เมื่อเกิดโรคระบาด พบโรคประหลาด ต้องส่งผู้ป่วยไปที่ไหน?
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หากคุณได้ดูละครเรื่อง ทองเอกหมอยาท่าโฉลง จะพบว่าการรักษาสมัยก่อนนั้นยากกว่าสมัยนี้มาก และบุคลากรทางการแพทย์เสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วยสูงมาก เนื่องจากควบคุมการระบาดของโรคยากกว่าทุกวันนี้ และกระบวนการฆ่าเชื้อก็ทำได้ยาก รวมถึงการกักตัวผู้ป่วย และการดูแลในสถานพยาบาล ก็ทำได้ไม่เพียงพอ
ประวัติของสถาบันบำราศนราดูร
ยกตัวอย่างเช่นการระบาดของโรคอหิวาห์หนัก ๆ หลายครั้งในช่วงรัตนโกสินทร์ที่มีบันทึกไว้ โดยนายแพทย์ Samuel John Smith ที่กล่าวถึงโรคอหิวาห์ ที่เข้ามาแพร่ในสยาม สมัยรัชกาลที่ 2 ราวปี พ.ศ. 2362 ซึ่งมาจากเกาะปีนัง และมาจากหัวเมืองชายทะเล มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งยังเป็นคำติดปากของชาวบ้านเรียกกันว่า ตายห่า ซึ่งหมายถึงผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากโรคอหิวาห์ จนไม่มีที่เก็บศพ ต้องวางไว้และมีแร้งกามากินอย่างควบคุมไม่ได้ และในรัชสมัย รัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 5 ก็มีโรคนี้อุบัติซ้ำอีกครั้ง
ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย ก็เริ่มมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากขึ้น ในประเทศไทยสร้างโรงพยาบาลครั้งแรกก็คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลจุฬา โดยการดูแลของสภากาชาด แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับการดูแลผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งเราพบโรคระบาดร้ายแรงจากเมืองต่าง ๆ และต้องการรักษาอย่างรัดกุม
ในช่วงที่การแพทย์เจริญมากแล้ว ไทยเราเริ่มรู้จักสร้างสถานที่ป้องกันและกักกันโรคขึ้นมา เพื่อไม่ให้โรคที่ระบาดอยู่โดยรอบกรุงเทพมหานครนั้นกระจายเข้ามาในเมือง หรือแพร่ออกเป็นวงกว้าง โดยเมื่อมีการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลในย่านฝั่งนนทบุรี ได้มีการสร้างสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ยกย่องรัฐมนตรีสาธารณสุขในยุคหนึ่งที่จัดการโรคอหิวาห์ได้รัดกุม รวดเร็ว ควบคุมได้ และปัจจุบันนี้ สถาบันบำราศนราดูรก็สามารถจัดการกับโรคระบาด และโรคร้ายแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- โรคเอดส์
- โรคซาร์ส
- โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ
- และอื่น ๆ
อย่างโรคติดต่อร้ายแรงที่เคยเป็นโรคที่สังคมไม่โอเค อาทิ โรคเรื้อน โรคคุดทะราด ที่มีตุ่มคุดนูนตามลำตัว ก็ได้รับการรักษาหายหากได้รับการกักกันดูแลจากแพทย์ที่สถาบันบำราศนราดูร และป้องกันไม่ให้ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายด้ววิธีการแพทย์สมัยใหม่
การเข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร
ภายในสถาบันบำราศนราดูรมีบริการรักษาและดูแลผู้ป่วยมากมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อร้ายแรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากคุณสงสัยว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคติดต่อจากต่างประเทศ หรือต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ ก็ขอเข้ารับการรักษาได้ จองคิวออนไลน์ได้ด้วย
>>> ทางลัดไปจองคิวออนไลน์สถาบันบำราศนราดูร
โดยสถาบันบำราศนราดูร แบ่งออกเป็นกลุ่มงานต่าง ๆ ดังนี้
- กลุ่มงานตรวจสุขภาพ
- กลุ่มงานอายุรกรรม
- กลุ่มงานศัลยกรรม
- กลุ่มงานนรีเวชกรรม
- กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
- กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก
- กลุ่มงานจักษุกรรม
- กลุ่มงานรังสีวิทยา
- กลุ่มงานทันตกรรม
- กลุ่มงานเภสัชกรรม
- กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา
- กลุ่มงานกายภาพบำบัด
- หน่วยงานบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน
- กลุ่มปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์และอ้างอิงด้านโรคติดเชื้อ
- หน่วยงานคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
- และอื่น ๆ
ห้องพักในสถาบันบำราศนราดูร
ซึ่งหากต้องมีการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากโรคระบาดร้ายแรงที่ตรวจพบตามสนามบิน หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็จะมีการพาตัวมาส่งเพื่อกักตัวที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งภายในสถาบัน จะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และพยาบาลอย่างสะดวก และมั่นใจว่าคุณหมอจะดูแลคุณอย่างดีที่สุด แม้ว่าภาพการพาตัวไปรักษาจะดูน่ากลัวไปบ้าง แต่เป็นการปฏิบัติตามหลักการจัดการโรคระบาดอันตราย ที่ใช้กันทั่วโลก แต่หากเป็นโรคทั่ว ๆ ไป ก็จะไม่ได้ส่งตัวเข้มข้นขนาดนี้
ช่วยเหลือแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ที่สถาบันบำราศ ฯ ได้อย่างไร?
หากคุณมีความรักที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ต้องการบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แก่สถาบันบำราศนราดูร ก็สามารถทำได้ด้วยการบริจาคผ่าน QR Code ด้านล่างนี้ เพื่อให้ทางสถาบัน ได้นำไปจัดการค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยและซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะในภาวะที่มีโรคระบาดแบบนี้
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านที่สงสัยว่าสถานกักกันที่รักษาผู้ป่วยจากโรคระบาดนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และเนื่องด้วยสถาบันบำราศนราดูรรับดูแลผู้ป่วยได้เพียง 300 เตียงเท่านั้น หากมีจำนวนผู้ที่ต้องรักษาเพิ่มขึ้นก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงตามความพร้อมในการรักษา เช่น สถาบันโรคทรวงอก เป็นต้น ซึ่งสามารถสอบถามหรือติดต่อกับทางสถาบันบำราศนราดูรในข้อสงสัยต่าง ๆ ได้จากช่องทางด้านล่างนี้
ติดต่อสถาบันบำราศนราดูร
ที่อยู่ : 38 หมู่ 4 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02-590-3519, ปรึกษา 02-590-3737, จิตวิทยา 02-590-3508
อีเมล : csg2550@gmail.com
ที่มา :
- https://www.dailynews.co.th/article/636827
- https://www.hfocus.org/content/2018/03/15577
- https://www.thairath.co.th/gallery/11079