อย่างนี้ก็ได้เหรอ?
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น เราได้เห็นข่าวที่น่าตกใจออกมา และเขย่าขวัญสำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝาก ที่คิดว่าจะเก็บหอมรอมริบเอาไว้ เผื่อเป็นเงินสดยามฉุกเฉิน หรือเก็บไว้ให้ลูกหลาน และข่าวนั้นก็คือ การริบ (ริบ ไม่ใช่ ยึด) บัญชีเงินฝาก หากบัญชีนั้นๆ ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ คือไม่มีการโอนเข้าออก ไม่มีการฝากเพิ่ม ฯลฯ หากบัญชีนั้นอยู่มา 10 ปี หรือเกินสิบปี และมาตรการนี้ถูกออกเป็น พ.ร.บ. ซะด้วย (ข้อมูลจาก Khaosod.co.th) คำถามคือจะรับมือกับสถานการณ์นี้ยังไงดี? วันนี้ทีมงาน Promotions.co.th/finance ได้ไปเช็คดูกฎระเบียบของธนาคารในต่างประเทศ และนำเอามาเปรียบเทียบกันว่า ต่างประเทศมีการริบบัญชีเงินฝากเหล่านี้หรือไม่? และ ผู้ที่มีบัญชีเหล่านี้จะต้องปฎิบัติตัวอย่างไร?
มาตรการนี้ ไม่ใช่มีในประเทศไทยอย่างเดียว ต่างประเทศก็มีกันครบ
แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากเห็นบัญชีเงินฝากโดนริบ ไปอยู่กับคลังต่อหน้าต่อตา และก่อนที่เราจะไปบ่นไป Share กันใน Facebook เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่าถ้าเค้าริบเงินฝากแล้วเงินจะไปไหน?
3 อย่างที่จะเกิดขึ้น เมื่อบัญชีเงินฝากไม่มีความเคลื่อนไหว
ถ้าบัญชีไม่เคลื่อนไหว 3-5 ปี ธนาคารจะตีบัญชีเป็น Inactive
หากบัญชีของเจ้าของไม่มีความเคลื่อนไหว 3-5 ปี บัญชีนี้จะถูกตีเป็นบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่า Inactive
ธนาคารจะพยายามติดต่อ เจ้าของบัญชี
อย่างที่เราเห็นกัน ธนาคารจะส่งจดหมายอย่างเป็นทางการเพื่อติดต่อเจ้าของบัญชี หรือ อาจมีการโทรสอบถาม และถ้าไม่มีการตอบรับ ในต่างประเทศ ธนาคารเค้าจะมีการส่งรายชื่อบัญชีนี้เข้ารัฐ และสำหรับในประเทศไทยอาจมีการส่งเข้าคลัง
บัญชีถูกริบ (Escheating เวนคืน) โดยรัฐ หรือคลัง
ในต่างประเทศ ขั้นตอนนี้เรียกว่า escheating หรือการเวนคืน และที่เราเรียกว่าการริบ และเงินที่อยู่ในบัญชีจะถูกวิ่งเข้าคลัง และเงินเหล่านั้นจะถูกตีเป็น “เงินที่ไม่มีเจ้าของ”
อย่างไรก็ดี หากเจ้าของบัญชี หรือทายาท ที่ต้องการเคลมเงินคืน จะต้องติดต่อทางเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับขั้นตอนการขอเงินคืน พร้อมเอกสารต่างๆ เช่น แบบฟอร์มการขอเงินคืน และเอกสารยืนยันตัวตน
อ่านต่อ : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก คืออะไร?
4 เทคนิคที่จะทำให้บัญชีคุณไม่โดนริบ
เช็คบัญชีของคุณให้บ่อยขึ้น
เพื่อไม่ให้ลืม และจะได้รู้ว่าบัญชีไหนไม่มีความเคลื่อนไหว หลายคนมีบัญชีเงินฝาก อยู่หลายแห่ง หลายธนาคาร และอาจลืมไปว่ามีบัญชีเหล่านั้นอยู่ และหากตรวจเจอว่าเคยมีบัญชีนั้นๆอยู่ เทคนิคก็คือ โอนเงินทังหมดเข้าบัญชีที่ใช้เป็นประจำ จะได้ไม่ลืม และบัญชีจะได้ไม่โดนริบ
บัญชีเยอะไปใช้ทุกอัน? ตั้ง Automatic Payment ไปเลย
จากนี้ไปอีก 4-5 ปี รับประกันว่า หลายคนต้องลืมว่าตัวเองมีบัญชี บางบัญชีอยู่ และอาจทำให้บัญชีนั้นๆ กลายเป็นบัญชีไม่มีความเคลื่อนไหวในที่สุด เทคนิคที่ต่างประเทศเค้าทำก็คือ ตั้งการจ่ายเงินอัติโนมัติ โอนเงินอัติโนมัติ เข้าออกบัญชีนั้นๆ ซักปีละครั้ง หรือ จะเอาบัญชีนั้นเป็นบัญชีจ่ายค่าประกันก็ได้ (เพราะจ่ายปีละครั้ง) จะได้ไม่ลืม และจะได้เป็นบัญชีที่ยังใช้งานได้อยู่
ย้ายบ้าน ย้ายที่อยู่ ควรอัพเดทข้อมูลให้ธนาคาร
เพราะขั้นตอนการริบบัญชี อย่างน้อยๆ ธนาคารควรที่จะต้องส่ง Notification หรือเอกสารมาให้เรารับทราบก่อน บางคนย้ายที่อยู่ไป ธนาคารแจ้งมาแล้ว แต่ไม่มีใครรับทราบ บัญชีก็ต้องโดนริบไปอยู่ดี ดังนั้นการ แจ้งให้ธนาคารทราบโดยการ update เบอร์โทร ที่อยู่ให้กับธนาคารทราบ เพื่อที่จะได้ตามตัวเราเจอ
ย้ายงานใหม่ รับเงินเดือนธนาคารใหม่ ปิดของเดิมไปเลย
หลายคนย้ายงานบ่อย และ ที่ทำงานเก่าใช้บัญชีธนาคาร A แต่พอย้ายงานไปที่ใหม่ใช้ ธนาคาร B เพื่อรับเงินเดือน เทคนิคง่ายๆก็คือ พยายามปิดบัญชีเก่าทันที เมื่อมีการย้ายไปธนาคารใหม่ อันนี้จะช่วยตัดไฟแต่ต้นลมไปเลย จะได้ไม่ต้องมานั่งจำอะไรมากมาย
อย่างไรก็ดี คาดว่าหลังจากการที่เรามี E-wallet ใช้งานกันทุกวันนี้ เราอาจใช้ บัญชีธนาคารน้อยลงกว่าเดิม เพราะทุกอย่างเป็นการผูกบัญชีเข้ากับกระเป๋าเงินออนไลน์ทั้งหมด ทำให้ เจ้าของบัญชีกังวลน้อยลงกับบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหว และมีความเป็นไปได้ที่จะโดนริบบัญชีเงินฝากในอนาคต
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงิน
- ประกันสังคม 1,000 บาท จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง?
- ค่าธรรมเนียมกู้บ้าน – รีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง
- ธนาคารไทยเครดิต ติดอันดับ 1 ขยายสาขามากที่สุดในปี 2560