เพิ่มผลประโยชน์ บัตรทอง ให้กับ ผู้ป่วย Thalassemia
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ก็คือ โรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน โปรตีนสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น ถูกทำลายได้ง่าย ทำให้การลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพด้อยลง
ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถสร้างโปรตีนโกลบินได้ตามปกติทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาณที่น้อย หรือมีรูปร่างผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการซีดเรื้อรัง เหนื่อยง่าย ตัวเหลืองตาเหลือง ตับม้ามโต บางรายที่เป็นมากต้องรับเลือดเป็นประจำ
ในปัจจุบันแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการซีดตั้งแต่อายุยังน้อยตั้งแต่ขวบปีแรก ตับม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง และมีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 7 กรัม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาโดยการรับเลือดเป็นประจำเพื่อแก้อาการภาวะซีด
2. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดไม่พึ่งพาเลือด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการซีดไม่มาก ตับม้ามโตไม่มาก และมีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 7-10 กรัม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลรักษาและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การรักษาโรคธาลัสซีเมีย
ในปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากผู้อื่น (คนที่มีลักษณะของเม็ดเลือดขาวเหมือนกับผู้ป่วย) แต่ทว่าการรักษาด้วยวิธีนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาและเสียชีวิตได้ การรักษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการรักษาโรคตามอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า เช่น การให้เลือด การทำคีเลชั่นเพื่อกำจัดธาตุเหล็กเกินขนาด
ข่าวดี สปสช. เห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิบัตรทองให้กับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกรณีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคอื่น ๆ โดยจากเดิมจำกัดสิทธิไว้เพียงเฉพาะผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงเพียงอย่างเดียว ทั้งหมดจะเริ่มดำเนินการใช้ในปีงบประมาณ 2563
สิทธิการรักษาในเงื่อนไขใหม่ครอบคลุมด้านใดบ้าง
ปรับอัตราและเงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการครอบคลุมระยะการรักษาตั้งแต่ “ก่อน” รับการปลูกถ่าย “ระหว่าง” การปลูกถ่าย และ “หลัง” การปลูกถ่าย ซึ่งได้กำหนดอัตราชดเชยแบบเหมาจ่าย 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง รายละ 750,000 บาท
กรณีที่ 2 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค ทั้งในกรณีที่ผู้บริจาคเป็นญาติพี่น้องและไม่ใช่ญาติพี่น้อง รายละ 1,300,000 บาท
ส่วนเหตุผลในการปรับอัตราและเงื่อนไขครั้งนี้ ทาง สปสช. แจ้งว่าต้องการให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น เพราะในอดีตผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการเข้าถึงการรักษาในส่วนนี้ได้เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 1 ล้านบาท
ในปี 2563 ตั้งเป้าหมายการรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวน 110 ราย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงให้กับผู้ป่วย สำหรับหน่วยบริการที่ให้บริการการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มี 10 โรงพยาบาล ดังนี้
1.โรงพยาบาลรามาธิบดี
2.โรงพยาบาลศิริราช
3.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
5.โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
6.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
7.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
8.โรงพยาบาลศรีนครินทร์
9.โรงพยาบาลหาดใหญ่
10.โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมทำให้ยากต่อการรักษาให้หายขาด การป้องกันที่ดีที่สุดควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคในภายภาคหน้า นอกจากนี้การทำประกันสุขภาพเพื่อรองรับในยามเจ็บป่วยก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน
โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรม อาทิ มะเร็ง ตาบอดสี โลหิตจาง รวมถึงธาลัสซีเมีย ซึ่งมีข้อจำกัดว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อตรวจพบโรคหลังจากที่ทำประกันแล้ว หากพบก่อน ประกันจะไม่รับทำ
หนึ่งในบริษัทประกันภัยที่ได้มาตรฐาน มากด้วยผลิตภัณฑ์ทั้งประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันการเดินทาง ประกันบ้านที่อยู่อาศัย นั่นคือ TQM ประกันภัย โบรคเกอร์บริษัทประกันชั้นนำกว่า 40 บริษัท มากด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ ให้ความคุ้มครองที่มาก กับเบี้ยประกันเพียงเล็กน้อย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1737 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือโทร. 02-119-8888
ที่มาจากเรื่อง : ธาลัสซีเมีย – อาการ, สาเหตุ, การรักษา (https://www.pobpad.com/ธาลัสซีเมีย)
อ่านเพิ่มเติม :
- ถ้ามีประกันสุขภาพแล้ว ควรทำประกันอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ ?
- คนมีประกันสังคมเฮ! ตรวจสุขภาพฟรีปีละ 1 ครั้ง
- ลงทะเบียนสิทธิบัตรทองในกรุงเทพที่ไหนได้บ้าง?