รู้ได้อย่างไร ? ว่าเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระดูก
ถ้ายังจำกันได้ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2562 แฟน ๆ ฟุตบอลต่างประเทศน่ารู้ถึงที่เกิดในวงการลูกหนัง เมื่อ หลุยส์ เอนริเก้ อดีตเฮดโค้ชทีมชาติสเปน ซึ่งประกาศอำลากุนซือทีมชาติสเปน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมให้เหตุผลว่า ต้องการมาดูแล หนูน้อย ซานา ลูกสาววัย 9 ขวบ ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก และล่าสุด หลุยส์ เอนริเก้ ได้แจ้งข่าวร้ายผ่านโซเชียลมีเดียว่า หนูน้อยซานา ได้จากไปอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็งกระดูก หลังต่อสู้กับโรคร้ายดังกล่าวอย่างหนักเป็นเวลากว่า 5 เดือน
ซึ่งข่าวเศร้าที่เกิดขึ้น ทำให้บรรดานักเตะชื่อดัง ตลอดจนแฟนคลับที่ชื่นชอบ หลุยส์ เอนริเก้ ทั้งในฐานะนักเตะ หรือเฮดโค้ชทีมชาติสเปน ต่างร่วมโพสต์ข้อความแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียครั้งนี้ และด้วยข่าวเศร้าที่เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามว่า “โรคมะเร็งกระดูก” คืออะไร แล้วเหตุใดโรคร้ายที่ว่า จึงเกิดขึ้นกับหนูน้อยที่ควรจะได้วิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ และครอบครัวอย่างมีความสุขเช่นนี้
และวันนี้ เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันว่า โรคมะเร็งกระดูก คืออะไร สาเหตุของโรคมาจากไหน มีวิธีป้องกันหรือไม่ รวมถึงใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม
ทำความรู้จัก กับ “โรคมะเร็งกระดูก”
โรคมะเร็งกระดูก เกิดจากเซลล์มะเร็งที่เริ่มก่อตัวบริเวณกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสามารถแบ่งโรคมะเร็งกระดูก ออกได้ดังนี้
1. โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ เกิดจากเซลล์ของเนื้อเยื่อกระดูกเอง มักจะเกิดในที่บริ้เวณข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อไหล่ เป็นต้น
2. โรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ คือ โรคมะเร็งกระดูกที่เกิดจากโรคมะเร็งอื่น ๆ ซึ่งได้แพร่กระจายมาที่กระดูก โดยพบมากที่แขนขา กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกซี่โครง กะโหลกศีรษะ เป็นต้น
โรคมะเร็งกระดูก เกิดขึ้นกับวัยใดได้บ้าง
สำหรับโรคมะเร็งกระดูกนั้น เป็นโรคของเด็กโต วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุประมาณ 10-20 ปี ไปจนถึงในวัยผู้สูงอายุ เรียกว่า เป็นโรคมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
สัญญาณบ่งบอกโรคมะเร็งกระดูก คือ
อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการเจ็บกระดูก โดยมักเริ่มจากอาการคล้ายฟกช้ำบริเวณกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็ง จากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเจ็บอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรืออาจเดี๋ยวเจ็บ เดี๋ยวหาย ซึ่งอาการที่ว่านั้น มักเกิดขึ้นตอนกลางคืนหรือขณะนั่ง สำหรับอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้น อาจทำให้เกิดความสับสนว่า เป็นโรคข้ออักเสบ เนื่องจากมีอาการใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก ยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ
- อาการบวมแดงจากการอักเสบ
- เกิดก้อนบวมโดยรอบบริเวณที่ปวด ซึ่งหากเป็นกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อต่อ อาการบวมที่เกิดขึ้นอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ยาก
- มีไข้สูง และมีเหงื่อออก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน
- น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยสำคัญการเกิดโรคมะเร็งกระดูก มีอะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน ยังไม่อาจทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระดูกที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระดูก มีรายละเอียดดังนี้
1. เกิดจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย
2. เกิดจากการกระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อม อาทิ สารเคมี ยาฆ่าแมลง สารรังสี เป็นต้น โดยกลุ่มเสี่ยง คือ คนที่ทำงานอยู่ใกล้กับสารเคมี หรือทำงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีหรือทางการแพทย์นั่นเอง
3. เกิดขึ้นจากการรักษาในปัจจุบัน อาทิ การให้เคมีบำบัด การให้รังสีรักษา โดยกระบวนการรักษาเหล่านี้ อาจทำให้เซลล์มะเร็งพัฒนาขึ้นในเซลล์กระดูกได้เช่นกัน
การรักษาโรคมะเร็งกระดูก มีวิธีไหนบ้าง ?
