มีอาการอักเสบเรื้อรัง ต้องหมั่นเช็คอาการ เพราะอาจป่วยเป็นโรค SLE
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
กรมการแพทย์ แนะ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) อันตรายเตือนประชาชน หากพบความผิดปกติมี ผื่น ปวดข้อ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยให้อาการรุนแรง หรือกำเริบหนัก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือที่เรารู้จักกันคือ “โรคพุ่มพวง” เกิดจากภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง แทนที่จะต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบขึ้นตามร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำตัว แขนขา เป็นต้น อาการของโรคจะเป็น ๆ หาย ๆ อาจมีการกำเริบเป็นระยะและจะพบในเพศหญิงมากกว่าชาย
ส่วนสาเหตุที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่หลักฐานทางการวิจัยพบว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมส่งเสริมร่วมด้วย ได้แก่ สารเคมี การติดเชื้อ ใช้ยาบางตัว แพ้แสงแดด
อาการของโรค
โรคภูมิแพ้ตัวเอง อาการของโรคจะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เม็ดเลือด รวมถึง ไต บางรายส่งผลไม่รุนแรงอาการที่เกิดขึ้นเพียงมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว แขนขา (พบได้บ่อย) แผลในปาก แต่ในบางรายก็แสดงอาการรุนแรง เช่น ชัก เยื่อหุ้มปอด หัวใจ สมอง อักเสบ, ไตอักเสบ, เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือ ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี้
อาการบ่งชี้มีอะไรบ้าง ?
1. มีผื่นบนใบหน้ากระจายเป็นรูปผีเสื้อ
2. ผื่นผิวหนังชนิดดีสคอยด์ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ใบหู ลำตัว
3. อาการแพ้แดด โดยมีผื่นผิวหนังอย่างรุนแรง
4. มีแผลในช่องปาก
5. บริเวณข้อต่อเกิดการอักเสบ
6. ไตอักเสบ
7. มีอาการชัก
8. เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
9. เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ
10. ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี้
11. ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ หรือตรวจเลือดพบผลบวกปลอมต่อการตรวจซิฟิลิส
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ตัวเอง จะอาศัยประวัติการเจ็บป่วยและผลเลือด โดยมีการวินิฉัยความผิดปกติอย่างน้อย 4 ใน 11 ข้อข้างต้นร่วมด้วย
โรคภูมิแพ้ตัวเอง รักษาให้หายขาดได้ไหม
ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุดได้และที่สำคัญโรคนี้ใช้เวลารักษายาวนาน ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตามแพทย์นัดหมาย
วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ตัวเอง
แพทย์จะรักษาตามอาการที่ป่วย โดยวิธีการรับยา เช่น
- ใช้ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อย่าง ยานาพรอกเซน, ไอบูโพรเฟน, ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
- ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาอะซาไธโอพรีน, ยาไมโคฟีโนเลต และยาบีลิมูแมบ
- ยาต้านมาลาเรีย
จะเห็นได้ว่าสมัยนี้มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นมากมายหลายโรคยังไม่มียารักษา ดังนั้นการหมั่นดูแลสุขภาพเป็นประจำเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องใส่ใจ ควรหาเวลาตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนี้การทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ก็สำคัญ เพื่อให้คุณได้อุ่นใจก่อนภัยร้ายมาถึง หมดกังวลเรื่องค่ารักษา ค่าผ่าตัด ค่าห้อง และมั่นใจได้ว่าจะหายจากโรคโดยเร็วเนื่องจากอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง
สอบถามรายละเอียดประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1737 (24 ชั่วโมง) หรือ โทร.02-119-8888
อ่านเพิ่มเติม :
- ถ้ามีประกันสุขภาพแล้ว ควรทำประกันอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ ?
- ประกันสุขภาพครอบครัว คืออะไร เลือกทำแบบไหนได้บ้าง
- ทำความรู้จัก โรคหัวใจ หากเป็นแล้วทำประกันได้ไหม?
- 6 พฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเป็น “โรคไต”