ในโลกของความเป็นจริง เราจะได้เห็นผู้ผลิตสินค้าบริการ และ ตัวแทนควบคู่กันอยู่เสมอๆ เจ้าของบริการก็ต้องการให้สินค้าและบริการของตัวเองขายได้เร็วที่สุดกว้างมากที่สุด ส่วนตัวแทนก็เป็นคนกลางระหว่างลูกค้าเพื่อบริการลูกค้ากับบริษัที่ขายบริการ ในโลกของธุรกิจประกันรถยนต์ ก็เช่นเดียวกัน ผู้บริโภคมี 2 ทางเลือกที่จะเลือกซื้อประกันกับ ทั้งสองช่องทาง คือกับบริษัทประกันโดยตรง (ภาษาอังกฤษเรียกว่า Direct Writing) หรือจะทำกับบริษัทโบรคเกอร์ประกันภััย (Insurance Broker) หรือบริษัทตัวแทนประกันทั้งหลายแหล่ การทำประกันกับทั้งบริษัททั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกัน ในเรื่องของราคา ความยืดหยุ่น ความหลากหลาย ฯลฯ และเราจะมีเรียนรู้ข้อดีข้อเสียของเรื่องนี้กัน แต่ก่อนอื่น มาดูกันว่าบริษัทประกันไม่ว่าจะเป็นแบบ Direct หรือแบบ Broker เวลาเค้าติดต่อลูกค้าเค้าต้องการข้อมูลอะไรบ้าง?

คุณต้องเจอกับคำถามอะไรเมื่อบริษัทประกันทั้งสองแบบต่อมา?

  • ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล
  • ยี่ห้อรถยนต์
  • ประกันล่าสุดที่ทำไว้
  • ประกันหมดอายุเมื่อไหร่?
  • ต้องการต่อประกันประเภทใด? (ชั้น 1, 2,3 ฯลฯ)
มุมมองผ่านบริษัทโบรคเกอร์ ประกันรถยนต์

ข้อดีของบริษัทนายหน้าประกันหรือตัวแทน (Insurance Broker)


ไหนบอกไหน ใครเคยนับบ้าง ว่าในเมืองไทยเรามีบริษัทตัวแทนประกันชื่ออะไรบ้าง? คงตอบกันไม่ได้ เพราะในปีสองปีให้หลังมานี้ บริษัทตัวแทนประกันมีทั้งหน้าใหม่เข้ามาในตลาด และหน้าเก่าๆ ก็เพิ่มบริษัทลูก เพื่อมาจับจองพื้นที่ในตลาด โดยเฉพาะประกันรถยนต์ เรียกได้ว่าโทรให้ลูกค้าเช็คเบี้ยประกันรถยนต์กันกระจายไปหมด และนี่คือบริษัทโบรคเกอร์ประกันภัย ที่เราคุ้นหูกันมากที่สุด

รายชื่อ โบรคเกอร์ประกันรถยนต์ที่คุ้นหูมากที่สุด

ASN Finance, Rabbit Finance, ANC Broker, Drivedee (ขับดี), Gobear, Direct Asia, 
Roojai (รู้ใจ), Easy Insure, Prakunrod.com, Frank ประกันภัย, Asia Direct, 
TQM ประกันภัย, Silkspan, MisterPrakan, เงินติดล้อประกันรถยนต์, ศรีกรุงประกันภัย

รวมๆแล้วประกันรถยนต์ที่ให้บริการในลักษณะนายหน้าหรือ โบรคเกอร์ นั้นมีอยู่ราวๆ 16 บริษัท ที่ให้บริการลูกค้าในไทย มีระบบ Call Center ที่คอยโทรให้บริการ รับลูกค้า รับแจ้งเหตุ และรับทำประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันมะเร็ง และประกันอื่นๆ ซึ่งต่อไปนีี้จะเป็นข้อดีของบริษัทประเภท Broker

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณไม่สบาย คุณคงไม่เข้า internet แล้วไปหาซื้อยามารักษาตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์หรอก เพราะเมื่อคุณป่วยมากๆ คุณก็ต้องไปหาหมอ เฉกเช่นเดียวกันกับการซื้อประกันรถยนต์ ก็ควรไปหา Broker ที่เค้าถามถึงความต้องการ และมีผลิตภัณฑ์หลายๆอย่างที่อาจตอบโจทย์คุณได้