สำหรับโรคมะเร็งกระดูกนั้น ไม่ใช่ว่า ไม่มีโอกาสรักษาหาย เพียงแต่โอกาสหายจากโรคนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็งกระดูก หากเป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายแล้วนั้นค่อนข้างยากต่อการรักษา จึงอาจเป็นการรักษาเพื่อประคองอาการและชะลอการลุกลามของมะเร็งเท่านั้น
แต่หากอยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์ผู้ทำการรักษาจะแนะนำวิธีการรักษามะเร็งดูก โดยคำนึงถึงชนิดของโรคมะเร็งกระดูก ตลอดจนความพร้อมทางด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษามีให้เลือก ตั้งแต่การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด หรือการใช้รังสีบำบัดวิธีใดวิธีหนึ่ง หรืออาจใช้ควบคู่กันไปหลายวิธีก็ได้
มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งกระดูกหรือไม่ ?
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งกระดูก ทำให้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันโรคนี้ได้ แม้โรคมะเร็งกระดูกจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถสังเกตตัวเองง่าย ๆ หากมีอาการปวดหลัง ปวดแขนขา โดยเฉพาะปวดในเวลากลางคืน ติดต่อกันเกิน 2-3 สัปดาห์แล้วไม่หาย หรือมีก้อนโตขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที
ประกันสังคม ใช้รักษาโรคมะเร็งกระดูกได้ไหม ?
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาได้เช่นกัน โดยค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องเสีย มีแค่ยานอกบัญชี กับค่าผ้าปิดแผล ตอนทำแผลหลังผ่าตัดเท่านั้น ส่วนยารักษาตามสิทธิ์ไม่ต้องจ่ายเงินเอง แต่ถ้ายาที่คุณต้องทาน บังเอิญว่า โรงพยาบาลที่คุณเข้ารับการรักษาไม่มียาตัวดังกล่าว เนื่องจากยาหมดสต็อก หรือยาตัวดังกล่าวไม่เคยถูกนำเข้ามาที่โรงพยาบาล ก็ไม่ต้องกังวลว่า ต้องไปหาซื้อยาจากร้านขายยาด้านนอก เพราะทางโรงพยาบาลจะหายาตัวดังกล่าวมาให้คุณ รวมถึงกรณีที่ไม่มีแพทย์เฉพาะ ก็จะมีการส่งต่อคุณไปยังโรงพยาบาลอื่นแทน
และเพื่อเป็นการวางแผนแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นไว้แต่เนิ่น ๆ คุณควรทำประกันโรคมะเร็งหรือประกันสุขภาพติดไว้ เพราะประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ รวมไปถึงบริการทางการแพทย์ ค่าห้อง ค่าอาหาร และอื่น ๆ ที่ประกันสังคมไม่อาจจ่ายให้ได้ โดยหนึ่งในบริษัทประกันที่ได้มาตรฐานและมีผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพมากมาย ได้แก่ TQM ประกันภัย โบรคเกอร์บริษัทประกันชั้นนำกว่า 40 บริษัท ซึ่งที่นี่คุณจะได้เลือก รวมถึงได้เปรียบเทียบความคุ้มครอง และเบี้ยประกันได้ด้วยตัวเอง ทั้งยังซื้อความคุ้มครองผ่านทางออนไลน์ก็ได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง
READ MORE :
- สปสช. เพิ่มสิทธิตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ให้กับผู้ถือบัตรทอง เริ่มปี 2563
- ท่าตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 3 วิธี ด้วยตนเองง่าย ๆ
- ยิ่งเข้าวัยกลางคน เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจแล้วหรือยัง?
- ข้อดีของการพบแพทย์ ก่อนทำการดูแลสุขภาพ
- ประกันสุขภาพซูเปอร์แพลน CIGNA คุ้มครองโรคมะเร็งสูงสุด 3 ล้านบาท