็นผู้ปกครองของลูก) ในกรณีที่พ่อแม่ของเด็กไม่อยู่บ้าน ผู้พบเห็น เป็นตายาย ก็ถือว่าเป็นผู้ปกครองเช่นกัน
4 ถ้าเด็กไม่อยู่กับพ่อแม่ ผู้ปกครองคนอื่นๆ ก็ถือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้
แต่หากเกิดกรณี ที่เด็กเอาของแพงเข้าบ้าน ตอนที่พ่อแม่ไม่อยู่ ญาติพี่น้องไม่อยู่สักคน แต่คนข้างบ้านเป็นคนเจอ คนข้างบ้านไม่ถือว่าเป็นผู้ปกครอง และ ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก คนข้างบ้านจะต้องไปบอกพ่อแม่ของเด็ก หรือ ญาติพี่น้องสักคน ว่าเกิดเหตุแบบนี้ขึั้น และต้องพาเด็กเอาของไปคืน
5 เด็กซื้อของได้เพียงสมฐานะ และ จำเป็นต้องการดำรงชีพ
เด็กสามารถซื้อของเองได้ก็จริง แต่นิติกรรมถือว่ายังไม่สมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น หากซื้อขนม ราคาแพง ห่อละ 1,000 บาท มารับประทาน หมดภายใน 3 นาที แต่ว่าพ่อแม่ไม่เห็น เจ้าของร้านไม่ว่า เด็กไม่บอกใคร ก็ถือว่าทำได้ พ่อแม่จะเอาห่อขนมไปเรียกร้องกับร้านคืนไม่ได้ด้วย เพราะว่าเด็กกินหมดไปแล้ว แต่สามารถพาไปตักเตือนที่ร้านได้ว่า หากลูกของเขามาซื้ออีก ห้ามขายให้ลูก ถ้าจับได้จะฟ้องร้อง การเตือนแล้ว (ต้องมีพยาน.. เอาตำรวจไปด้วยก็ดี) และครั้งหน้าเขาขายให้ลูกเราอีก ก็สามารถพลิกฟ้องแบบฉ่อโกง จงใจให้เสียทรัพย์ หรือฟ้องแบบอื่นได้ ่แต่ฟ้องโมฆียะไม่ได้
6 ของที่เด็กซื้อเกินความจำเป็น พ่อแม่เอาไปคืนได้ (แต่ต้องเสียค่าสึกหรอ หากเสียหาย)
ส่วนกรณีเด็กสั่งของออนไลน์ อาจจะเป็นเสื้อผ้า หรือ โทรศัพท์มือถือ มาส่งที่บ้าน แม้ว่าจะเป็นเงินของเด็กเอง แต่พ่อแม่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง พ่อแม่มีสิทธิ์เอาไปคืนได้ รับเงินคืนเต็มจำนวน ยกเว้นว่าของจะพัง มีความเสียหายจากเด็ก พ่อแม่ต้องรับผิดชอบส่วนนี้
7 เด็กไปทำสัญญาซื้อมอเตอร์ไซต์ พ่อแม่เอาไปคืนได้
การซื้อรถจักรยานยนต์ จะต้องทำสัญญาซื้อขาย หากเด็กซื้อ ขับเข้าบ้าน แล้วพ่อแม่เห็นแล้วไม่ว่าอะไร การซื้อถือว่าสมบูรณ์ แต่ถ้าพ่อแม่ของเด็ก เห็นแล้วว่าไม่สมควร สามารถขับไปคืนได้ และเจ้าของร้านก็มีสิทธิ์เรียกค่าสึกหรอ ของล้อ หรือ เครื่อง ตามสภาพ (แต่หากกลัวว่าเจ้าของร้านไม่โอเค คุณพ่อคุณแม่ควรไปแจ้งลงบันทึกประจำวันกับคุณตำรวจไว้ก่อน แล้วเอาหลักฐานตรงนี้ไปขู่ฟ้องได้)
8
เด็กไปทำสัญญาซื้อรถยนต์ พ่อแม่เอาไปคืนได้
รถยนต์ก็เช่นเดียวกัน เป็นสินค้าที่ต้องมีสัญญาซื้อขาย สมมติว่าเด็กซื้อมาแล้วขับเข้าบ้าน พ่อแม่ก็ต้องขับไปคืน และเสียค่าสึกหรอเหมือนข้อ 7 แต่หากลูกซื้อมาในราคาที่ถูก ไม่เดือดร้อนเงินพ่อแม่ และพ่อแม่รับได้ ไม่เดือดร้อนอะไร สัญญาซื้อขายถือว่าสมบูรณ์
9 เด็กไปประมูลซื้อขายของออนไลน์ พ่อแม่เอาไปคืนได้
เกิดเหตุเด็กดันไปประมูลของ ซื้อของในเกม กดเงินซื้อของออนไลน์ประมูล คุณพ่อคุณแม่ไม่เห็นด้วย ก็สามารถเรียกขอเงินคืนจากทางแอปฯ และ โปรแกรมนั้นได้ แต่เรื่องจะวุ่นวายนิดหน่อย เพราะข้อกฎหมายตรงนี้จะพ่วงกับกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
10 เด็กจะซื้อขายบ้านได้ ต้องมีหมายศาล
ซื้อบ้าน และ อสังหาฯ ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ต่อให้เด็กมีเงินของตัวเอง อยากทำเอง ไม่ผ่านชื่อพ่อแม่ เด็กสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นคำสั่งจากศาล ส่วนนี้ส่วนใหญ่จะมีทนายเป็นผู้จัดการทรัพย์สินให้ สินค้าบางชิ้น และนิติกรรมบางอย่าง จะทำได้ ก็ต่อเมื่อเป็นหมายศาลอนุญาตให้ทำ เช่น เรื่องการซื้อขายบ้าน หรือ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี นอกจากนี้ยังครอบคลุมเรื่องการยืมเงิน และ ทำประกันชีวิตด้วย ส่วนเรื่องทำพินัยกรรม เด็กสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี
รวมถึงพวกบัตรเสริม และ แอปพลิเคชั่นโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าเด็ก 15 ปี ขึ้นไปจะได้รับอนุญาตให้ใช้และเข้าถึงได้แล้ว หากเด็กเกิดนำไปซื้อของแพงเกินความจำเป็น คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องทำเรื่องยกเลิกรายการนั้นได้ และเอาของไปคืนร้านค้า แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยทำกัน เพราะถือว่ายุ่งยาก ซับซ้อน แต่หากยอดเงิน เป็นหลักหมื่น ก็น่าจะต้องยอมเสียเวลากันสักหน่อยแล้ว
Read More :
- 10 ข้อต้องรู้ เกี่ยวกับบัตรเสริม ของบัตรเครดิต
- บัตรเครดิต บัตรเสริม ใช้คนละนามสกุล ได้ไหม?
- Citibank บัตรเสริม กำหนดวงเงินได้