การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไป และแม้แต่การสมัครบัตรเครดิต นั้นใช้เวลาในการพิจารณาที่ค่อนข้างนาน แต่เมื่อรอๆไปแล้ว ธนาคารแจ้งว่า “ไม่ผ่าน” คำๆนี้ อาจเหมือนกับโดนชกที่ท้อง บางคนจุก บางคนเครียด และบางคนสิ้นหวังกับชีวิตไปเลยก็มี แต่ การเอาผลการสมัครสินเชื่อ มาเป็นจุดด้อยในชีวิต อาจเป็นวิธีคิดที่ทำร้ายตัวเอง หากลองเปลี่ยนเป็น ความคิดที่จะเอาชนะสถาบันการเงินให้ได้ กับการกู้ให้ผ่านได้ โดยการปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อน และวันนี้เรามี 6 วิธีที่จะ สร้างความเชื่อมั่นใหักับธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อที่จะหนีจากคำว่า Loan Rejection
1ถามธนาคาร ว่าทำไมสมัครไม่ผ่าน?
โดยมากแล้ว ทางธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ต้องเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้กู้ หรือ ผู้สมัครทราบถึงสาเหตุ ของการสมัคร ที่ผ่านหรือไม่ได้รับการอนุมัติ โดยปกติแล้ว การสอบถามเหตุผลในการปฎิเสธใบสมัครสินเชื่อ จะสามารถสอบถามได้หลังจากได้รับข่าวทันที หรือ อาจสามารถเช็คได้ภายใน 10 วัน หลังจากถูกปฎิเสธ และ เหตุผลส่วนใหญ่ที่สมัครไม่ผ่านกันก็คือ มีประวัติค้างชำระหนี้ (ที่เข้าใจผิดเรียกกันว่าติดแบล็คลิสต์) และ มีภาระหนี้ (Debt Service Ratio) สูงเกิน 70% ตามข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทย
2
สร้างคะแนนเครดิตให้ดีกว่าเดิม
การสร้างคะแนนเครดิตให้ดีขึ้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่พูดได้ง่าย แต่ทำยาก เพราะผู้กู้สินเชื่อบุคคล มักจะมีหนี้ติดค้าง เช่นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และ หนี้สินอื่นๆ แต่จริงๆแล้ว การจ่ายให้ตรง ไม่ผิดนัดชำระหนี้ เป็นระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป ก็จะทำให้เครดิตดีขึ้น และนี่คือ 3 วิธีเพิ่มเติมที่จะทำให้คะแนนเครดิตดีขึ้นกว่าเดิม
- เช็คเครดิตบูโร ด้วยตัวเอง – สามารถเช็คออนไลน์ได้แล้ว ณ ปัจจุบัน เพื่อที่จะตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนเครดิต และหาจุดที่ทำให้คะแนนเครดิตของตัวเองเสีย เช่น การแสดงยอดคงค้างชำระหนี้ ที่อาจมีความคลาดเคลื่อน
- Credit Builder Loan – สินเชื่อประเภทนี้ เป็นสินเชื่อเฉพาะบุคคลธรรมดา ที่คล้ายกันกับสินเชื่อโอนหนี้ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีประวัติค้างชำระหนี้ โดยเงินที่กู้จะอยู่ในธนาคาร ที่ทางธนาคารกำหนด และจะต้องทำจ่ายคืนในเวลาที่กำหนด และเมื่อมีการจ่ายคืนตรงเวลา คะแนนเครดิตก็จะดีขึ้นตามลำดับ
- ขอคนรู้จัก สมัครบัตรเครดิตเสริม ในบัญชีเค้าเอง – วิธีนี้ อาจเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างคะแนนเครดิตให้ดีขึ้น เพราะการสมัครเสริมโดยที่ เจ้าของบัตรหลักเป็นผู้ที่มีวินัยทางการเงิน ก็จะผ่านง่าย และ จะทำให้เครดิตของผู้ถือบัตรเสริมดีขึ้นด้วย หากจ่ายตรงตามที่กำหนด
3
จ่ายหนี้ให้ครบ หรือให้เหลือน้อย
เพราะภาระหนี้ เป็นตัวกำหนดในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน ที่จะทำให้ผ่านได้ง่ายๆ หากมีภาระหนี้ต่ำ ปัจจุบัน ทาง ธปท กำหนดให้มีภาระหนี้ 70% (จริงๆกำหนดมานานแล้ว) และการจ่ายหนี้ ให้เหลือน้อยที่สุด จะทำให้ ภาระหนี้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น มีรายได้ 10,000 บาท ต่อเดือน มีภาระหนี้ที่ต้องจ่าย 7,000 บาท นั่นคือ 70% ของรายได้ (ที่เรียกว่าภาระหนี้สิน) เมื่อจ่ายหนี้ให้เยอะขึ้น โดยเหลือหนี้ที่ต้องชำระแค่เพียง 5,000 บาท ต่อเดือน ภาระหนี้ก็จะอยู่ที่ 50% ก็จะสามารถกู้ผ่านได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่การจ่ายหนี้ ไม่ได้ทำได้เพียงวันหรือสองวัน เพราะมันใช้ระยะเวลานานเป็นแรมเดือน
