กินยาอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่หยิบกินพร่ำเพรื่อ
แม้ว่าโรคเกี่ยวกับฟันและภูมิแพ้จะเป็นคนละโรค คนละอาการกัน แต่สองโรคนี้เป็นโรคที่คนป่วยหายามารับประทานเองมากที่สุด ล้วนเป็นยาที่ต้องใช้เฉพาะ และผู้ป่วยก็อยากจะหายไว ๆ แต่ทั้งสองอาการหากรับประทานบ่อยก็อาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ วันนี้มาดูกันว่ายาแก้แพ้ กับ ยาแก้ปวดฟันแบบไหน? ดีที่สุด?
ยาแก้แพ้ ควรกินอย่างไร?
“ยาแก้แพ้” แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะ ได้แก่ ยาแก้แพ้แบบเม็ด และ ยาแก้แพ้แบบน้ำ เพื่อให้เด็กได้รับประทานง่ายขึ้น แต่หากแบ่งแบบกินแล้วง่วงไหม? ก็จะแบ่งออกเป็นกินแล้วง่วง กับกินแล้วไม่ง่วง โดยอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเคืองตัว มีดังนี้
- คัน
- หายใจไม่สะดวก
- ไอ จาม
- มีผื่นขึ้นตามลำตัว
ยาแก้แพ้ แบบ ง่วง กับ ไม่ง่วง
ให้ผลต่างกันไหม?
โดยภาพรวมแล้ว การออกฤทธิ์ของยาแก้แพ้ทั้ง 2 แบบนั้นต้านอาการแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งคู่ แต่มีความแตกต่างกันนิดหน่อยในเรื่องแก้อาการเมารถ เมาเรือ เวียนหัว และยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงกินกันแพ้ได้
ยาแก้แพ้แบบง่วง | ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง |
1. คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine)
2. ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) 3. ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate) 4. ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine) 5. ทริโปรลิดีน (triprolidine) 6. บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) 7. คีโตติเฟน (ketotifen) 8. ออกซาโทไมด์ (oxatomide) |
1. เซทิริซีน (cetirizine)
2. เลโวเซทิริซีน (levocetirizine) 3. เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine) 4. ลอราทาดีน (loratadine) |
รักษาอาการ :
– จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ – ผื่นแพ้ตามฤดูกาล – บรรเทาอาการเมารถ |
รักษาอาการ :
– เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ – ผื่นแพ้ตามฤดูกาล หรือ ลมพิษ แบบเฉียบพลัน – บรรเทาอาการเมารถได้ไม่ดีเท่ากลุ่มแรก |
ผลข้างเคียง :
– ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงกับความดันในตา – มีผลต่อปัสสาวะคั่ง – มีผลให้ทารกที่คลอดออกมาผิดรูป |
ผลข้างเคียง :
– หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพราะมีผลให้ทารกวิกลผิดรูป |
มีผลข้างเคียงคือลดน้ำมูกได้ดี รับประทานกันแพ้ไม่ได้ | รับประทานเพื่อป้องกันอาการแพ้ได้ ก่อนสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ |
ข้อห้ามและข้อควรระวัง !
- ผลข้างเคียงของการรับประทานยาแก้แพ้ (เกิดกับบางคนเท่านั้น)
- ทำให้จมูกแห้ง
- ปัสสาวะลำบาก
- ง่วง
- มีเสมหะเยอะขึ้น
- ไม่ควรรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์หรือยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท
- สตรีมีครรภ์และให้นมบุตรไม่ควรรับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ควรหยุดยาแก้แพ้ เมื่อมีอาการดีขึ้น ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
ที่มา :
1) ก่อนกินยาแก้แพ้ ต้องรู้ให้แน่ว่าปลอดภัย(phyathai.com)
2) ยาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วงและไม่ง่วง รักษาอาการแพ้ได้เหมือนกันจริงหรือ? (pharmacy.mahidol.ac.th)
ยาแก้ปวดฟัน ควรกินอย่างไร?
หากเราทราบอาการของการปวดฟันเองก็สามารถกินยาแก้ปวดฟันอย่าง พาราเซตามอล หรือ แอสไพรินเองได้บ้าง แต่หาก 1 – 2 วัน แล้วยังไม่หาย จำเป็นต้องพบหมอฟัน เพื่อตรวจสอบสาเหตุของการปวด ว่ามาจากฟันผุ หรือรากฟัน หรือมีปัญหาจากเหงือก โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะจ่ายยา 4 ประเภท ดังนี้
พาราเซตามอล
เป็นยาแก้ปวดทั่วไป สำหรับการถอนฟัน รักษาในกรณีปวดไม่รุนแรง และรักษาในกลุ่มคนไข้ที่ใช้แอสไพรินไม่ได้ โดยไม่ควรใช้ต่อเนื่องหลายวัน และกินเพียง 1 – 2 เม็ด ตามน้ำหนักตัว หยุดยาได้เมื่อหายปวดแล้ว
แอสไพริน
แก้ปวดได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่มีผลข้างเคียงกับคนไข้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด และมีผลกับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะกัดกระเพาะเล็กน้อย ต้องรับอาหารก่อน และห้ามกินยานี้หากป่วยเป็นอีสุกอีใส
ไอบูโพรเฟ่น
เป็นยาแก้ปวดที่ให้ผลชัดเจนกว่าพาราเซตามอลและแอสไพริน แต่ต้องใช้อย่างระวังเช่นกัน มีผลกัดกระเพาะมากกว่า และควรกินตามคำสั่งแพทย์ มักจะได้มากับการผ่าฟันคุด หรือ รักษารากฟันที่ต้องลงมีดกรีด
ยาแก้อักเสบ อะม็อกซีลิลลิน
สำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบ คุณหมอจะให้ยาแก้ปวดกลุ่มยาปฏิชีวนะ อย่าง Amoxy เป็นยาแคปซูลสีเขียว ที่ได้กันบ่อยที่สุด แต่ก็มียาแก้ปวดกลุ่มต้านการอักเสบตัวอื่น ๆ ที่คุณอาจจะได้รับมาเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของทันตแพทย์
สาเหตุของอาการปวดฟัน ได้แก่
- เกิดจากโรคฟันผุ
- โรคปลายประสาทรากฟันอักเสบ
- ปลายรากอักเสบเป็นหนอง
- ฟันคุด
- เหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ
ที่มา รวมสาเหตุอาการปวดฟันที่ควรรู้รวมสาเหตุอาการปวดฟันที่ควรรู้
เพราะฉะนั้นการใช้ยาจะต้องใช้อย่างสมเหตุผล เพราะฉะนั้นต้องใช้ตามความจำเป็นเฉพาะทันตกรรม อย่างไรก็ดี อาการปวดฟัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากปวดฟันเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ ก็ควรไปพบทันตแพทย์แล้ว จะได้รักษาได้อย่างต่อเนื่อง ตรงจุด