ในช่วงระยะเวลาที่ยากลำบากของคนทั้งโลก กับการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ขึ้นมามากมาย รวมถึงการเติบโตของการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยไม่ว่าจะเป็นการใช้ E-commerce แพลตฟอร์ม หรือการขายผ่าน Facebook, IG, LINE ซึ่งทำให้มีความต้องการของ ร้านค้าทำผ่อน 0% มากขึ้น
เหตุผลก็คือ ร้านค้าส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ใน Social Media ในการโฆษณาและรับชำระเงิน หากลูกค้าซื้อสินค้าในวงเงินที่ไม่สูงนัก ตัวเลือกการโอนเงินด้วย application ธนาคาร หรือ QR Code มักเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าราคาสูง จำเป็นที่จะต้องมีระบบผ่อนสินค้าด้วยนั่นเอง
ร้านค้าทำผ่อน 0% กันมากขึ้น Online Payment Gateway พุ่ง 40%
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?

ก่อนช่วงโควิด ระบบรับชำระเงินมีการเติบโตอย่างช้าๆ และหากเป็นการรับชำระเงิน มักจะเป็นการรองรับ นักท่องเที่ยวจีนซะมากกว่า แต่มาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้ระบบชำระเงินออนไลน์ เกี่ยวเนื่องกับ Social Distancing มีการเติบโตมากขึ้นถึง 40% (ข้อมูลจาก world bank)
โดยการเติบโตของ online payment gateway นั้น มาพร้อมกับการที่ ร้านค้าทำผ่อน 0% มากขึ้นกว่าเดิม เพราะสะดวกมากกว่า โดยเล็งเป้าไปที่ผู้ใช้บัตรเครดิต ซึ่งสามารถทำการตัดจ่ายได้โดยใช้ Payment Link ที่เชื่อมกันกับธนาคารที่ทางร้านค้าใช้บริการอยู่นั่นเอง
ซึ่งในประเทศไทยนั้น ระบบรับชำระเงิน พร้อมให้ร้านค้ามอบโปรโมชั่นผ่อนสินค้า 0% ให้กับลูกค้าได้ นั้น มักจะใช้บริการของธนาคารใหญ่เช่น SCB, KTC, และ Kbank ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
ร้านค้า จะเลือกทำผ่อน 0% ให้กับลูกค้า ที่ไหนดี ต้องดูอะไรบ้าง?
ก่อนที่จะเลือกบริการเหล่านี้ ร้านค้าต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการให้บริการผ่อนสินค้ากับลูกค้านั้น จะต้องพึ่ง Online Payment Gateway ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างการชำระเงิน โดยการเชื่อมร้านค้า กับ ระบบชำระเงินหลากหลายประเภท และในปัจจุบัน เรามี Online Payment Gateway ที่สามารถทำผ่อนได้ จากสองแหล่งหลักๆคือ
- ธนาคาร
- ตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank)
ในการเลือกระหว่างสองตัวนี้ จำเป็นมากที่จะต้องมองถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ โดยเราเปรียบเทียบให้ดูด้านล่างนี้
เปรียบเทียบ Payment Gateway ข้อดีข้อเสีย
จุดที่ต้องพิจารณา |
สมัครระบบชำระเงินผ่านธนาคาร |
หากสมัครกับตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร |
วิธีการเลือกจ่ายเงิน | จำกัดเฉพาะธนาคาร | มีความหลากหลาย |
การเชื่อมต่อ | ได้เฉพาะธนาคารนั้นๆ | ได้หลากหลายธนาคาร |
การชำระเงิน | วิ่งเข้าเว็บไซต์ของธนาคาร | อยู่บนร้านค้าออนไลน์นั้นๆเลย |
ความปลอดภัย | ธนาคารปลอดภัยกว่า | ระบบความปลอดภัยอาจไม่เท่าธนาคาร |
ความสะดวกในการสมัคร | ไม่รอนาน | บางแห่งอาจต้องรอถึง 3 เดือน |
การผ่อน 0% | สามารถทำได้ | อาจมีข้อจำกัดบางประการ |
ยกตัวอย่าง KTC Merchant ร้านค้าทำผ่อน 0% ได้ (สำหรับร้านค้า)