4
หารายได้เสริมเพิ่มเติม ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
การหารายได้เพิ่ม ก็จะทำให้ อัตราภาระหนี้น้อยลงตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ปกติมีรายได้ที่ 10,000 บาท ต่อเดือน แต่มีหนี้สิน 7,000 บาท ต่อเดือน เมื่อหารายได้เพิ่มเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน ภาระหนี้สินก็จะอยู่ที่ 46.66% โดยอัติโนมัติ ทำให้สามารถกู้ผ่านได้มากขึ้น
5
ศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เงินกู้ให้ดีก่อนการกู้ยืม
หากตัวแปรสำคัญคือ ภาระหนี้สิน ที่ทำให้กู้ไม่ผ่าน อันที่จริงแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่ออีก 108 ที่สามารถสมัครได้แบบไม่เช็คภาระหนี้ และก็ยังมีสินเชื่อประเภทอื่นๆ เช่น การรีไฟแนนซ์รถยนต์ การจำนำทะเบียนรถยนต์มอเตอร์ไซค์ หรือ สินเชื่อ P2P Lending และ Pico Finance Pico Plus ที่กำลังมาแรงในปีนี้ และ คิดว่าน่าจะมีมากขึ้นในปี 2020
6
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนการสมัครครั้งถัดไป
การเตรียมตัวให้พร้อมนั้น เฉพาะสำหรับการสมัครสินเชื่อ หรือบัตรเครดิต ครั้งถัดๆไป โดยส่วนใหญ่จะต้องเตรียมดังนี้
- เตรียมเอกสารทุกชิ้นให้ครบ เช่นใบรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน หลักฐานแสดงรายได้ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
- ตรวจสอบเอกสารก่อนการยื่น หากกรอกผิดเพียงนิดเดียว เช่น ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ก็อาจทำให้ไม่ผ่านการสมัครได้
- หากจำเป็น และรีบจริงๆ อาจต้องมีการคุยกับคนรู้จักให้เป็นผู้ค้ำประกัน นั่นก็คือการเตรียมคนนั่นเอง
อ่านบทความ ทางเลือกทางการเงินสำหรับกู้ยืมได้ตามด้านล่าง
ล่าสุด สถาบันการเงินอย่าง KTC ที่เป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด ยังมีแผนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง Nano Finance และ การรีไฟแนนซ์รถยนต์ คือเปลี่ยนจากสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์เป็นมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งต่อไปนี้หากทางเคทีซีมีผลิตภัณฑ์แบบนี้จริงๆ ก็จะมีอัตราเสี่ยงในการเจอหนี้เสียน้อยกว่า
หากมาดู J Money ที่เปิดตัว J Fintech ไปก่อนหน้า ก็กำลังจะเปิดตัว สินเชื่อแบบ P2P Lending ที่เป็นรูปแบบการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล นอกเหนือจากการมีสินเชื่อส่วนบุคคลจมันนี่ ที่หลายๆคนรู้จักกันดี
และล่าสุดไปกว่านั้นทาง Citibank ที่ไม่ค่อยได้เห็นโปรโมชั่นลดดอกเบี้ย และทาง ซิตี้ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิมเป็น 7.99% ในครึ่งหลังของการผ่อนชำระ เพื่อให้ผู้มีภาระหนี้เยอะ ได้ผ่อนได้เบาลง และ จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง
ธนาคารกสิกรไทย ที่เคยมีการเปิดให้กู้ยืมเงินผ่าน LINE ไปแล้ว รอบนี้ มีการเข้ากับ Partner เจ้าใหม่ โดยจะมีการเปิดให้กู้เงินผ่าน Grab Application ได้อีกด้วย