เจ็บป่วยฉุกเฉินก็มีสิทธิรักษา
สวัสดีค่ะ เรื่องเจ็บป่วย คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง โดยเฉพาะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะไม่มีอาการบ่งบอกมาก่อน ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากเจ็บป่วยมาก่อนหรือเกิดอุบัติเหตุ และเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลายคนก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทั้งผู้เจ็บป่วยและผู้คนรอบข้าง และหลายคนก็ต้องส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ได้ไหม ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาบอกถึงการใช้สิทธิการรักษาที่ทุกคนสามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล โดยสามารถใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง มาดูรายละเอียดเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองกันเลยค่ะ
เจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำอย่างไร ใช้สิทธิรักษาอะไรได้บ้าง?
1 ใช้สิทธิ์ UCEP เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
สิทธิ์ UCEP คือ สิทธิการรักษาที่ทุกคนจะได้สิทธิ์เมื่อมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน และไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาใด ๆ ที่โรงพยาบาลนั้น ก็เข้ารับการรักษาได้ โดยจะคุ้มครองสิทธิการรักษาภายใน 72 ชั่วโมง UCEP ย่อมาจาก Universal Coverage Emergency Patients ซึ่งแปลเป็นไทยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ โดยอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สามารถใช้สิทธินี้ได้ มีดังนี้
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถหายใจเองได้
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลันและมีอาการรุนแรง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือต่อเนื่องไม่หยุด
- มีอาการอื่นร่วมด้วย ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมอง ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
- ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉินในโปรแกรม Emergency Pre-Authorize
- ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.)ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล
- กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที โดยกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล จนถึงเวลาที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย ภายใน 72 ชั่วโมง
- หากไม่เข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยสามารถขอย้ายโรงพยาบาลตามสิทธิหรือเข้ารับการรักษาต่อได้ โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
2 ใช้สิทธิประกันสังคม เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรได้ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งถึงบัตรรับรองสิทธิพยาบาล ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ไม่เกิน 72 ชั่วโมง มีวิธีการเบิกดังนี้
- สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
- ขอใบรับรองแพทย์ที่ระบุสาเหตุ/อาการของการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน
- ขอใบเสร็จรับเงินที่แสดงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยเบิกได้กับสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน แม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลทั้งสิทธิ UCEP และ สิทธิประกันสังคม แต่เพื่อการได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น แนะนำว่าควรทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพราะจะช่วยคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลที่มากขึ้น ทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ค่าห้องและค่าอาอาหาร ค่าบริการ ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต และอื่น ๆ ตามแต่ละบริษัทประกันระบุในกรมธรรม์ ซึ่งสร้างความอุ่นใจชีวิตให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
Read more…
- ประกันสุขภาพมนุษย์เงินเดือน เบี้ยเริ่มต้นแค่ 20 บาท!
- มาดูเงื่อนไขการทำประกันสุขภาพเพื่อลดหย่อนภาษี 2561 กันเถอะ !
- ทำประกันสุขภาพตัวไหนดี คุ้มที่สุด รวมความเห็นจาก Pantip
- ประกันภัยโรคมะเร็ง หมดห่วง คุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาท กับ TQM
- TQM เป็นตัวแทนประกันชีวิต จากบริษัทใดมาแล้วบ้าง