(ภาพจาก สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงรับจำนำ จากธนาคารกรุงไทย https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateId=3&cateMenu=PRODUCT&itemId=28)
เงินเดือน ไม่ถึง 10000 บาท พึ่งพาสินเชื่อ หรือ เข้าโรงรับจำนำดี?
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อแรก ๆ ที่คนไทยรู้จักกันมานานก่อนจะมาธนาคาร ก็คือ “โรงรับจำนำ” และหลังจากเริ่มมีสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้หลายแห่งขยายกิจการ ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้แก่ร้านค้ากิจการก่อน ก็ทำให้เศรษฐกิจของไทยเฟื่องฟูขึ้น หลังจากนั้นค่อยเขยิบมาให้สินเชื่อส่วนบุคคล แก่ผู้มีรายได้ประจำ ตามกระแสสถาบันการเงินในต่างประเทศ
(ภาพโรงรับจำนำ Easymoney)
คนไทยต้องการใช้บริการ “โรงรับจำนำ” หรือ “สินเชื่อ” มากกว่ากัน
หากดูตามสถิติการค้นหา พบว่า คนไทยนิยมศึกษาผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ” มากกว่า “โรงรับจำนำ” ซึ่งไม่มีตัวเลขบอกได้ชัดว่า สรุปแล้วคนเข้าโรงรับจำนำหรือธนาคารมากกว่ากันแน่? แต่ปัจจุบันโรงรับจำนำนั้นมีสาขาให้บริการน้อยกว่าทุกธนาคารรวมกัน และประชาชนเริ่มเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็น
- สินเชื่อบัตรเครดิต
- สินเชื่อบัตรกดเงินสด
- สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
- สินเชื่อซื้อโทรศัพท์มือถือ
- สินเชื่อบ้าน
- สินเชื่อรีไฟแนนซ์
- สินเชื่ออเนกประสงค์ (การศึกษา, รักษาพยาบาล)
- สินเชื่อส่วนบุคคล
- ฯลฯ
แต่ข้อจำกัดของการขอสินเชื่อในปัจจุบันนี้ กำหนดฐานรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ และมีการขอเอกสารสลิปเงินเดือน และ Statement ทำให้การขอสินเชื่อ มีลูกค้าเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานประจำมากกว่า ส่วนบุคคลทั่วไป ที่อาจจะยังอยู่ในช่วงหางาน หรือ ไม่ได้มีรายได้ประจำ เลือกใช้บริการ “โรงรับจำนำ” เพื่อได้เงินง่ายกว่า โดยมีข้อเปรียบเทียบระหว่าง 2 บริการ ดังนี้
บริการของโรงรับจำนำ คือ …
“โรงรับจำนำ” แบ่งออกเป็น โรงรับจำนำของรัฐบาล และ เอกชน ต่างกันตรงข้อจำกัดของดอกเบี้ย บริการของโรงรับจำนำคือ นำสินค้าของผู้จำนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และจ่ายเงินออกตั๋วจำนำให้กับผู้จำนำ ในการประเมินทรัพย์สินต้องขอบัตรประชนชนของผู้จำนำทุกครั้งด้วย
ขั้นตอนการใช้บริการจำนำ มีอย่างไร? …
- นำบัตรประชาชน และ ทรัพย์สิน แสดงให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อประเมินราคา
- เจ้าหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน
- พิมพ์ลายนิ้วมือ ของผู้จำนำ ในตั๋วจำนำ และสำเนา
- ผู้ขอจำนำ รับเงินพร้อมตั๋วจำนำ
อายุ “ตั๋วจำนำ” กี่วัน? …
อายุของตั๋วจำนำ สูงสุด 4 เดือน 30 วัน หากคุณไม่สามารถนำเงินสดมาไถ่ถอนได้ทัน ทรัพย์สินจะถูกนำไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนต่อ หากผู้จำนำไม่มีเงินก้อนทั้งหมดมาไถ่ถอน ก็ทยอยนำมาแบ่งไถ่ได้ ไม่ต้องรอให้ทรัพย์สินถูกขายทอดตลาด
Trick : ส่งดอกคืออะไร?
การไปส่งดอกก็คือ การรวบยอดไปจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด เพื่อแสดงตัวกับทางโรงรับจำนำว่า คุณจะยังต้องการไปไถ่ถอนสิ่งของนั้นคืน โดยส่วนใหญ่แล้วโรงรับจำนำจะไม่โทรหาคุณเอง คุณต้องเป็นผู้ติดต่อกับทางโรงรับจำนำก่อนวันสิ้นอายุของตั๋วเท่านั้น
การใช้บริการกับ โรงรับจำนำของรัฐบาล จะมีวิธีการโปะเงินเพื่อทยอยผ่อนได้ด้วย แต่โรงรับจำนำเอกชนบางแห่งอาจจะทำยากหน่อย ด้วยความอึดอัดใจของทางผู้ขอเงิน และบางคนก็เอาไปจำนำกับคนรู้จัก ไม่ได้ฝากจำนำไว้กับโรงรับจำนำที่จดทะเบียนจึงไม่มีความยืดหยุ่นในการขอไถ่ถอน
ปัจจุบันนี้ ผู้ที่เปิดโรงรับจำนำมีมากขึ้น เพราะได้เงินเร็ว ไม่เกิน 5 นาทีก็ทราบผล ทางธนาคารบางแห่งก็ออกสินเชื่อให้กับโรงรับจำนำโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น “สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงรับจำนำ จากธนาคารกรุงไทย” ได้วงเงินสูงสุด 90% ของมูลค่าทรัพย์สินจำนำ ซึ่งมอบให้แก่สถานประกอบการโรงรับจำนำเอกชน 5 – 8 ปี ขึ้นไป
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน ๆ ก็คงต้องพึ่งพาโรงรับจำนำ แต่หากรู้ตัวว่าต้องการใช้เงินจำนวนมาก ตั้งแต่หลัก 10,000 – 1,000,000 บาท ก็ต้องเลือกศึกษาสินเชื่อ เพื่อรับดอกเบี้ยที่ถูกกว่า และทยอยผ่อนเป็นก้อนได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติม :