ปัจจุบันมีบริษัทประกันมากกว่า 60 บริษัทในประเทศไทย ขายประกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอััคคีภัย ประกันวินาศภัย สุขภาพ อุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) และอื่นๆ ที่เราเคยเห็นกันดี และการซื้อประกันโดยมากแล้ว ส่วนใหญ่ลูกค้าจะทำประกันกับ บริษัท โบรคเกอร์ ประกัน เกิน 55% ของผู้ทำประกันทั้งหมด รองลงมาคือ การซื้อประกันกับตัวแทนหรือเซลส์ และที่สามคือการซื้อผ่านธนาคารนั่นเอง[1]
และเมื่อมี Player หรือผู้เล่นในตลาดประกันเยอะแยะมากมายขนาดนี้ แค่บริษัทประกันยังมีมากถึง 60 บริษัท เรายังไม่นับรวมตัวแทนขาย และ bancassurance (ขายประกันผ่านธนาคาร) อีก เราจะเห็นได้ว่ามีโฆษณาเกี่ยวกับประกันภัย เยอะแยะมากมายที่ออกมาให้ชมทั้งปีเลยทีเดียว การที่จะเชื่อโฆษณานั้นๆเลย อาจเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป การเช็คข้อมูลให้แน่ใจก่อนการซื้อประกันนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และ คปภ หรือสำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้แนะนำ 6 ข้อด้านล่างนี้ สำหรับผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อประกันภัย เพื่อให้ปลอดภัยที่สุดในการซื้อ และได้รับผลประโยชน์สูงสุด
- ฐานะทางการเงินของบริษัทประกันต้องมั่นคง – เช่นเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
- มีสาขา หรือศูนย์บริการทั่วประเทศ – อันนี้สำหรับความสะดวกในการติดต่อเข้ารับบริการ และ การติดต่อเพื่อรับสินไหมทดแทน (เวลาเคลมประกัน)
- มีประวัติการให้บริการที่ดี – จุดนี้ ทาง คปภ เน้นว่า ต้องมีความรวดเร็วในการชดใช้ค่าสินไหม แต่สำหรับลูกค้าทั่วไปที่จะทำประกัน อาจไม่ได้ทราบว่าประวัติบริการเป็นอย่างไร อาจสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ รีวิวประกันภัย เช่น รีวิว Pantip หรือ การโทรเข้าสอบถามที่ คปภ โดยตรง
- มีตัวแทนหรือนายหน้าประกันที่มีความรู้ สามารถแนะนำ และอำนวยความสะดวกได้ดี
- มีสถานที่ตั้งชัดเจน น่าเชื่อถือ และติดต่อได้ง่าย
- มีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย – เช่น อาจมีระบบ Call Center ที่ครอบคลุม ทั้งก่อนและหลังการขาย หรือแม้แต่ระบบการแชท ผ่าน website, LINE application, Facebook Fanpage ฯลฯ
จากคำแนะนำทั้ง 6 ข้อนี้ สามารถตีความออกมาได้เป็นสองเรื่อง และเรื่องแรกคือ เรื่องฐานะทางการเงินของบริษัทประกันนั้นๆ ซึ่งบริษัทประกันที่ดีมั่นคงต้องมีพื้นฐานการเงินที่มั่นคง สำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับลูกค้าประกันได้ ข้อสองคือเรื่องการสื่อสารกับลูกค้า บริษัทประกันที่ควรเลือกนั้นควรที่จะสามารถติดต่อกับลูกค้าได้ง่าย และลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทเพื่อแจ้งเรื่อง สอบถาม ได้ง่ายเช่นเดียวกัน และสำหรับตัวแทนและนายหน้าประกันภัยที่ได้รับการรับรอง จะต้องเป็นตัวแทนที่อยู่ในฐานข้อมูลของ คปภ เท่านั้น และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบรายชื่อตัวแทนได้ที่หน้า License Agency ของ คปภ ที่นี่
เนื่องจากในปัจจุบัน มีบริษัทที่น่าเชื่อถือและได้รับการรับรองจาก คปภ ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพ หรือ ความสามารถในการติดต่อบริษัทประกันนั้นๆ อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ เว้นแต่ว่าผู้ที่ทำประกันอาจจะเจอบริษัทที่ไม่คุ้น หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน และสำหรับอีกหนึ่งข้อมูลสำหรับการเช็คก่อนการทำประกันนั้นก็คือเรื่องราคา การตรวจสอบราคาเบี้ยประกัน และ ทุนประกันภัยที่จะได้รับ โดยที่ไม่ได้เห็นแก่ประกันราคาถูกเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรต้องทำในปัจจุบันเพราะตลาดประกันมีการแข่งขันสูง ทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนั่นเอง
[1]อ้างอิงจากข้อมูลปี 2016 ที่เว็บไซด์ คปภ http://www.oic.or.th/sites/default/files/content/87701/6-non-life-stedy-and-strong.pdf
- กรุงเทพประกันภัย + Citibank ผ่อน 0% 6 เดือน
- GENERALI เจอเนอลารี ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไร้กังวลตัั้งแต่ต้นจนจ่ายจบ
- วิริยะประกันภัย โทร เคลม ยากไหม พร้อมข้อมูลเบี้ยประกัน 2017
- ที่มาโฆษณา สินมั่นคงประกันภัย โฆษณา ไม่ได้เอาฮาอย่างเดียว
- ทำประกันภัยมือถือที่ไหนดี ? ได้รับการคุ้มครองที่ครอบคลุม หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย!
- ประกันชั้น 1 วิริยะ คุ้มครองอะไรบ้าง – ต้องจ่ายเท่าไหร่?
- อธิบาย 5 ประเภทประกันรถยนต์ ง่ายๆ สำหรับมือใหม่หัดทำประกัน