เช็คสุขภาพตาในแต่ละช่วงวัย
ดวงตามักเป็นอวัยวะที่เรามักมองข้ามที่จะดูแลและใส่ใจอย่างถูกวิธี ทั้งๆที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต เราทุกคนต่างก็ใช้ดวงตาในแต่ละวันอย่างเต็มที่ทั้งกับเรื่องงานรวมถึงไลฟ์สไตล์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ ต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพดวงตามีความสำคัญ เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นเสียแต่เนิ่นๆ
กลุ่มคนที่ควรตรวจเช็คสายตาได้แก่ใครบ้าง ?
1. เด็กแรกเกิด – 5 ปี
เป็นการตรวจสภาวะตาเข และภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งหากตรวจพบในวัยนี้ การรักษาจะได้ผลดีที่สุด
2. เด็กอายุ 6-20 ปี
เด็กในวัยนี้จะมีภาวะทางสายตา เช่น สั้น ยาว หรือเอียง ซึ่งควรได้รับการแก้ไข เพราะอยู่ในช่วงวัยเรียนถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
3. ช่วงอายุ 20-29 ปี
ในทางการแพทย์วัยนี้ไม่มีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับดวงตามากนักเว้นแต่ประกอบอาชีพเสี่ยงอันตราย
4. ช่วงอายุ 30-39 ปี
เป็นช่วงวัยที่สายตาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงควรได้รับการตรวจปีละ 2 ครั้ง
5. ช่วงอายุ 40-65 ปี
เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ที่มักพบโรคตาได้บ่อยควรเข้ารับการตรวจดวงตา 1-2 ปีต่อครั้ง
6. อายุ 65 ปีขึ้นไป
มักมีโรคตาที่เสื่อมตามวัย ควรตรวจตาปีละครั้ง
นอกจากนี้ในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมควรเข้ารับการตรวจโดยคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ได้แก่ บุคคล 5 กลุ่มดังต่อไปนี้
- เด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม
- ผู้มีปัจจัยเสี่ยงโรคต้อหิน มีประวัติต้อหินในครอบครัว สายตาสั้นมาก
- ผู้เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อจอตาฉีกขาดและหลุดลอก อาทิ เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
- ผู้ป่วยโรคบางชนิดที่ต้องใช้ยาจำพวก ยารักษาวัณโรค ยารักษาโรคข้อ เป็นต้น
วัยใดบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจดวงตา ?
เช็คสุขภาพตา ในแต่ละช่วงวัย
ดวงตามักเป็นอวัยวะที่เรามักมองข้ามที่จะดูแลและใส่ใจอย่างถูกวิธี ทั้งๆที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต เราทุกคนต่างก็ใช้ดวงตาในแต่ละวันอย่างเต็มที่ทั้งกับเรื่องงานรวมถึงไลฟ์สไตล์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ ต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพดวงตามีความสำคัญ เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นเสียแต่เนิ่นๆ
กลุ่มคนที่ควรตรวจเช็คสายตาได้แก่ใครบ้าง ?
1. เด็กแรกเกิด – 5 ปี
เป็นการตรวจสภาวะตาเข และภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งหากตรวจพบในวัยนี้ การรักษาจะได้ผลดีที่สุด
2. เด็กอายุ 6-20 ปี
เด็กในวัยนี้จะมีภาวะทางสายตา เช่น สั้น ยาว หรือเอียง ซึ่งควรได้รับการแก้ไข เพราะอยู่ในช่วงวัยเรียนถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
3. ช่วงอายุ 20-29 ปี
ในทางการแพทย์วัยนี้ไม่มีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับดวงตามากนักเว้นแต่ประกอบอาชีพเสี่ยงอันตราย
4. ช่วงอายุ 30-39 ปี
เป็นช่วงวัยที่สายตาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงควรได้รับการตรวจปีละ 2 ครั้ง
5. ช่วงอายุ 40-65 ปี
เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ที่มักพบโรคตาได้บ่อยควรเข้ารับการตรวจดวงตา 1-2 ปีต่อครั้ง
6. อายุ 65 ปีขึ้นไป
มักมีโรคตาที่เสื่อมตามวัย ควรตรวจตาปีละครั้ง
นอกจากนี้ในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมควรเข้ารับการตรวจโดยคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ได้แก่ บุคคล 5 กลุ่มดังต่อไปนี้
- เด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม
- ผู้มีปัจจัยเสี่ยงโรคต้อหิน มีประวัติต้อหินในครอบครัว สายตาสั้นมาก
- ผู้เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อจอตาฉีกขาดและหลุดลอก อาทิ เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
- ผู้ป่วยโรคบางชนิดที่ต้องใช้ยาจำพวก ยารักษาวัณโรค ยารักษาโรคข้อ เป็นต้น
ดวงตาถือเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย สายตาที่ปกติทำให้การดำเนินชีวิตราบรื่น มีชีวิตที่เป็นสุข สุขภาพจิตที่ดี ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว โรคตาในบางครั้งไม่แสดงอาการออกมาจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเช็คเป็นระยะ ๆ แม้จะยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม
สำหรับโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อกระจก ต้อลม หรือต้อเนื้อ อยู่ในกลุ่มโรคยกเว้นความคุ้มครองที่อยู่ในเงื่อนไขหรือที่เรียกว่า ระยะเวลารอคอย เท่ากับการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตามีความเสี่ยงสูงที่ประกันสุขภาพจะไม่รับคุ้มครอง ดังนั้นการรักษาดวงตาอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถึงอย่างไรการทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ดี
เพราะอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การมีหลักประกันเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยการขาดรายได้ ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปได้ตามปกติ ชีวิตครอบครัวไม่มีสะดุดด้วยปัญหาทางการเงิน และที่สำคัญคุณสามารถอุ่นใจได้ว่าจะอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ดีที่สุดนั่นเอง
สอบถามผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ฟรีที่ สายด่วน 1737 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือโทร. 02-119-8888
อ่านเพิ่มเติม :
- ต้อลม อันตรายแค่ไหน เป็นเฉพาะผู้สูงวัยเท่านั้นจริงหรือไม่ ?
- รู้ทันปัญหาสุขภาพตาในเด็กยุคดิจิทัล
- ต้อกระจก โรคทางสายตา รักษาประกันสังคมได้หรือไม่ ?