เริ่มต้นทำประกันชีวิตต้องทำอย่างไร?
ครั้งหนึ่งหากคุณมีโอกาสที่จะเลือกทำประกันชีวิตให้กับตัวเอง เพื่อเป็นการวางแผนระยะยาวป้องกันความเสี่ยงการเสียเงินกับค่ารักษาพยาบาลในอนาคต แต่ก็ยังสับสนไม่รู้ว่าจะเลือกประกันแบบไหนที่เหมาะกับคุณดี รวมถึงเวลาติดต่อกับตัวแทนประกันก็มักจะได้รับข้อเสนอให้ส่งเบี้ยเกินความจำเป็น ซึ่งบางทีคุณก็อาจจะไม่ได้รับการดูแลที่คาดหวังไว้จากตัวแทนหรือจากบริษัทประกัน ก่อนที่จะไปทำประกันชีวิต มาดูกันก่อนว่าประกันมีทั้งหมดกี่แบบกันแน่
ประกันชีวิต มีกี่แบบ?
การแบ่งประเภทของประกันชีวิตนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีผลิตภัณฑ์ประกันออกมาแตกต่างกัน บางบริษัทมีแผนประกันเกือบ 100 แผน เราลองมาดูวิธีแบ่งประเภทประกันคร่าว ๆ กันก่อน
ประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ตามการบริหารเงินที่นำมาใช้ประกัน ได้แก่
เปรียบเทียบการจ่ายเบี้ยประกันภัยในประเภทต่าง ๆ
รายละเอียด | 1) ประกันสามัญ
|
2) ประกันอุตสาหกรรม
|
3) ประกันกลุ่ม
|
การจ่ายเบี้ยประกันภัย | สูงกว่าการจ่ายเบี้ยประกันแบบอุตสาหกรรมและแบบกลุ่ม | สูงกว่าการจ่ายเบี้ยประกันแบบกลุ่ม | ขึ้นอยู่กับการเคลมของกลุ่มในปีก่อน |
เงินเอาประกันภัย | สูงกว่า 50,000 บาท ขึ้นไป | 10,000 – 30,000 บาท | น้อยกว่าประเภทสามัญและอุตสาหกรรม |
ตรวจสุขภาพ | อาจตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้ | ไม่ต้องตรวจสุขภาพ | อาจตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้ |
ประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 4 แบบ
ตามความคุ้มครอง ได้แก่
ส่วนแบบประกันภัยที่เราเคยได้ยินกันว่า ออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ต่าง ๆ นั้นมันต่างจากการเปิดบัญชีออมทรัพย์อย่างไร? มีดังนี้
ซึ่งทั้ง 4 แผนนี้ จะถูกนำไปเสนอขายเป็นแผนประกันตามวัตถุประสงค์ ยกตัวอย่างเช่น คนที่ไม่ได้อยากทำประกันเพื่อไว้ออมเงิน ก็จะเลือกทำไว้เป็นสวัสดิการให้กับตัวเองหลังเกษียณ หรือทำเพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลานในอนาคต โดยแบ่งแผนประกันออกเป็นคร่าว ๆ ได้ 8 แบบ ดังนี้
1) แผนประกันแบบมีเงินออม เพื่อวางแผนในอนาคต
2) แผนประกันสำหรับสร้างสวัสดิการให้กับตัวเอง กรณีเป็นเจ้าของกิจการ หรือ ฟรีแลนซ์
3) แผนประกันสำหรับผู้สูงอายุ
4) แผนประกันเพื่อการเกษียณอายุ แบบมีเงินบำนาญ
5) แผนประกันสำหรับประกันชีวิตเปี่ยมสุข (กบข.)
6) แผนประกันเพื่อให้มีทุนการศึกษาให้กับลูก
7) แผนประกันสำหรับคุ้มครองรายได้ของครอบครัว (มักทำให้กับผู้นำครอบครัวที่หารายได้เป็นหลัก)
8) แผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้ไหม?
แผนประกันชีวิตที่คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ยกเว้นแผนประกันอุบัติเหตุที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ และประกันชีวิตแบบบำนาญบางตัวก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีแทน LTF และ RMF (ในฐานภาษี 20%) ได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทำประกันอีกแบบหนึ่งที่ทำเพื่อการกู้โดยเฉพาะ เพราะเจ้าหนี้จะได้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับลูกหนี้ ทางเจ้าหนี้มีสิทธิ์รับเงินประกันชีวิตส่วนนี้มาคืนทุน จึงเป็นสาเหตุที่ว่าการขอกู้ธนาคารกับสินเชื่อที่มีเงินก้อนใหญ่ ๆ อาทิ สินเชื่อบ้าน จะต้องบังคับให้ผู้ขอกู้ทำประกันชีวิตไว้ โดยลงชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นเจ้าหนี้ เพราะฉะนั้นหากจะกู้บ้าน หากไม่ได้วางเงินดาวน์เยอะก็จำเป็นต้องทำสัญญาประกันชีวิตด้วย
ที่มา :
http://www.oic.or.th/th/consumer/การประกันชีวิต
ดูข้อมูลประกันชีวิตทั้งหมดได้ที่นี่
พ่อแม่ควรเลือกประกันชีวิตสำหรับลูกน้อย อย่างไรบ้าง
ขั้นตอนใช้สิทธิประกันสังคม ทำฟัน 2562
โรคมะเร็งรักษาฟรี ประกันสังคมจ่ายให้
รู้หรือไม่ ป่วยเป็นโรคไมเกรน ประกันไม่คุ้มครอง