สำหรับข้อดีของประกันแบบ Insurance Broker หรือการทำประกันผ่านตัวแทน (นายหน้า) ประกันรถยนต์เหล่านี้ก็คือ “ตัวเลือก” นั่นเอง บริษัทตัวแทนประกันจะมี ผลิตภัณฑ์ประกันที่มีมาก บางแห่งเช่น TQM มีบริษัทประกันที่เค้าเป็นตัวแทนมากถึง 40 บริษัท ซึ่งจะทำให้เจ้าของรถมีตัวเลือก เรื่องแผนประกัน ราคา ค่าใช้จ่าย ค่าความเสียหายส่วนแรก ความสามารถในการผ่อนเบี้ยประกันรถยนต์ได้ ฯลฯ ซึ่งหลักๆ ก็คือเรื่องราคา และผลประโยชน์ที่จะได้รับนั่นเอง อีกทั้งเดี๋ยวนี้ การทำประกันรถยนต์ บริษัทโบรคเกอร์เหล่านี้ นำเอาเทคโนโลยีเปรียบเทียบราคาประกัน และ การเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์มาใช้ ทำให้เกิดความสะดวกกับเจ้าของรถ ทำให้รู้ราคาก่อน และสามารถประหยัดเงินได้มากกว่าในการทำประกันรถยนต์

ข้อเสียของบริษัท Broker ทั้งหลาย คือ?

ดูๆแล้วเหมือนการทำประกันรถยนต์ ผ่าน บริษัท Broker ทั้งหลาย แบบไม่ทำตรงกับบริษัทประกันน่าจะมีข้อดีอยู่เยอะ เช่นเรื่องราคา ตัวเลือกที่เยอะ ฯลฯ แต่จริงๆแล้วมันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันนะ เช่นการซื้อประกันรถยนต์จาก Broker เจ้าหนึ่งที่แจ้งว่าราคาถูก คำถามคือรู้ได้อย่างไรว่าราคาถูก? มากไปกว่านั้นคือ การที่บริษัทโบรคเกอร์ มีสินค้าประกันเยอะ ทางบริษัทเค้าอาจจะรู้ข้อมูลเยอะ แต่อาจไม่รู้ลึกเท่าบริษัทประกันนั้นๆเอง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Broker A เป็นตัวแทนบริษัท ก ข ค ง จ และบริษัท A อาจรู้เรื่องแต่ละบริษัทดี แต่อาจไม่รู้ลึกเท่าตัวของบริษัท ก ข ค ง จ เอง นั่นแหละ


มาดูฝั่งบริษัทประกันรายใหญ่ มีข้อดีข้อเสียยังไง?

ข้อดีของการซื้อตรงกับบริษัทประกันรถยนต์


การซืื้อตรงกับบริษัทประกันรถยนต์โดยตรง เป็นอะไรที่ปลอดภัยที่สุด และน่าจะได้ข้อมูลครบถ้วนมากที่สุด และที่เค้าเรียกกันว่า Direct Writing ซึ่งข้อดีส่วนใหญ่เลยก็คือ “ราคา” และ “ความรวดเร็ว” บางคนสงสัยว่า เอ๊ะ บริษัท broker ก็มีข้อดีเรื่องราคาเหมือนกัน แล้วยังไง? คือบริษัทประกันรถยนต์ตรง เค้าเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเค้าจะมีความยืดหยุ่นเรื่องผลิตภัณฑ์มากกว่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคานั่นแหละ แต่เราจะไม่เห็นว่าบริษัทประกันรถยนต์ ลดราคา กันมาก แต่จะเป็นอย่างอื่นๆแทน ยิ่งพูดยิ่งงง เราไปดูเหตุผลกัน

รายชืื่อบริษัทประกันรถยนต์ (direct) ที่คุ้นหูกันมากที่สุด

กรุงเทพประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, ทิพยประกันภัย, เมืองไทยประกันชีวิต, 
วิริยะประกันภัย, สินมั่นคงประกันภัย, LMG Insurance, เจ้าพระยาประกันภัย, MSIG, 
สินทรัพย์ประกันภัย, มิตรแท้ประกันภัย, เทเวศ ประกันภัย, AXA, ประกันภัย ไทยวิวัฒน์, 
เอราวัณประกันภัย, Generali Insurance, KSK Insurance, Tune Insurance, 
ไทยศรีประกันภัย, นำสินประกันภัย, โตเกียวมารีน, กรุงไทยพานิชประกันภัย, ไทยประกันภัย, 
AIG, ศรีอยุธยา, คิวบีอี ประกันภัย, บูพา, ชับบ์, เอเชียประกันภัย, AIA, กรุงเทพประกันชีวิต, 
ทิพยประกันชีวิต, อลิอันซ์, ไทยสมุทร, ฯลฯ

