ไขกระดูกบกพร่องเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน รักษาได้หรือไม่
เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่คนไทยยังไม่คอยรู้จักอย่าง “โรคไขกระดูกฝ่อ” ว่า พบผู้ป่วยในไทยอัตราการเกิด 4 รายต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี พร้อมกับย้ำว่าโรคนี้รุนแรงถึงขั้นทำให้หัวใจล้มเหลวได้
แม้โรคไขกระดูกฝ่อนี้จะไม่รู้สาเหตุของการเกิดโรคที่แน่นอน แต่สามารถรักษาได้ แนะนำประชาชนควรตรวจสุขภาพประจำปีและหมั่นสังเกตหากพบความผิดปกติของร่างกาย เช่น ตัวซีด มีจุดเลือดออก หอบเหนื่อยง่าย ควรรีบมาพบแพทย์
โรคไขกระดูกฝ่อ คือ ภาวะที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาโลหิตจาง เลือดออก และติดเชื้อโรคได้ง่ายเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำ ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-25 ปี และมากกว่า 60 ปี โดยเพศชายและหญิงพบในจำนวนเท่า ๆ กัน
ไขกระดูก จะอยู่ในโพรงกระดูกคอยทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายตั้งแต่เม็ดเลือดแดง ขาว และเกล็ดเลือด พูดง่าย ๆ ไขกระดูก เปรียบได้กับภูมิคุ้มกันของร่างกายนั่นเอง
แม้ว่าโรคไขกระดูกฝ่อ จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยด้านอื่นในภายหลัง แต่พอสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากพันธุกรรม รวมถึงสาเหตุปัจจัยภายหลัง เช่น ป่วยไวรัสตับอักเสบ การรับรังสีในขนาดสูง ยาเคมีบำบัด สารเบนซิน ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ข้ออักเสบ ยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
ลักษณะอาการ
- มีอาการซีด อ่อนเพลีย หอบเหนื่อยง่าย
- มีจุดเลือดออกตามตัวทั่วร่างกาย
- เลือดออกในช่องปาก เลือดกำเดา
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
- เพศหญิงอาจมีประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ติดเชื้อโดยเฉพาะแบคทีเรียและเชื้อราง่าย
วิธีการรักษาผู้ป่วย
รักษาโดยการให้เลือด
การให้เม็ดเลือดแดง กรณีผู้ป่วยตัวซีด เหนื่อยจากภาวะโลหิตจาง
การให้เกล็ดเลือด (ตามอาการผู้ป่วย)
รักษาโรคไขกระดูกฝ่อโดยตรง
ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
การใช้ยากดภูมิคุ้มกันกับผู้ป่วยที่โรครุนแรงแต่ไม่สามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
เป็นที่น่าสังเกตว่ายุคสมัยนี้การเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อคุ้นหูมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าสมัยก่อน ปัจจัยคงหนีไม่พ้นสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากมายที่ทำร้ายทำลายสุขภาพ ก่อเกิดการสะสมเป็นระยะเวลานานจนเกิดโรคร้ายในที่สุด
ทางออกที่ดีคือควรหมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายร่างกาย เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ รับประทานของหวานจัด เค็มจัด มันจัด รวมถึงพยายามพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยปกป้องร่างกายให้รอดพ้นจากการเจ็บป่วยได้มากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามแม้เราจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหน แต่ไม่มีใครหนีการเจ็บไข้ได้ป่วยไปได้ตลอด ทางออกที่ดีที่สุดคือการทำประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้สักกรมธรรม์ เพื่อดูแลเรายามฉุกเฉิน อย่างน้อยในวันร้าย ๆ ยังอุ่นใจได้ในเรื่องค่ารักษา ค่าแพทย์ ค่าห้อง อีกทั้งยังอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สอบถามรายละเอียดประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ฟรีที่หมายเลข 1737 หรือ 02-119-8888 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
อ่านเพิ่มเติม :
- 14 โรคที่ประกันสังคมไม่จ่าย (ไม่ครอบคลุมค่ารักษา)
- ประกันสุขภาพแห่งชาติ คืออะไร ?
- สปสช. เห็นชอบ ขยายสิทธิบัตรทอง ผู้ป่วย ธาลัสซีเมีย
- ประกันสุขภาพครอบครัว คืออะไร เลือกทำแบบไหนได้บ้าง