ข้อควรรู้! เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง
“มะเร็งเต้านม” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ผู้หยิงหลายคนต่างเป็นกังวล เนื่องจากเป็นโรคที่พบในผู้หญิงมาเป็นอันดับต้นๆ โดยเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมคือ พันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่เป็นโรคมะะเร็งในระบบสืบพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน อาทิ มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งรังไข่, รวมถึงมะเร็งเต้านม นอกจาดนี้ยังมีผลมาจากการมียีนที่ผิดปกติอย่างยีนกลายพันธุ์ BRCA1 และ BRCA2 โดยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นกัน รวมถึงพฤติกรรกรรการใมใช้ชีิวิต หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งความปัจจัยอื่นๆ ดังนี้
- ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้หญิงที่หมดวัยประจำเดือน
- ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมติดต่ดกันมาอย่างยาวนาน
- ผู้หญิงที่มีบุตรหลังอายุ 35 ปี หรือไม่เคยมีบุตรมาก่อน
- ผู้หญิงที่มีเซลล์ต่อมน้ำนมหนาแน่นผิดปกติ
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิดมาตรฐาน และเป็นโรคอ้วน รวมถึีงชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ผู้หญิงที่เคยได้รับสารกัมมันตภาพรังสีเกินกว่ามาตรฐาน รวมถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ทุกแบบหรือผู้ที่ทำงานในสภาวะเสี่ยงต่อกัมมันตภาพรังสี
◊ สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งเต้านมที่สาวๆ ควรรู้
- คลำพบก้อนเนื้อลักษณะแข็งเป็นไตในเต้านม
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีความผิแดปกติ อาทิ มีรอยบุ๋ม รั่งตััว หดตัว หรือไม่เรียบสนิท รวมถึงมีลักษณะเป็นผิวส้ม
- หัวนมหดตัวเล็กลง รวมถึงมีผื่นแดงรอบหัวนม และมีอาการคันโดยไม่มีสาเหตุ
- เต้านมมีอาการเปลี่ยนแปลงจนสังเกตเห็นได้ชัด
- ม่ีอาการเจ็บบริเวณเต้านมในขณะที่ไม่มีประจำเดือน
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้รักแร้มีอาการบวม
เพื่อป้องกันไม่ให้โรคร้ายนี้เกิดขึ้นกับตัวคุณ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพรวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย หากมีความผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบพบแพทย์เพื่อทำตรวจสอบหาสาเหตุ โดยโรคมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันได้ดังนี้
- ควรเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
- ระวังอย่าให้น้ำนมคั่งเป็นอันขาด
- หากมีอาการอักเสบ หรือเป็นฝีบริเวณเต้านมควรรับเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
- ผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมอย่างน้อยเดือนละครั้ง
◊ วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
- การตรวจเต้านมควรทำประมาณวันที่ 8 ของประจำเดือน โดยนับวันแรกที่มีเลือดออกเป็นวันที่หนึ่ง
- สังเกตบริเวณเต้านมว่ามีผิวหนังมีรอวบุ๋ม หรือหัวนมทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่ รวมถึงเส้นเลือดผิวหนังไม่พองโต และทำการชะโงกตัวไปด้านหน้าถ้าหากมีก้อนเนื้องอกอยู่ข้างในผิวหนังจะบุ๋มลง และให้สังเกตว่าเนื้องอกโตจนป่องออกมาหรือไม่
- นอนหงายและเอาหมอนหนุนบริเวณสะบักข้างที่จะตรวจ จากนั้นยกแขนซ้านขึ้นเหนือศรษะ แล้วใช้มือขวาคลำเต้านมโดยการคลึง จากนั้นฝ่านิ้วไปทั่วเต้านม และหมุนไปรอบๆ ทางด้านครึ่งของเต้านม
อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติภายในร่ายกายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความแน่ใจ เพราะหากมีควาเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งจะได้ทำการรักษาอย่าวทันท่วงที และเพื่อการคุ้มครองในเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากโรคะเร็งมีค่ารักษาที่ค่อนข้างสูง ประกันมะเร็วจึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ โดยประกันภัยโรคมะเร็งหมดห่วงจาก TQM มาพร้อมการคุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาท พร้อมผ่อน 0% 12 เดือน สำหรับผู้ที่มีบัตรกรุงศรี หากสนใจสามารถาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
♦ คลิกอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม
⇒ ประกันภัยโรคมะเร็ง กับ ทิพยประกันภัย คุ้มครองอะไรบ้าง ?
⇒ รู้ไหมว่า…ถึงไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้!
⇒ สัญญาณเตือน! ที่บอกให้รู้ว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
⇒ รู้หรือไม่ว่า…อาหารที่คุณโปรดปราน มีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคมะเร็ง!