บริษัทประกันรถยนต์ ที่มี Broker จำหน่ายประกันให้และคอยดูแลลูกค้าให้ โดยมากแล้วจะมีความยืดหยุ่นด้านราคา แต่จะไม่ลดราคา แต่จะออกแนวเป็นของแถมแทน เช่น การลดราคานิดหน่อย + แถมบัตรเติมน้ำมัน ซึ่งบางครั้ง การแถมบัตรเติมน้ำมัน นั้นบางที หากคิดเป็นส่วนลดจะลดไปสูงถึง 30% เลยทีเดียว เช่นอาจจะลดค่าเบี้ยประกันชั้น 1 แค่ 5% หรือ 10% แต่จะแถมบัตรเติมน้ำมัน 4,500 บาท (ค่าเบี้ยประกันแค่ 30,000 บาท แต่เติมน้ำมันฟรี 4,500 ลองคิดเป็น % ดู) และโปรโมชั่นประเภทนี้ เราจะไม่ค่อยเห็นกับ บริษัทโบรคเกอร์ เท่าใดนัก ซึ่งโดยมากจะเห็นเป็นบริการหลังการขายที่ดีมากกว่า

สำหรับเรื่องของความรวดเร็วนั้น ต้องบอกว่า บริษัทประกันภัยต่างๆ หากเราติดต่อตรงกับบริษัท จะได้ความรวดเร็วมากกว่า บริษัทโบรคเกอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคสประเภท “Unique Case” เช่นการ ขอราคาประกันรถยนต์ชั้น 1 ทางบริษัทประกันภัย ผู้ซึ่งเป็นคนกำหนดราคา สามารถแจ้งราคาลูกค้าได้เลย หรือได้เร็วกว่าบริษัท Broker ในขณะที่ Broker เมื่อรับเรื่องจากลูกค้าแล้วจะต้องวิ่งไปถามบริษัทประกันหลายๆบริษัท นั่นเอง

ข้อเสียเปรียบเกี่ยวกับการซื้อตรงกับบริษัทประกัน


เมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียเช่นเดียวกัน การซื้อประกันตรงกับบริษัทประกันเพียงเจ้าเดียว โดยที่ไม่ได้เช็คราคา และไม่ได้ซื้อผ่านบริษัท Broker ต่างๆ ก็คือเรื่องของความยืดหยุ่นนั่นเอง ความยืดหยุ่นในที่นี้ก็คือ เรื่องของราคา ที่เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าประกันที่เราทำนั้นคุ้มค่ากับความคุ้มครองหรือทุนประกันภัยหรือไม่? หรืออาจมีมีกรมธรรม์ที่ประหยัดกว่า ยกตัวอย่างเช่นรถยนต์อายุ 2 ปีขึ้นไป ที่ไม่ใช่รถป้ายแดง อาจมีมูลค่าต่ำลงและไม่จำเป็นที่จะต้องทำประกันชั้น 1 ตลอดเวลา เพราะยังคงมี ชั้น 2+ และหากว่าต้องต่อประกันกับบริษัทประกันตรง เราก็จะไม่สามารถรู้ package ประกันของบริษัทประกันอื่นๆได้ไม่เหมือนกันกับ Broker ที่จะหาราคาเปรียบเทียบให้ทุกอย่าง และในหลายๆครั้ง ถ้าเราจะทำประกัน เช่นประกันชั้น 1 เราอาจต้องไปหารีวิวเองว่า ประกันชั้น 1 ควรทำกับบริษัทไหนดี ในขณะเดียวกัันหากไปหา Broker ก็จะมีคำตอบทีี่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องเดาเลย

อีกมุมหนึ่งของการทำประกันผ่านบริษัทประกันโดยตรงคือเรื่องของการบริการ การบริการของบริษัทประกันตรง กับ บริษัท Broker โดยมากแล้วบริษัท Broker จะดีกว่ามาก เพราะบริษัท Broker มี จุดเด่นในด้านของการบริการทั้งก่อนการขาย และหลังการขาย ซึ่ง Broker บางบริษัท ถึงกับมีรถให้ใช้ระหว่างซ่อม (หากทำประกันชั้น 1) ในขณะที่บริษัทประกันใหญ่ แม้จะซื้อประกันชั้น 1 กับบริษัทเค้า เค้าก็ไม่ได้มีรถให้ใช้ระหว่างซ่อม


