ทำไมออมทองต้องออมเป็นทองคำแท่ง
ตั้งแต่สมัยก่อน หากเราทำงานได้รับเงินเดือน เป็นโบนัส หรือ บำนาญ ทางผู้ใหญ่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อทอง ซึ่งถือเป็นการออมอย่างหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันนี้การออมจะมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การออมผ่านกองทุน, การซื้อสลาก แต่การออมทองก็เป็นที่นิยมอยู่ โดยทางลูกค้าจะซื้อเป็นทองคำแท่ง มากกว่าทองรูปพรรณ เพราะเหตุผลเดียวคือเมื่อขายออกแล้วจะไม่โดนหักค่ากำเหน็จเยอะนั่นเอง
มีผู้สนใจเกี่ยวกับการออมทอง ตั้งข้อคิดเห็นไว้ใน Pantip สอบถามถึงการวัดขนาดทองคำ และการเรียก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสับสนกันมาตลอด ทั้งการเรียกเป็นสลึง เป็นบาท โดยปัจจุบันนี้เราใช้หน่วยนับเป็น “กรัม” กันแล้ว
ทองกี่บาท ? เป็นกี่กรัม?
ทอง 1 บาท มีกี่กรัมกันแน่? โดยปกติเรานิยมเรียกทองกันย่อ ๆ ว่า ทอง 1 บาท, ทองสลึง, ทองครึ่งสลึง ซึ่งถูกแบ่งน้ำหนักแตกต่างกัน ดังนี้
ทอง 1 บาท มี 15.244 กรัม (ทองแท่ง) และ 15.16 กรัม (ทองรูปพรรณ)
โดยการชั่งทองปัจจุบันนี้ใช้เครื่องชั่งทศนิยม 3 ตำแหน่ง แต่การยืนยันการันตีจากร้านขายทอง ดูค่า 2 ตำแหน่ง เพราะฉะนั้นทอง 1 สลึง มีน้ำหนักเท่าไหร่ ก็ต้องเอา 4 ไปหาร 15.244 กรัม นั่นเอง
ในที่นี่เราขอพูดถึงแต่ทองแท่ง เพราะว่าการออมทองนั้นร้านค้าจะส่งเป็นทองแท่งมาให้กับคุณ ดังนั้นการหาค่าราคาทองคำแท่ง จึงคิดตามน้ำหนัก ดังนี้
ทอง 1 สลึง น้ำหนัก 3.811 กรัม
ทองครึ่งสลึง น้ำหนัก 1.9055 กรัม
ออมทองคำแท่ง
คืออะไร?
การออมทอง คือการเปิดบัญชีเงินฝาก คู่กับบัญชีฝากทองคำ ซึ่งมีหลายเจ้าที่เปิดให้บริการมานาน อาทิ ฮั่วเซ่งเฮง, ตั้งฮั่วเส็ง, ออสสิริส ซึ่งวิธีการออมทองแบบเข้าใจง่าย ๆ มีดังนี้
- ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากไว้
- หากอยากซื้อทองคำ ณ เวลานั้น ก็ให้ตัดเงินจากบัญชีเงินฝากได้ในราคาหน่วยเป็นบาท (หน่วยเงิน ไม่ใช่หน่วยทอง)
- การฝากด้วยข้อ 1 และ 2 จะทำให้ได้ทองในราคาไม่เต็มบาท เพราะราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ดังนั้นหากฝากครบตามน้ำหนักในสัญญาตกลง จึงสั่งให้ทางบริษัทออมทอง หลอมทองในราคาเต็มบาทได้
- รับทองคำได้เป็นบาท หรือ เป็นกรัม แล้วแต่ข้อตกลง
ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ ราคาทองคำ 1 บาท อยู่ที่ 20,150 บาท เท่ากับว่า หากเราทยอยฝากทองที่ครบน้ำหนัก 15.244 กรัมแล้ว เราสามารถสั่งเบิกเป็นทองคำ 1 บาทออกมาได้
ซึ่งหากเราฝากบัญชีออมทอง บางสัญญากำหนดขั้นต่ำ 1,000 บาท เท่ากับว่าเราต้องฝากเงินประมาณ 21 เดือนถึงจะทอง 1 บาท
เหตุผลที่การออมทองเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ก็เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากนั้นน้อยลง ไม่จูงในนักออมเหมือนในอดีต เพราะฉะนั้นการออมทองจึงเป็นทางเลือกการออมเงินในรูปแบบของคนที่ไม่ต้องการจำค่าตัวเลขผันผวนของหุ้น และไม่กล้าเสี่ยงกับการซื้อสลาก
ในรูปแบบการออมอื่น ๆ ที่มีความมั่นคงเช่นกันก็คือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เราจะมั่นใจได้ว่าเราใส่เงินต้นไปเท่าไหร่ จะได้เงินต้นเท่าเดิม และมีโอกาสได้เงินปันผลเป็นดอกเบี้ย
แตกต่างจากการออมหุ้น หรือซื้อกองทุน LTF และ RMF เมื่อเราซื้อแล้วก็มีโอกาสที่จะเสียเงินต้นได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องแบ่งการฝากเงินไว้หลาย ๆ ที่ เพื่อรักษาเงินต้นของตัวเอง
ออมทอง ลดหย่อนภาษีได้ไหม?
เนื่องจากการออมทองเป็นการออมอย่างหนึ่ง จึงไม่เกี่ยวกับการซื้อขายรับเป็นรายได้ จึงไม่มีการลดหย่อนภาษีปีนั้น ๆ แต่อาจต้องเสียภาษีเมื่อต้องเบิกถอนออกมาในรูปแบบเงินฝาก หากทำในรูปแบบสัญญา เพราะมีการเก็งกำไร ซึ่งอาจจะเสียเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกับการฝากบัญชีฝากประจำบางประเภท
สุดท้ายนี้ เมื่อเราต้องการเบิกบัญชีออมทองออกมาเป็นทองคำ หากหน่วยสุดท้ายที่เกลามาแล้วไม่เต็มบาท ก็อาจจะได้รับทองคำแท่งแบบหลอมมาเป็นสลึงหรือตามจำนวนกรัมที่ตกลง หรือได้รับเงินสดคืนมาในจำนวนเท่ากับการออมทองนั่นเอง เพราะฉะนั้นแล้วผู้ที่สนใจออมทองต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด
เพราะฉะนั้นรู้อย่างนี้แล้ว ต่อไปก็คงไม่สับสนเวลาเข้าร้านทอง ว่าแบบไหนเรียกบาท เรียกสลึง และอย่าลืมดูตราชั่งตอนได้รับทองมาว่ามีหน่วยทศนิยมตามที่กำหนดหรือเปล่า? เพื่อป้องกันสิทธิ์ของคุณเวลาขายทองคืนนะคะ
ที่มา : http://www.ausiris.co.th/content/index/saving/saving-article0/article2/saving-5mistake.html
สมัครบัตรเครดิต ร่วมโปร ฯ ผ่อนทอง ได้ที่นี่
Read More :