เมาแล้วขับ ประกันจ่ายไหม และ กฏหมายใหม่ว่าอย่างไรบ้าง?
หลาย ๆ คนตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เข้าสู่วัยทำงานกันแล้วใช่ไหมเอ่ย? มาหลายครั้งที่หลังจากทำงานเหนื่อย ๆ มาทั้งอาทิตย์ก็อยากจะใช้ช่วงเวลาสุดสัปดาห์ในการออกไป แฮงค์เอ้าท์ ปาร์ตี้กับเหล่าเพื่อนฝูง เพื่อพบปะปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักทั้งอาทิตย์กัน โดยแต่ละคนเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปแล้วนั้นก็จะมีอาการมึนเมาที่แตกต่างกันออกไป และการเมาแล้วอันตรายที่สุดนั่นก็คือ “การเมาแล้วขับ“
ซึ่งอาการเมาแล้วขับ ถือเป็นปัญหาหลัก ๆ ที่เราสามารถพบเจอกันได้บ่อย ๆ กับการเกิดอุบัติเหตุตามท้องถนนในช่วงยามค่ำคืน บางคนอาจจะบาดเจ็บเอง หรือทำผู้คนบริสุทธิ์บาดเจ็บ หรืออาจจะหนักถึงขั้นตนเอง และ ผู้บริสุทธิ์ ต้องเสียชีวิต เนื่องจากปัญหาที่แก้ไม่ได้อย่างการเมาแล้วขับ ต่อให้ปัจจุบันจะมีการรณรงค์ในเรื่องการเมาแล้วขับ แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยังทำพฤติกรรมเช่นนี้
สำหรับหลาย ๆ คนที่ทำประกันภัยไว้ก็อาจมีข้อสงสัยว่า ถ้าเมาแล้วขับ ประกันจ่ายไหม? เพราะอาจมีคนที่คิดว่าการทำ ประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือ ประกันอุบัติเหตุ แล้วนั้นจะคุ้มครองทุกอย่าง แม้แต่การเมาแล้วขับ แต่ความจริงแล้วตามกฏหมายประกันภัยได้แจ้งไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า บริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าเสียหาย เฉพาะกรณีที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 50 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เท่านั้น หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ ที่เกินกว่านี้แล้วเกิดประสบอุบัติเหตุนั้นทางบริษัทจะไม่จ่ายค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
ทำไมบริษัทประกันถึงไม่จ่าย ?
เพราะหากในร่างการของ ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้นจะถือว่าผิดกฏหมาย การเมาแล้วขับ นอกจากประกันไม่จ่ายให้แล้วนั้นยังต้องถูกดำเนินคดีตามกฏหมายอีกด้วย อาจจะทั้งโดนจับ โดนปรับ และ โดนจำคุก ส่วนใหญ่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ และ รายละเอียดข้อยกเว้นในการรับประกันภัยอย่างชัดเจน ว่า การยกเว้นทั่วไป การประกันภัยตามหมวดนี้ ไม่คุ้มครองความรับผิด อันเกิดจาก การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
กฏหมายเกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ พรบ.จราจรฉบับใหม่
โดยในปี 2560 ที่ผ่านมาได้มีการปรับแก้ไข กฏหมายเรื่องเมาแล้วขับ ให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกัน และ กำจัดปัญหาการเมาแล้วขับออกไป เนื่องจากในประเทศไทยปัจจุบันมีสถิติการเมาแล้วขับที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นสถิติที่สูงที่สุดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนทั้งหมด
อัตราโทษ แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่
ความผิดฐานขับรถขณะเมาสุรา
มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 – 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และศาลยังมีอำนาจในการสั่งพักใช้ใบขับขี่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต อีกทั้งยังเพิ่มมาตรการในการยึดรถในชั้นศาลไม่เกิน 7 วัน
ความผิดฐานเมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย หรือ จิตใจ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตการขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ความผิดฐานเมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000 – 120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาติขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ความผิดฐานเมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับ 60,000 – 200,000 บาท รวมทั้งให้ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ปริมาณแอลกอฮอลล์ในร่างกายเท่าไร ถึงเรียกเมาแล้วขับ
- กรณีที่ผู้ขับขี่มีอายุไม่เกิน 20 ปี หากมีปริมาณแอลกอฮอลล์ในเลือด เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
- กรณีที่ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาติขับรถ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว หากมีปริมาณแอลกอฮอลล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
- บุคคลอื่น ๆ มีข้อกำหนดตามกฏหมาย นั่นคือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงถือว่าเมาสุรา
- โดยเจ้าหน้าที่สามารถสั่งตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้เช่น การทดสอบลมหายใจ ปัสสาวะ เลือด หรือวิธีอื่น ๆ ได้ตามสมควร
ดังนั้น คปภ. จึงเห็นว่าการเลือกปรับลดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลงนั้น เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น พร้มทั้งยังถือเป็นมาตรการรณรงค์การเมาแล้วขับและอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย
รู้ข้อกฏหมายใหม่ และ การรับประกันของบริษัทประกัน แบบนี้แล้ว สายปาร์ตี้ หรือ นักดื่มทั้งหลายก็ไม่ควรทีจะขับขี่ขณะขับรถ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเอง และคนรอบข้าง เพราะต่อให้ทำ ประกันชั้น 1 ครอบคลุมแค่ไหนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง หากจำเป็นที่ต้องไปดื่มจริงๆนั้นก็ให้ใช้เป็นรถโดยสารสาธารณะ อย่างเช่น รถแท็กซี่ หรือ Grab เพื่อความปลอดภัยจากการเมาแล้วขับ และช่วยลดอุบัติเหตุ และจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากการสาเหตุเมาแล้วขับได้อีกด้วย
READ MORE :
- 7 เทคนิคลดค่าเบี้ยประกันรถ 3,000-10,000 บาท ที่ไม่ค่อยมีใครรู้
- ระวังให้ดี ประกันรถยนต์ปลอม – 5 วิธีป้องกันไม่ให้โดนหลอก
- เบี้ยประกันรถยนต์ราคาถูก – ข้อดีและข้อเสีย ที่ควรรู้
- 10 อันดับประกันรถยนต์ที่ดีที่สุด 2561