ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไร ต่อที่ไหนได้บ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์ หรือที่เรารู้จัก การต่อทะเบียนรถยนต์ ถือเป็นกฎหมายที่คนมีรถยนต์ต้องมีเอาไว้ครอบครอง เพราะนี่ถือจะเป็นสิ่งที่ครอบคลุม ความเสียหายจากรถยนต์ที่เราขับขี่และบุคคลที่สาม ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์นั้นจะถูกบังคับให้ต่อและทำทุก ๆ ปี ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย โดยที่เราสามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน
การต่อภาษีรถยนต์นั้นจำเป็นต้องทำทุก ๆ ปี หากต่อภาษีล่าช้าก็อาจจะถูกปรับ และหากขาดการชำระติดต่อกัน 3 ปีรถยนต์ของเราจะถูกระงับการใช้ทะบียน เพราะการต่อภาษีรถยนต์นั้นต้องทำทุกปีห้ามขาดเด็ดขาด ยิ่งถ้าขาดจนถูกระงับการใช้ทะเบียนนั้นต้องยุ่งยากในการยื่นเรื่องขอทะเบียนใหม่ดังนั้นการเลือกต่อแบบปีต่อปีอย่าให้ขาดจะดีที่สุด
อัตราค่าต่อภาษีรถยนต์ ต้องจ่ายเท่าไร?
อัตราการจ่ายค่าต่อภาษีรถยนต์นั้น ราคารถแต่ละประเภทไม่เท่ากัน โดยแบ่งเป็นดังนี้
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ หรือ รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณอัตราค่าภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์
- 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท
- 601 – 1800 cc ราคา cc ละ 1.50 บาท
- เกิน 1800 cc ราคา cc ละ 4 บาท
และถ้ารถยนต์ของเรามีอายุเกินกว่า 6 ปี จะได้ลดภาษี 10% สำหรับ 7 ปีลด 20% สำหรับ 8 ปี 30% ตามลำดับ ซึ่งถ้าหากต่อภาษีล่าช้าก็จะโดนปรับ 1% ต่อเดือน
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว หรือ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ
- น้ำหนักรถขนาด 501-750 กก. เสียภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 751-1000 กก. เสียภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 1001-1250 กก. เสียภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 1251-1500 กก. เสียภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 1501-1750 กก. เสียภาษี 1050 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 1751-2000 กก. เสียภาษี 1350 บาท
- น้ำหนักรถขนาด 2001-2500 กก. เสียภาษี 1650 บาท
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ
- น้ำหนักน้อยกว่า 1800 กก. อัตราภาษี 1300 บาท
- น้ำหนักมากกว่า 1800 กก. อัตราภาษี 1600 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ สามารถไปต่อที่ไหนได้บ้าง?
ปกติแล้วนั้นเรามักจะไปต่อภาษีกันที่ กรมขนส่งทางบก ซึ่งหากใครที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปยังกรมการขนส่งก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ที่ทำการเอกชนหลายแห่งทั่วประเทศได้ อีกทั้งยังสามารถ ต่อวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและง่ายต่อผู้ที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์มากยิ่งขึ้น
สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
โดยรถที่สามารถต่อภาษีได้ คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
- รถแทรกเตอร์
- รถบดถนน
- รถพ่วง
เอกสารที่ใช้ต่อภาษี
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ที่ทำการไปรษณีย์
โดยรถที่สามารถต่อภาษีได้ คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
- รถแทรกเตอร์
- รถบดถนน
- รถพ่วง
เอกสารในการใช้ต่อภาษี
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ห้างสรรพสินค้า ในโครงการ “ช้อปให้พอแล้วต่อภาษี”
ซึ่งในห้างสรรพสินค้าเราสามารถต่อภาษีรถยนย์ในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
- ห้าง Big C เวลาเปิดทำการตั้งแต่ 9.00 น. –17.00 น. คลิกดูเพิ่มเติมได้ที่นี่>>
- เซ็นทรัลรามอินทรา เวลาเปิดทำการ 10.00 น. –17.00 น.
- พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เวลาเปิดทำการ 10.00 น. –17.00 น.
- เซ็นทรัลเวิลด์ เวลาเปิดทำการ 11.00 น. –18.00 น.
- ศูนย์การร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพรจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์-วันศุกร์ เวลาเปิดทำการ 8.30 น. –15.00 น.
โดยรถที่สามารถต่อภาษีได้ คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
เอกสารในการต่อภาษี
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา
- หลักฐานการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ.
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
- หนังสือรับรองการตรวจ และทดสอบเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง รับชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด
ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
โดยรถที่สามารถต่อภาษีได้ คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
เอกสารการต่อภาษี
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ถ้ามี
- หลักฐานการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ.
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
โดยรถที่สามารถต่อภาษีได้ คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
เงื่อนไขการต่อพ.ร.บ.
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิด 7 ปี
- หากเป็นมอเตอร์ไซค์ต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปี
- ขนส่งจะส่งใบเสร็จและป้าย ไปทางไปรษณีย์ ภายใน 10 วันนับการวันที่ชำระเงิน
- มีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่ง 40 บาท
และในตอนนี้ ทางกรมการขนส่งทางบก ก็ได้มีการขยายช่องทางในการรับชำระภาษีรถยนต์ เพื่อแก้ไขปัญหาให้เราไม่ต้องเดินทางกลับไปยังจังหวัดที่เราจะทะเบียน โดยที่ให้เราสามารถชำระภาษีได้ทั่วประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ dlte-serv.in.th เฉพาะรถที่ไม่ต้องทำการตรวจสภาพ ซึ่งเมื่อเราต่อภาษีเรียบร้อยแล้วนั้นก็ย่าลืมนำป้ายเหลี่ยมมาติดไว้ที่หน้ารถเพื่อแสดงว่ารถยนต์ของเราได้ทำการต่อภาษีมาแล้วเรียบร้อย เพราะหากไม่ติดจะถือว่าผิดกฎหมายในการไม่ติดป้ายพ.ร.บ.
อย่างไรก็ตามการต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้มีวิธีการหรือขึ้นตอนต่าง ๆ ที่ยุ่งยาก และใช้เวลาในการดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ไม่นานก็เสร็จเรียบร้อยอีกทั้งยังสามารถต่อล่วงหน้าได้ถึง3 เดือน เราจึงไม่ควรปล่อยให้ภาษีรถยนต์ของเราหมดอายุและเมื่อต่อภาษีรถยนต์แล้วนั้น อีกสิ่งที่สำคัญและต้องมีนั่นก็คือ “ประกันรถยนต์“ สัก1กรมธรรม์ที่จะสามารถคุ้มครองดูแลความปลอดภัยให้แก่เรารถยนต์ของเรารวมถึงความเสียหายต่าง ๆ แก่บุคคลภายนอกด้วย โดยหากใคร ที่ยังไม่แน่ใจว่าควรทำประกันที่ไหน เลือกประกันแบบไหนดีก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เปรียบเทียบประกันรถยนต์กันได้ง่าย ๆ แล้ว
READ MORE :
- ทำ พรบ. ออนไลน์ สะดวกและดีกว่าทำกับบริษัทประกันภัยจริงหรือ ?
- พรบ. อนุมัติฯ สภานายจ้าง หักเงินเดือนพนักงานคืน กยศ. ได้แล้ว
- ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจอะไรบ้าง แล้วทำไมต้องตรวจ?
- ทำไมต้องบวกเพิ่ม เมื่อต้องการซื้อรถ “สีขาวมุก”
- 7 ข้อ เพื่อเตรียมพร้อม ก่อนเลือกซื้อประกันรถยนต์