หลายคนอาจยังไม่เคยได้ยินชื่อ KTC Merchant ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆว่า เป็นระบบรับชำระเงิน ที่ครอบคลุม สำหรับทั้งคนไทย และ ชาวต่างประเทศ โดยเป็นระบบรับชำระเงินจากลูกค้า ผ่านบัตรเครดิต VISA, Master, JCB, Union Pay และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Alipay สำหรับชาวจีน
สำหรับข้อดีของ KTC Merchant ยกตัวอย่างเช่น
- มีเครื่องรูดบัตร EDC
- มีบริการ QR Code Payment โดยร้านค้าสามารถตั้ง QR Code ของตัวเองได้
- มีระบบเรียกเก็บเงินอัติโนมัติ แบบรายเดือน
- KTC Link Pay แม้จะไม่มีเว็บไซต์ และขายของผ่าน Facebook, IG, Tiktok ก็สามารถส่ง Link ให้ลูกค้าชำระเงินได้ สบายๆ
- มีระบบผ่อนชำระ 0%
- ลูกค้าของร้านค้า ที่ถือบัตร KTC สามารถนำคะแนน KTC forever rewards มาใช้เป็นโปรโมชั่นได้ด้วย
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร ยกตัวอย่างเช่น สำเนาทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน หนังสือยินยอมให้ถอน โอน หักบัญชีเงินฝาก สำเนาหน้าสมุดบัญชี KTB สำเนา Statement ย้อนหลัง 4 เดือน และหากเป็นเจ้าของเว็บไซต์ จำเป็นต้องมีรูปเว็บไซต์ของตัวเองด้วย
การที่ลูกค้าผ่อน 0% ดอกเบี้ยมันเป็นศูนย์ จริงหรือไม่?
การผ่อน 0% นั้น ไม่ได้เป็นอย่างที่เราหลายคนเข้าใจกันว่า ดอกเบี้ยมันฟรีจริงๆ ซึ่ง การคิดดอกเบี้ยนั้น มันอยู่ที่ว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ระหว่าง ลูกค้า หรือ ร้านค้า
ลูกค้ารับผิดชอบดอกเบี้ย
ในกรณีนี้ ร้านค้าจำเป็นที่จะต้องแจ้งกับลูกค้าถึงดอกเบี้ย ก่อนที่จะทำการซื้อสินค้า โดยที่ดอกเบี้ยแต่ละอัตรานั้นขึ้นอยู่กับธนาคารเจ้าของบัตร โดยยกตัวอย่างเช่น หากมีการซื้อมือถือแบบผ่อน โดยที่ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ย ในราคา 10,000 บาท ผ่อน 10 เดือน ลูกค้าอาจต้องเสียดอกเบี้ย 0.6% โดยจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มรวมทั้งสิ้น 60 บาท ต่อเดือน หรือ ผ่อนเดือนละ 1,060 บาท
ร้านค้ารับผิดชอบดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
ในทางกลับกัน หากร้านค้าเป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ย ลูกค้าที่ซื้อสินค้าที่ร้าน จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเลยแม้แต่บาทเดียว (ยกเว้นการผิดนัดชำระ) ซึ่งร้านค้าจะเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการผ่อนชำระ
ข้อดีของ ร้านค้า ทำผ่อน 0% ให้กับลูกค้าทั่วไป
แน่นอนว่า การผ่อน 0% เป็นการกระตุ้นยอดขายของร้านค้า ซึ่ง จะมีข้อดีต่างๆ ดังนี้
- ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องจ่ายเต็ม
- ยอดขายอาจพุ่งสูงขึ้น
- ธนาคารเป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ ร้านค้าสามารถได้เงินไปใช้ก่อนแล้ว
- เครดิตของลูกค้า เป็นเรื่องสำคัญในการผ่อน ซึ่งร้านค้า ไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องนั้นๆ
ในเรื่องนี้ อาจมองว่า ร้านค้าได้รับประโยชน์สูงสุด แต่อันที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นทั้ง ร้านค้า ลูกค้า และ ธนาคารด้วย เพราะธนาคารก็ได้ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ส่วนร้านค้าสามารถจำหน่าสินค้าได้ และลูกค้าก็สามารถจับจ่ายใช้สอยได้คล่องมือมากยิ่งขึ้นนั่นเอง