ปวดท้องประจําเดือน กินยาแก้ปวด มีผลข้างเคียงไหม
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
ช่วง “วันนั้นของเดือน” เป็นช่วงเวลาที่มีสาว ๆ ไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับ “อาการปวดประจำเดือน” บ่อย ๆ เรียกว่า เป็นเวลาแห่งความทุกข์ทรมานของผู้หญิงเลยก็ว่าได้ เพราะบางคนอาจมีอาการหนักถึงขั้นต้องลาป่วย เนื่องจากปวดจนตัวงอเป็นกุ้ง ลุกจากเตียงไม่ไหว หรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ทำให้ต้องหาถุงน้ำร้อนมาประคบ หรือทานยาแก้ปวดเม็ด เพื่อบรรเทาอาการ แต่การทานยาทุกเดือน ๆ แบบนี้ เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ? วันนี้ เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน รวมถึงสาเหตุที่ทำให้คุณสาว ๆ ปวดท้องประจําเดือน ว่าเป็นเพราะเหตุใด
อาการปวดท้องประจำเดือน เกิดจากอะไร ?
อาการปวดประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดจากการปวดเกร็ง หรือรู้สึกปวดบีบตรงบริเวณท้องน้อย ในบางคนจะมีอาการปวดร้าวไปถึงบริเวณหลัง ก้น ต้นขา หรือมีอาการอื่นร่วม อาทิ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ
โดยอาการปวดท้องประจำเดือนน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนเป็นประจำเดือน และระหว่างการเป็นประจำเดือน สำหรับความรุนแรงของอาการปวดท้องประจำเดือนนั้น ก็แตกต่างกันออกไป ในบางคนอาจปวดไม่มาก แค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเท่านั้น ขณะที่บางคนมีอาการปวดรุนแรงถึงขั้นตัวงอเป็นกุ้ง ลุกจากเตียงแทบไม่ได้ จนต้องหยุดงานหรือหยุดเรียน
ปวดท้องประจำเดือน กินยาแก้ปวดบ่อย ๆ อันตรายหรือไม่ ?
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้องประจำเดือน มักดูแลตนเองเบื้องต้น ด้วยการทายาแก้ปวดอย่าง ยาพาราเซตามอล และในผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง ก็มักเลือกใช้ยาพอนสแตน (Prostaglan) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglan din) ซึ่งเป็นสารเกี่ยวข้องกับการปวด และยังลดการบีบตัวของมดลูก ต้องยอมรับว่า แม้ยาพอนสแตนจะใช้ได้แล้ว ระงับอาการปวดได้ดี จนเป็นที่นิยมของผู้ที่ปวดประจำเดือน
แต่ขึ้นชื่อว่า “ยา” ย่อมมีผลข้างเคียงเช่นกัน อาทิ อาจจะทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดแตก (เลือดจึงออกได้ง่ายและหยุดยาก) หรือบางคนก็มีอาการทางลำไส้ ปวดศรีษะ ง่วงนอน หรือความดันโลหิตสูง ตามแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน แม้ว่าการทานยาพอนสแตนเดือนละครั้งจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ก็ควรทานเฉพาะช่วงที่มีอาการปวดเท่านั้น
มีวิธีป้องกัน และบรรเทาอาการปวดประจำเดือนหรือไม่ ?
หากคุณมีอาการปวดประจำเดือน นอกจากทานยาเพื่อระงับอาการปวดแล้ว คุณยังสามารถดูแลตนเองได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
(2) อาบน้ำอุ่น เพราะการอาบน่ำอุ่นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อจึงทำให้อาการปวดประจำเดือนลดน้อยลง
(3) ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
(4) พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
(5) ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วงมีประจำเดือน อย่างการเลือกการออกกำลังกายแบบเบา ๆ อาทิ เดิน เล่นโยคะ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เท่านั้นแต่ยังทำให้สุขภาพดีด้วย
(6) รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน เป็นต้น
(7) ดื่มน้ำอุ่น ๆ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าทานยาแล้วยังไม่หายปวดท้อง มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือมีประจำเดือนผิดปกติ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดอีกครั้งจะดีกว่า เพราะอาการเหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติของมดลูกก็เป็นได้
READ MORE :
- อาการปวดหลังของมนุษย์เงินเดือน พร้อมวิธีคลายปวด
- ไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องแบบไหนถึงจะรู้ว่าเป็น?
- สุขภาพดีเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง 2019
- วันแม่ 2562 เลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้คุณแม่ดี
- หมอนสุขภาพแก้ปวดคอ หาซื้อได้ที่ไหน ?