ตรวจสภาพรถยนต์ หรือ ตรอ. ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สวัสดีค่ะ วันนี้เว็บไซต์ Promotion.co.th ของเราก็มี เกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ มาฝากคนรักรถอีกเช่นเคย เชื่อว่าผู้ที่ขับขี่รถยนต์จะรู้ดีว่าในการขับขี่แต่ละครั้งนั้นการเตรียมความพร้อมของรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งรถยนต์เป็นพาหนะที่มีมูลค่าสูงด้วยแล้วนนั้นเราต้องหมั่นนดูแลและตรวจเช็ค โดยการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ นั้นไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจสภาพรถรถยนต์แบบปกติ หรือ เช็คสภาพรถยนต์ประจำปี ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อเป็นการเซฟตัวเองและผู้อื่นหากเราต้องใช้รถและถนนร่วมกับผู้อื่น
การตรวจสภาพรถยนต์ คือ อะไร
การตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี หรือ ตรวจสภาพรถยนต์ ตรอ. คือ การตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนเสียภาษีรถยนต์ โดยการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี ตรอ. นั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 รถยนต์จะต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีลักษณะ และ เครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
- ประเภทรถยนต์ที่ต้องตรวจเช็คสภาพรถยนต์
- รถยนต์ที่ในข่ายที่ต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเสียภาษีประจำปี
- รถตามกฏหมายการขนส่งทางบกทุกประเภท ที่ไม่จำกัดอายุการใช้งาน
ประเภทรถยนต์ตามกฏหมายดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง รถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
- รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถยนตืบรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
ตรวจสภาพรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง
การตรวจรถยนต์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปดังนี้
- รถยนต์ที่จดทะเบียนตามกฏหมายว่าด้วย การขนส่งทางบกทุกประเภท ต้องตรวจ ณ ที่สภานตรวจสอบรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือ หน่วนงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้เช่นเดียวกัน
- รถยนต์ที่จดทะเบียนว่าด้วยกฏหมายรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ ที่รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบนเท่านั้น
ข้อยกเว้นในการตรวจเช็คสภาพรถ คือ
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะต้องตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
- รถของส่วนราชการ เช่น บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูล คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ จะต้องตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือ หน่อยงานของกรมการขนส่งทางบก
- รถยนต์ที่มีการดัดแปรงสภาพ รถที่พ่นสีเปลี่ยนสีใหม่ มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ และ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ รถที่ขาดอายุเกิน 1 ปี ให้นำรถไปตราจสภาพยนต์ ประจำปี ณ หน่วยงานกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ตรวจสภาพรถยนต์ควรตรวจตอนไหน
การนำรถยนต์คันโปรดของเราเข้าตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีนั้น เจ้าของรถยนต์สามารถนำรถยนต์ไปตรวจสอบสภาพรถประจำปีก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะต้องทำการจ่ายค่าภาษี รถยนต์หรือก่อนที่จะหมดอายุ หากลืมตรวจสอบสภาพรถยนต์ หรือทำการล่าช้านั้นเราที่เป็นเจ้าของรถต้องเสียค่าปรับ พร้อมค่าตรวจสภาพรถยนต์ ประจำปี และค่าภาษีรถยนต์ประจำปี
การตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี ตรอ. มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
- รถจักรยานยนต์ มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 60 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
การตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี ตรอ. ใช้เอกสารอะไร
- เอกสารที่ใช้คือสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ อย่างเดียวเท่านั้น พร้อมรถยนต์ของเรา
หากตรวจแล้วไม่ผ่านเกณฑ์
หากเรานำรถไปตรวจสภาพเรียบร้อยแล้ว เมื่อผ่านเกณฑ์ สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ก็จะออกหนังสือรับรองสภาพรถยนต์ตามที่กรมขนส่งทางบกได้กำหนด แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์ สถานที่ตรวจสภาพรถก็จะแจ้งว่าเราต้องแก้สิ่งไหนบ้าง และให้เรานำรถมาตรวจสภาพรถยนต์ใหม่อีกครั้ง ถ้าหากนำรถไปตรวจสอบกับสภานที่ตรวจสภาพเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าบริการเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น แต่หากเกิน 15 วัน หรือขอไปตรวจที่อื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน
รู้แบบนี้แล้วก็ อย่าลืมนำรถยนต์ของเราตรวจเช็คสภาพรถยนต์กัน เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง แล้วนั้นยังเป็นการเช็คสภาพรถตัวเองอีกด้วยว่ามีความเสียหาย และรถยนต์ของเราพร้อมวิ่ง แข็งแรง อย่างรถทั่วๆไปหรือไม่ การเช็คสภาพรถยนต์บ่อย ๆ นั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อย ๆ ก็ควรปีละครั้ง หรือไม่ก็ทุกครั้งก่อนออกเดินทางไกลก็ดีไม่น้อยเลย เพราะเรานั้นยังต้องใช้รถยนต์ในการเป็นพาหนะในการเดินทางซะส่วนใหญ่ หากไม่ตรวจสภาพรถยนต์เราก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ารถยนต์ของเราเกิดอาการผิดปกติบ้าง
และสำหรับคนที่ชื่นชอบ การตกแต่งรถยนต์ สถานตรวจสภาพรถยนต์ของเอกชน ไม่สามารถรับตรวจสภาพรถยต์ เพราะถือเป็นรถที่ดัดแปลงสภาพที่ผิดไปจากที่ได้ลงทะเบียนไว้ เช่น รถที่เปลี่ยนสี หรือเปลี่ยนตัวรถ เป็นต้น
READ MORE :
- 10 ข้อดีของการทำประกันรถยนต์ออนไลน์
- หน้าฝน ทำความสะอาดรถยนต์ แบบไหนในราคาประหยัด
- ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “รถยนต์” และ วิธีป้องกัน
- ค่า Excess คืออะไร? คนทำประกันรถยนต์ต้องควรรู้