เกณฑ์การส่งผู้ป่วยโควิดรักษาในโรงพยาบาล พิจารณาจากอะไร

ข้อกำหนดผู้ป่วยโควิดที่ต้องรักษาตัวใน รพ. มีอะไรบ้าง

จากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน พบมีผู้ติดเชื้อต่อวันทะลุสองหมื่นราย ซึ่งถือเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขก็ว่าได้ เพราะหากปล่อยให้การระบาดรุนแรงแบบนี้ไปเรื่อยจะส่งผลให้ระบบสาธารณสุขล่มโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เพียงพอ

พูดง่าย ๆ คือขาดเตียงรักษานั่นเอง ทำให้หลายฝ่ายกังวลใจ เกี่ยวกับเรื่องนี้ทาง สธ. มีหลักพิจารณาส่งตัวผู้ป่วยโควิดเข้ารับการรักษาตัวใน รพ.อย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบไปพร้อม ๆ กันในหัวข้อ เกณฑ์การส่งผู้ป่วยโควิดรักษาในโรงพยาบาล พิจารณาจากอะไร

สธ.แบ่งระดับอาการป่วยโควิดดังนี้

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งระดับอาการป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้สามารถดูแลรักษาได้อย่างเป็นระบบ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น
2. ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลือง มีอาการไม่รุนแรง เช่น เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีโรคแทรกซ้อนที่อาจเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงขึ้น
3. ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีแดง มีอาการรุนแรง เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 96%

สำหรับเชื้อไวรัสโควิดที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันเป็นเชื้อโอไมครอนที่มีอาการไม่รุนแรงแม้ว่าจะติดต่อกันง่ายก็ตาม ประกอบการเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนต่างได้รับวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันครบ 2 เข็มแล้วเป็นส่วนใหญ่ บวกกับหลายคนได้รับการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แล้วด้วยซ้ำทำให้อาการที่แสดงไม่หนักหนาสาหัสและส่วนมากเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวซึ่งโดยหลักการแล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้จะให้พักรักษาตัวเองอยู่ที่บ้านในระบบ (Home Isolation) ซึ่งตามเกณฑ์พิจารณามีดังนี้

เกณฑ์การรักษาในระบบ (Home Isolation)

  • เป็นผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย (กลุ่มสีเขียว)
  • มีสุขภาพแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่รักษา และสามารถควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือ เบาหวานที่คุมไม่ได้
  • อายุน้อยกว่า 75 ปี
  • ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตนเอง

ความแตกต่างระหว่างกักตัวอยู่บ้าน กับ Home Isolation

เกณฑ์การพิจารณาให้ใครต้องกักตัวอยู่บ้านหรือเข้าสู่ระบบ Home Isolation มีความแตกต่างกันตรงที่ การกักตัวอยู่บ้าน เป็นผู้มีความเสี่ยงได้รับเชื้อ จึงต้องงดทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ ส่วนผู้ที่เข้าสู่ระบบ Home Isolation คือผู้ที่ยืนยันว่าติดเชื้อแล้วแต่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถแยกกักตัวรักษาที่บ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

เกณฑ์การประเมิณส่งผู้ป่วยโควิดรักษาตัวใน รพ.
เกณฑ์การประเมิณส่งผู้ป่วยโควิดรักษาตัวใน รพ.

ข้อปฎิบัติเมื่ออยู่ในระบบ Home Isolation

1. ห้ามออกจากที่พักและ ห้ามคนมาเยี่ยมที่บ้าน
2. เว้นระยะห่างทุกคน 2 เมตร
3. เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัว
4. ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
5. ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
6. ล้างมือด้วยสบู่ เจลแอลกอฮอล์ให้บ่อย
7. แยกซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้า

ได้ทราบกันไปแล้วว่าระบบ Home Isolation กับ การแยกกักตัวอยู่บ้าน มีความแตกต่างกันอย่างไร และวิธีปฎิบัติตัวเมื่ออยู่ในระบบ Home Isolation ต้องทำอย่างไร ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา

ซึ่งทีมแพทย์ก็จะมีการประเมินอาการทางวิดีโอคอลวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับให้ยาตามอาการ เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือ ฟาวิพิราเวียร์ แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นแพทย์อาจพิจารณาส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อยังโรงพยาบาลซึ่งมีหลักพิจารณาดังต่อไปนี้

เกณฑ์การประเมิณส่งผู้ป่วยโควิดรักษาตัวใน รพ.

1. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. มีอาการหายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่
3. ระดับ Oxygen Saturation น้อยกว่า 94%
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง

และท้้งหมดนี้ก็คือ เกณฑ์การส่งผู้ป่วยโควิดรักษาในโรงพยาบาล พิจารณาจากอะไร รู้ไว้สำหรับใครที่รู้ตนเองว่ามีความเสี่ยงได้รับเชื้อ หรือมีคนใกล้ชิดในครอบครัวที่มีโรคประจำตัวที่หากติดเชื้อแล้วมีโอกาสสูงที่อาการจะรุนแรง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประเมิณสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องในอนาคต

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

Previous articleรวมไอเดียทำของขวัญให้แฟนผู้ชาย บอกรักง่าย ๆ พิเศษไม่เหมือนใคร
Next articleไขคำตอบ ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่