คนไทยจำนวนไม่น้อยเครียดกับปัญหาเงินไม่พอใช้หนี้
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
ในทุก ๆ กลางเดือน วันที่ 16 และต้นเดือนใหม่ในวันที่ 1 จะเห็นว่าคนไทยจำนวนมากจดจ่อกับการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะเป็นความหวังที่มีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่จะถูกสลาก แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ฝากความหวังไว้กับรางวัลลักษณะนี้
คำกล่าวที่ว่า “คนที่ใช้จ่ายเกินตัว” หรือ “ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย” จะเป็นหนี้มากจริงหรือเปล่า? นั้นมีคำตอบจากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท นีลเส็น ที่เก็บตัวอย่างจาก 1,500 ครัวเรือน เพื่อสำรวจเปรียบเทียบภาวะการเป็นหนี้ ซึ่งผู้เขียนขอสรุปให้ฟังง่ายขึ้น 3 ข้อ ดังนี้
1. คนเป็นหนี้ จากครอบครัวที่มีรายได้เท่ากัน สมาชิกในครอบครัวเท่ากัน มีทั้งคนที่มีวินัยทางการเงิน และไม่มี
จากการสำรวจครั้งนี้ จัดขึ้นในปี 2560 ยังถือว่าเป้นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการสำรวจศึกษาปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือนไทย และนัยเชิงนโยบาย” ซึ่งทำการจัดกลุ่มแล้วหาค่าเฉลี่ยจากครอบครัวที่มีความคล้ายกันเพื่อให้ค่าเฉลี่ยข้อมูลได้ไม่คลาดเคลื่อนดังนี้
- จำนวนสมาชิกในครอบครัว
- รายได้ของครอบครัว
- ลักษณะอาชีพของคนในครอบครัว
ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย ในการเป็นหนี้นั้น มีทั้งหนี้ที่ให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น อย่าหนี้ครัวเรือน ซึ่งวินัยทางการเงินนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว แม้ว่าจะมีพื้นฐานทางสังคมที่เหมือนกันก็ตาม
2. คนเป็นหนี้ เพราะมีรถยนต์
ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง ของครอบครัวที่มีภาระหนี้เยอะ สูงถึง 406% เมื่อเทียบกับครอบครัวที่ไม่มีหนี้ ซึ่งเกิดจากการมีรถยนต์เพื่อใช้ในการเดินทาง และความมีหน้ามีตาในสังคม ภาระการดูแลรถยนต์มีตั้งแต่การซ่อมบำรุง และตัวราคารถยนต์ตั้งต้นเองก็สูงมากอยู่แล้ว ทำให้เจ้าของรถยนต์ต้องผ่อนไปอีกนาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ได้แก่
- ค่าผ่อนรถ
- ค่าน้ำมัน
- ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- ค่าตรวจสภาพรถยนต์
- ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 2 ปี
- ค่าเปลี่ยนยาง
- ค่าซ่อมแซมอื่น ๆ เมื่อเกิดการสึกหรอ
- ค่าประกันรถยนต์
3. ครอบครัวที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่า จะมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลสูงกว่า
ในจำนวนครอบครัวที่มีทรัพย์สินเท่ากัน และรายได้เท่ากัน เมื่อพิจารณาเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ พบว่า ครอบครัวที่มีจำนวนผู้สูงอายุมาก จะมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และปัจจุบันประเทศไทยใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ผู้สูงวัยอาจจะต้องหารายได้จนอายุเกิน 60 ปี และต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายจึงจะไม่กระทบกับการเงิน
วิธีการอยู่อย่างมีความสุขกับภาระหนี้เยอะคือต้องตัดค่าใช้จ่ายประจำในส่วนที่ไม่จำเป็นและเกินฐานะ อย่างเช่น ค่าโทรศัพท์ และ ค่าเดินทาง ซึ่งหากคุณเป็น First Jobber แล้วยังไม่พร้อมที่จะผ่อนรถยนต์ ก็ควรใช้รถสาธารณะ และหากในบ้านมีผู้สูงอายุอยู่มากก็ต้องวางแผนเรื่องรายได้ และรายจ่ายให้สมดุลย์กัน
ที่มา :
1) จากเรื่อง “การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยอย่างยั่งยืนควรเริ่มที่ไหน” ผู้เขียน นายสุพริศร์ สุวรรณิก, สืบค้น 15 มิ.ย. 2562, https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_2Oct2018.pdf
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- อัพเดทข่าว หนี้ครัวเรือน 2562
- 10 วิธีสมัครสินเชื่อ สำหรับผู้ที่มีประวัติค้างชำระหนี้ คะแนนเครดิตต่ำ
- ส่อง 19 บัตร ต่อไปนี้ เข้าโปรแกรมคลินิกแก้หนี้ เฟส 2 ได้
- ติดหนี้เท่าไหร่เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้
- มีประวัติค้างชำระหนี้ (เครดิตบูโร) สมัครบัตรกดเงินสดได้ไหม?
คลิกสมัครสินเชื่อ 30 นาที ที่นี่