พบสาเหตุการเสียชีวิตของคุณน้ำตาลหลังจากตรวจชิ้นเนื้อแล้ว
จากข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงสาว ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่ทราบสาเหตุ ล่าสุดคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชได้ตรวจชิ้นเนื้อและพบสาเหตุของโรคแล้ว ซึ่งเกิดจากเชื้อวัณโรคด้านหลังโพรงจมูกนั่นเอง ซึ่งเป็นโอกาสที่พบน้อยมากเพียงร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด ซึ่งแถลงข่าวไปเมื่อเวลา 9.30 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช โดย ศ. ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ เจ้าของไข้ของคุณน้ำตาลหลังจากเลือดออกจมูก
หลังจากที่พบสาเหตุของโรคแล้วก็ยิ่งทำให้คนที่มีร่างกายแข็งแรงทั่วไปนี้ เป็นกังวลว่าจะเกิดติดโรควัณโรคจากอากาศหรือเปล่า? โดยเฉพาะผู้ที่โดยสารรถไฟฟ้า และรถประจำทางกันเป็นประจำ ใช้หน้ากากอนามัยอย่างเดียวจะเพียงพอหรือไม่? ดังนั้นเรามาศึกษาสาเหตุของโรคนี้กันก่อนค่ะ
วัณโรคเกิดจากอะไร
วัณโรคเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis หากไม่ได้รับการรักษาจากการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะทำให้หายช้า หายยาก ส่วนใหญ่พบในระบบทางเดินหายใจ แต่ก็พบในอวัยวะอื่น ๆ ได้บ้าง ในประเทศไทย มีการตรวจสอบความชุกของวัณโรคปอด จำนวน 234.1 ต่อประชากรแสนคน (จากกลุ่มผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) การตรวจสอบทำได้ด้วยวิธีย้อมสีชิ้นเนื้อ แต่กรณีเคสคุณน้ำตาล ทางคณะแพทย์ได้ใช้วิธีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม และแยกด้วยกระแสไฟฟ้า
เชื้อไมโคแบคทีเรียม มีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ไม่ก่อโรคในคน แต่ก่อโรคในสัตว์แล้วสามารถท่ายทอดมาสู่มนุษย์ได้ และ เชื้อไมโคแบคทีเรียมที่ไม่ก่อโรคในผู้ที่สุขภาพแข็งแรง แต่อาจแพร่กระจายในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
โดยปกติแล้วร่างกายมีกลไกที่จะยับยั้งการลุกลามของเชื้อ แต่ในกลุ่มเนื้อเยื่อที่ถูกกีดกันนี้อาจมีเชื้ออาศัยอยู่ หากเชื้อนี้ลุกลามเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต และระบบน้ำเหลือง จะทำให้เสียชีวิตได้
วิธีการย้อมสีชิ้นเนื้อเพื่อตรวจสอบวัณโรค
ผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดโรควัณโรคจากอากาศได้ง่าย
- ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่เดินทางในที่สาธารณะผู้คนแออัด อาทิ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า และยานพาหนะอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันนานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป
วิธีการดูแลตัวเองและรักษาวัณโรค
หากเกิดขึ้นแล้วเป็นตัวคุณเองที่เป็น “วัณโรค” ขึ้นมาแล้วก็อย่าเพิ่งเครียด เพราะว่าการรักษาด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้หายจากโรคนี้ได้ง่าย ด้วยการทำความเข้าใจโรคอย่างชัดเจน ดังนี้
- แยกห้องนอน แยกกันอยู่ร่วมกับผู้อื่นในช่วงรับประทานยา 2 สัปดาห์แรก
- กินยาตามแพทย์สั่ง ห้ามแบ่งยาออกมากินมื้ออื่น
- รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามหยุดยาเอง ป้องกันการดื้อยา
- ขณะไอ จาม ต้องใช้ผ้าปิดจมูก และบ้วนเสมหะในถุงแล้วปิดให้มิดชิด
- ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- อยู่ในอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ที่สำคัญคือต้องไม่ไปอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่ปิด
การพบวัณโรคในโพรงจมูกนั้นเกิดขึ้นน้อยมาก อาจเกี่ยวข้องกับการมีเสมหะที่ขับไม่ออก โดยเสมหะนั้นอาจจะเก็บเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ไว้ และหากพักผ่อนน้อย ก็อาจจะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ได้รับออกซิเจนน้อย จึงคาดว่าการที่เชื้อไปเติบโตอยู่ในช่องโพรงจมูก เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วขึ้นไปอีก
ประกันสุขภาพดูแลรักษาโรค “วัณโรค” หรือไม่?
หากตัวเองทำประกันสุขภาพไว้อยู่แล้ว และเจ็บป่วยต้องรักษาด้วยการนอนโรงพยาบาล ทางประกันก็จะคุ้มครองจ่ายค่ารักษาให้ตามวงเงินทุนประกัน ส่วนคำถามที่ว่า เป็นวัณโรคแล้วประกันสุขภาพรับทำหรือไม่? ประกันสุขภาพรับทำ แต่ต้องแถลงสุขภาพว่า กำลังรักษาอยู่ หรือ รักษาหายแล้วหรือยัง? ส่วนการจ่ายเคลมหากไม่ได้เสียชีวิตด้วยวัณโรคประกันชีวิตจ่ายแน่นอน แต่หากเสียชีวิตด้วยวัณโรค หลังจากที่เราแถลงว่าเป็นแล้ว การจ่ายสินไหมขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท
ทั้งนี้หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับค่ารักษา “วัณโรค” สามารถสอบถามได้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินได้จากทุกโรงพยาบาล เรามีสิทธิ์ถาม และรับรู้การรักษา ซึ่งเป็นสิทธิ์พื้นฐานของคนไข้ และสิ่งที่เราได้จากเรื่องนี้ก็คือ แม้ว่าจะคิดว่าร่างกายแข็งแรงขนาดไหน ก็อาจจะเป็นโรคที่ไม่คาดฝันได้ การออกกำลังกาย และวางแผนการเงินเผื่อเจ็บป่วย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก
1). ณัชพล จมูศรี. จากเรื่อง “วัณโรคในช่องปาก Oral Tuberculosis” [วัณโรคในช่องปาก Oral Tuberculosis]. 2561. แหล่งที่มา : http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_468.pdf [26 มิถุนายน 2562]
2) วัณโรค รักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาให้ครบ (Tuberculosis) http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/475
Read More :
- เตรียมพร้อมรับมือ โรคหน้าฝนก่อนป่วย
- สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังป่วย
- อาการป่วยที่มักเกิดขึ้นได้ในหน้าหนาว
- เจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำอย่างไร รักษาได้ทุกโรงพยาบาลไหม?
- ป่วยเป็นโรคไต เบิกประกันสังคมได้หรือไม่