รถยนต์ควันดำไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่าชะล่าใจก่อนจะสายไป
ในอดีตท้องถนนในเมืองเต็มไปด้วยควันสีดำโขม่งเนื่องจากไม่มีการควบคุมเรื่องมลพิษบนท้องถนนอย่างจริงจังทำให้มีรถยนต์ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างดีวิ่งอยู่บนถนนและทำให้เกิดควันดำเต็มทั่วถนน ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เวลาอยู่สักพักหนึ่งในการควบคุมจนแก้ปัญหาเรื่องควันดำจากรถยนต์ได้ ในปัจจุบันเราจึงไม่ค่อยเห็นรถยนต์ที่มีควันดำมาวิ่งบนท้องถนนแล้ว แต่ยังไงก็ตามแม้จะไม่ค่อยมีรถยนต์ควันดำบนท้องถนนแต่เราก็ไม่ควรชะล่าใจเพราะบางทีหากเราไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์ดี ๆ ปัญหาควันดำบนท้องถนนอาจจะเกิดจากรถยนต์ของเราก็เป็นได้
รถยนต์ควันดำเกิดจากอะไร ?
เรามาดูสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ปล่อยควันดำออกมากันดีกว่า เพื่อที่จะได้เฝ้าระวังไม่ให้รถยนต์ของเราปล่อยควันดำออกมากันเถอะ ! ปัญหาที่ควันดำอันที่จริงแล้วมักเกิดจากเครื่องยนต์และน้ำมัน โดยมันมีสาเหตุใหญ่ ๆ อยู่ 5 กรณี
1.ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม
2.ไส้กรองอากาศสกปรกและมีเขม่าดำอุดตัน
3.เครื่องยนต์เก่าและขาดการบำรุงรักษา
4.บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา
5.ใช้น้ำมันไม่ได้มาตรฐาน
ทีนี้วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงรถยนต์ของเราไม่ให้มีควันดำที่ง่ายที่สุดคือการตรวจสภาพรถยนต์ทุกครั้งเวลาที่เราเดินทางก่อนและหลังการเดินทางไกล ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและการรักษาสภาพรถยนต์ของเราด้วย
ประเภทรถยนต์ที่ห้ามวิ่งหากตรวจพบควันดำ
ทั้งนี้ได้มีกฎหมายออกมาห้ามรถยนต์เครื่องดีเซลต่อไปนี้วิ่งหากมีการตรวจวัดเจอควันดำที่เกินมาตรฐาน
1.รถยนต์ส่วนบุคคล
2.รถยนต์สาธารณะ
3.รถยนต์บริการ
4.รถพ่วง
5.รถบดถนน
6.รถแทรกเตอร์
บทลงโทษสำหรับรถยนต์ที่ปล่อยควันดำ
โดยหากรถยนต์ประเภทข้างต้นถูกตรวจค่าควันดำและเกินมาตรฐาน ทางรัฐจะมีบทลงโทษดังนี้ คือการออกคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราว และห้ามใช้เด็ดขาด
คำสั่งห้ามใช้ชั่วคราว รถยนต์ที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐานจะถูกห้ามใช้ชั่วคราวจนกว่าจะแก้ไขซ่อมแซมรถยนต์และไม่มีค่าควันดำเกินมาตรฐานภายในกำหนดเวลา 30 วัน
คำสั่งห้ามใช้เด็ดขาด คำสั่งนี้จะถูกออกเมื่อรถยนต์ที่ถูกสั่งห้ามใช้ชั่วคราวฝ่าฝืนไม่ยอมแก้ไขซ่อมแซมรถยนต์ภายใน 30 วัน การถูกคำสั่งห้ามใช้เด็ดขาดนั้นหมายถึงการห้ามใช้งานรถยนต์จนกว่าจะได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเท่านั้น
ทั้งนี้หากมีการฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองแบบผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษดังนี้
หากฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้รถยนต์ต้องความผิดระวางโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท
หากฝ่าฝืนไม่ยอมหยุดรถให้เจ้าพนักงานตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากฝ่าฝืนโดยการทำลายสติ๊กเกอร์ ห้ามใช้ชั่วคราว หรือห้ามใช้เด็ดขาด ให้หลุด ฉีกขาด หรือไร้ประโยชน์จะต้องระวางโทษตามกฎหมายอาญาด้วยเช่นกัน
เราจะเห็นได้ว่าการควบคุมควันดำค่อนข้างจริงจังทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้วทางที่ดีถ้าหากเราไม่อยากมีปัญหาและเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้ เราก็ควรที่จะดูแลรถยนต์ของเราให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน ทั้งนี้ไม่ใช่แค่เพื่อลดมลพิษบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเซฟตัวเองจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากรถยนต์ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ขาดการดูแล
Read more..
• ผู้หญิงก็สามารถเปลี่ยนยางรถยนต์ได้ ไม่แพ้ผู้ชาย
• ประกันภัยโดรน ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง?
• เคยขับรถชนมาก่อน – จำเป็นต้องบอกบริษัทประกันเจ้าใหม่มั้ย?
• ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าบัตรประชาชนใบเดียว
• เปิดวาร์ป ! ตารางแข่งเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ถ่ายช่องไหน ? ติดตามดูอย่างไร ? ตามมา