โดยรวมๆ แล้ว การทำประกันกับ Broker VS บริษัทประกันจะมีข้อที่ต้องรู้หลักๆเช่น

  • บริษัท Broker ช่วยลูกค้าเลือกบริษัทประกัน โดยอาศัยประสบการณ์ในการเลือกประกันรถยนต์ให้กับลูกค้า ให้เหมาะกับลูกค้าที่สุด ในขณะที่ บริษัทประกัน ขายแต่แผนของตัวเองโดยมีตัวเลือกให้ลูกค้าค่อนข้างจำกัด
  • บริษัท Broker มีประกันทุกประเภทเช่น ประกันชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ ประกันเดินทาง ซึ่งอาจมีจำนวนพนักงาน หรือ Call Center เยอะกว่า บริษัทประกัน ทำให้มีตัวเลือกมาก
  • บริษัทประกันจำพวก Broker กันผลประโยชน์ให้กับลูกค้าทุกเม็ด และพยายามดึงผลประโยชน์ในกรมธรรม์มาให้กับลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกค้าพอใจ และกลับมาใช้บริการอีก โดยที่บริษัท Broker จะมีฝ่ายกฎหมาย แนะนำไม่ให้ลูกค้าเสียเปรียบ และได้ประโยชน์ที่สมควรจะได้ตามกฎหมาย และเมื่อทำประกันกับทาง Broker เมื่อเซ็นต์ปุ๊ปคุ้มครองทันที
  • มีการโทรแจ้งเตือน รับสายเมื่อมีเหตุ ประสานงานให้กับบริษัทประกันรถยนต์ เพืื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกจุด
  • บริษัทประกันรถยนต์ ที่ไม่ใช่ Broker จะได้เปรียบในเรื่อง Promotion ประกันรถยนต์ ที่ดึงดูดใจ
  • บริษัทประกันรถยนต์ จะสามารถ process เอกสารได้เร็วกว่าบริษัท broker เพราะเป็นเจ้าของบริการเอง

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอ หากไม่ได้ซื้อประกันผ่าน Broker

เดี๋ยวนี้ บริษัทประกันที่เป็นบริษัทแม่ ที่ไม่ใช่ โบรคเกอร์ เค้าก็มีการเปิดให้ทุกคนซื้อประกันในเว็บไซด์ และจ่ายตังค์ผ่านเว็บไซด์ได้ทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ว่า บริษัทประกัน ก็จะมุ่งเน้นขายผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยที่ไม่ได้สนใจว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนั้น เหมาะกับรถ หรือ ลูกค้านั้นๆ หรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น หากคุณไม่สบาย คุณคงไม่เข้า internet แล้วไปหาซื้อยามารักษาตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์หรอก เพราะเมื่อคุณป่วยมากๆ คุณก็ต้องไปหาหมอ เฉกเช่นเดียวกันกับการซื้อประกันรถยนต์ ก็ควรไปหา Broker ที่เค้าถามถึงความต้องการ และมีผลิตภัณฑ์หลายๆอย่างที่อาจตอบโจทย์คุณได้ ดังนั้น จริงๆแล้ว แม้ว่า การทำประกันผ่าน Broker ในบางครั้ง ตัวเงินไม่ควรเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเพียงอย่างเดียว แต่การบริการ และการช่วยเลือกผลิตภัณฑ์ เป็นอะไรที่จำเป็นกว่ากันมากๆ

เมื่อต้องซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์


ต้องบอกว่าการซืื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ ยังไม่ได้รับความนิยมขนาดนั้น แต่เรากำลังมุ่งหน้าสู่เรื่องของการทำทุกอย่างออนไลน์ และการซื้อประกันรถยนต์ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย การซื้อ ประกันรถยนต์ออนไลน์ มีข้อดีหลายอย่างเช่น หากประกันหมด อยากต่อประกัน จะต่อตอนไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก้ได้ และเมื่อจ่ายเงินก็คุ้มครองทันที (สำหรับประกันรถยนต์ที่ไม่ใช่ชั้น 1) และการซื้อผ่านออนไลน์ บริษัทประกัน หรือ Broker ก็็ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของ Call Center คือพูดง่ายๆ มีค่าใช้จ่ายน้อยลง ทำให้ได้ส่วนลดและราคาถูก แต่สิ่งที่ต้องจำเอาไว้เมื่อต้องซืื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ด้วยตัวเอง ที่ไม่เชิงเป็นข้อเสีย ก็มีเช่น ถ้าคุณไม่ได้รู้เรื่องประกันรถยนต์เยอะ การซื้อออนไลน์ด้วยตัวเอง อาจมีข้อผิดพลาด เรื่องการเลือกทุนประกัน การรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) และอื่นๆ

Previous articleช้อปด่วน ! BabyLove เพียง 996.- ลดเพิ่ม 200.- พร้อมกรอกโค้ด ที่ Shopat24
Next articleรวมโปรโมชั่นบัตรเครดิต ที่ TQM ผ่อนสบาย 0%