ห้ามรถมอเตอร์ไซค์ลงอุโมงและขึ้นสะพาน เกิดจากอะไร
สวัสดีค่ะ หลายคนอาจมีข้อสงสัยกันเกี่ยวกับ เส้นทางการขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์ เพราะมีกฏหมาย และ ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 กรกฏาคม 2559 ในตอนพิเศษ 162 ง กล่าวว่า “ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็น เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ สะพานข้ามแม่น้ำ และในอุโมงค์ลอดทางร่วมทางแยก พ.ศ. 2559” และข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นมา
ที่มีการประกาศออกมาแบบนี้เนื่องจาก การข้ามสะพาน ไม่ว่าจะเป็นสะพานยกระดับ หรือ สะพานร่วมแยกต่าง ๆ สะพานข้ามแม่น้ำ หรือ การทำอุโมงค์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็น การสร้างเพื่อแก้ไขในส่วนของการจราจรของรถยนต์ที่ติดขัด ตามบริเวณทางแยก ทางร่วมต่าง ๆ ซึ่งที่มีการออกกฏห้ามออกมานั้นก็เนื่องจาก รถจักรยานยนต์ เป็นรถขนาดเล็ก และช่วงของความเร็จจะแตกต่างจากรถยนต์เป็นอย่างมาก หากเกิดอุบัติเหตุโอกาสเสียชีวิตจะมีสูงกว่าการขับขี่รถยนต์อย่างแน่นอน
หากว่ากันตามหลักแล้ว หากรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพาน แต่เป็นช่วงถนนโล่ง หรือ มีรถสัญจรไม่มาก จะทำให้ทั้งผู้ขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์ ขับขี่เร็วซึ่งหากเทียบในการเกิดอุบัติเหตุแล้วรถยนต์จะมีระบบป้องกันอื่น ๆ ที่มากกว่า แต่สำหรับรถจักรยานยนต์นั้นแทบจะไม่มี หากปล่อยให้ขึ้นมาวิ่งบนสะพานจะทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น สำหรับการลงอุโมงค์นั้นด้วยในส่วนของการลงอุโมงค์ที่จะมืดกว่าด้านนอกในช่วงกลางวัน หรือ กลางคืน การที่ขับรถเข้าไปในอุโมงค์ จะทำให้การโฟกัสของเราสูบเสียไปชั่วขณะ บวกกับรถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเล็ก ทำให้รถยนต์อาจไม่ทันสังเกตเห็นรถจักรยานยนต์ และเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
แต่ถึงมีจะมีการออกกฏมาส่วนนี้ที่ห้ามไม่ให้รถจักรยานยนต์ ขับขี่ขึ้นลงสะพาน หรือ ลอดใต้อุโมงค์ แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฏขับกันอยู่เป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็มีคนบางกลุ่มออกมาบอกในส่วนของการใช้ถนนว่า เป็นประชาชนคนไทยเหมือนกัน ต้องเสียภาษีเหมือนกันแต่ทำไมไม่สามารถใช้สะพานได้ เพียงแค่เป็นรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้นหรอ? ซึ่งปัญหานี้ก็ยังถือเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และยังหาข้อตกลงไม่ได้
อย่างไรก็ตามเราควรใช้รถใช้ถนนอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าเป็นเป็นผู้ขับรถยนต์ หรือ ผู้ขับรถมอเตอร์ไซค์ก็ควรมีน้ำใจให้แก่กัน เพราะถึงแม้จะมีการทำประกันรถเอาไว้ แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็ไมคุ้มค่าอยู่ดี รถยนต์ก็ไม่ควรที่จะขับโดยการปัดซ้ายปัดขวา หรือ เปลี่ยนเลนกระทันหัน ควรมีการบีบแตรให้สัญญาณกันและกันในการขับขี่จะดีที่สุด รถจักรยานยนต์เองก็ไม่ควรที่ขับขี่เร็วเกินไป และควรดูสัญญาณไฟจากรถยนต์ให้ดี หากเบียดเกินไปก็ไม่ควรแทรก ไม่ควรบีบแตรบ่อย ๆ บีบเพื่อให้สัญญาณ หรือ ตักเตือนสั้นก็พอแล้ว รวมไปถึงความใจร้อนในระหว่างการขับขี่ที่ควรลดลง เพราะ ความหัวร้อนย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุและสิ่งที่ไม่ดีตามมาอย่างแน่นอน การขับรถโดยมีน้ำใจซึ่งกันและกันจะสามรถช่วยลดอุบัติเหตุลงได้มากเลยทีเดียวนะคะ
READ MORE :