พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงโดนใบสั่ง
ผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นมีรถยนต์ส่วนตัวในการเลือกขับขี่ไปยังสถานที่ต่างๆ อีกทั้งเป็นยานพาหนะที่จำเป็นในการเดินทางซึ่งในประเทศไทยนั้นมีปริมาณรถยนต์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ก็มีผู้คนส่วนใหญ่ที่มักจะละเลยกฎจราจร รวมไปถึงการมองข้ามข้อกฏหมายที่ควรปฏิบัติ โดยสังเกตได้จากการกระทำพฤติกรรมเหล่านั้นมักจะทำให้คุณนั้นต้องโดนใบสั่ง หรือ ต้องจ่ายค่าปรับกันบ่อยๆ
ปัจจัยหลายๆอย่างรอบตัวอาจทำคุณมองข้ามกฏจราจรเหล่านี้ไปจนต้องโดนใบสั่งปลิวมาให้ถึงบ้าน มีพฤติกรรมใดบ้างนั้นไปดู….
โทษปรับระหว่าง 400 – 1,000 บาท
- การขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า
- การใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ
- การแซงในพื้นที่เส้นทึบ
โทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- การขับรถย้อนศร
- การหยุดรถขวางทางแยก
- การจอดรถกีดขวางการจราจร
- การจอดรถในที่ห้ามจอด
- การหยุดรถบนทางเท้า
โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- การหยุดรถเกิดเส้นที่กำหนดหยุด
- ผ่าสัญญาณไฟแดง
- ปรับ ตกแต่ง เสียงท่อรถยนต์ ให้มีความดัง
โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- การติดไฟนีออนไว้ใต้ท้องรถยนต์ หรือ การติดไฟนีออนไว้กับป้ายทะเบียน
- ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน
ติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอม (มีความผิดทางอาญาท จะถูกส่งเรื่องฟ้องศาล ซึ่งอาจโดนโทษทั้งจำทั้งปรับ)
การใช้ป้ายแดงเกิน 1 เดือนหรือใช้รถยนต์ป้ายแดงวิ่งเกินระยะ 3,000 กม.มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
โดยควรพึงระลึกไว้เสมอว่าการถูกใบสั่งทุกรูปแบบนั้นเราจำเป็นต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นการถูกใบสั่งจากกล้องวงจรปิดก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าหากถูกใบสั่งจากกล้องวงจรปิดนั้นไม่ต้องจ่ายค่าปรับก็ได้ ถึงแม้คุณจะไม่จ่ายค่าปรับและสามารถต่อภาษีประจำปีได้ปกติแต่รู้หรือไม่ว่าจะมีการแจ้งว่าคุณนั้นมีใบสั่งค้างชำระ หากไม่ชำระตามใบสั่ง กรมการขนส่งทางบกจะไม่ออกป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ แต่จะมีการออกหลักฐานชั่วคราวให้ 30 วัน ดังนั้นเมื่อถูกใบสั่ง หรือ ถูกเรียกจ่ายค่าปรับนั้นควรจ่ายทันที
การละเลยเหล่านี้ถือเป็นปัญหาต่อเนื่องที่มักจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่เสียส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่ารถยนต์ของคุณนั้นจะมีประกันรถยนต์แต่การที่คุณกระทำผิดในส่วนของประกันก็ไม่ได้คุ้มครองให้คุณทั้งหมดเช่นเดียวกัน ดังนั้นกฎจราจรเล็กๆเหล่านี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน
READ MORE :
- กรมธรรม์ประกันภัยหาย ต้องทำไง ?
- เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี 2562 ได้เท่าไหร่
- ข้อยกเว้น ที่ประกันอุบัติเหตุไม่จ่าย
- ประกันรถยนต์แบบเติมเงินคืออะไร ?