ATM Skimming คือ อะไร
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?
มีข่าวออกมาแว่วๆ ว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำจดหมายเตือนแจ้งสาขาว่าให้ระวังเรื่องตู้ ATM ที่มีเครื่อง Skimmer ติดไว้ ซึ่งทำให้อาจเกิดความเสียหายกับผู้ใช้ ซึ่งผู้ไม่หวังดีนี้ มักใช้เครื่องคัดลอกข้อมูลบัตรเครดิต ใช้กับธนาคารไทยพาณิชย์กับกสิกรเป็นอย่างมาก เพราะเรามักจะพบเห็นข่าวกับ 2 ธนาคารนี้เป็นพิเศษ
ซึ่งเครื่อง Skimmer นี้ จะอ่านข้อมูลบนบัตร ATM ที่มี Smart Card ได้ ล่าสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2560 เป็นต้นมา ก็พบกับการแจ้งเหตุตู้ ATM Skimming ไปแล้ว 15 แห่ง (อัพเดทล่าสุด ธนาคารเร่งแก้ปัญหาตู้เหล่านี้แล้ว) ซึ่งเกิดเหตุอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งนั้น
- ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ปากซอยรามคำแหง 58/3 (ตู้ Kbank)
- รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สถานีหัวลำโพง (ตู้ SCB)
- รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สถานีสามย่าน (ตู้ SCB)
- ตลาดทรัพย์มิตร ลาดพร้าว (ตู้ SCB)
- โลตัส เอ็กซเพรส เอสโซ่ บางนา กม.2 (ตู้ SCB)
- เซเว่นอีเลฟเว่น สุขุมวิท 107 แบริ่ง (ตู้ SCB)
- ร้าน 34 เมดีซีน รามอินทรา 34 (ตู้ SCB)
- ตลาดนัดเลียบด่วน รามอินทรา (ตู้ SCB)
- ปตท.ถนนเลียบทางด่วน รามอินทรา-อาจณรงค์ 2 (ตู้ SCB)
- ห้างสรรพสินค้า รามอินทรา สแควร์ เครื่อง 2 (ตู้ SCB)
- สาขาเทอร์มินอล 21 เครื่อง 1 และเครื่อง 2 (ตู้ SCB)
- เซเว่น-อีเลฟเว่น ลาดพร้าว วังหิน 78 (ตู้ SCB)
- ร้าน กิฟท์ เน็ท แอนด์ เกม ลาดพร้าว 71 (ตู้ SCB)
- เซเว่น-อีเลฟเว่น ตลาดศรีวนิช ดินแดง (ตู้ SCB)
วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น ข้อที่ 1
ไม่กด ATM ตามตู้เปลี่ยว
เนื่องจากเวลาที่ผู้ไม่หวังดี จะเอาเครื่อง Skimmer ไปติดไว้ตามตู้ต่างๆ ได้ มักจะเป็นเวลาหัวค่ำ หรือตอนกลางคืน ที่ไม่ค่อยมีคนสังเกต และไม่มีกล้องวงจรปิด ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน จึงมักเลือกตู้ที่อยู่ซอยเปลี่ยว (นี่แหละที่เขาว่า ซอยเปลี่ยวไม่ปลอดภัยเสมอ แม้กระทั่งเรื่องการกดเงิน)
วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น ข้อที่ 2
ควรเปลี่ยนรหัสบัตร ATM บ่อยๆ
ตั้งรหัสผ่านที่เดายากหน่อย ไม่เป็นเลขซ้ำ 4 ตัว และไม่บอกรหัสให้กับคนอื่น และควรตั้ง apps ที่มีแจ้งเตือน Alert เวลาเงินเข้าหรือเงินออกไว้ด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าเงินในบัญชีของคุณปอลดภัยอยู่หรือเปล่า?
วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น ข้อที่ 3
สังเกตความผิดปกติของตู้
หากคุณเคยกดเอทีเอ็มบ่อยๆ ในห้าง คงจะคุ้นชินกับรูปร่างหน้าตาของเครื่อง แต่หากพบว่า มีแผงวงจรปุ่มที่หน้าตาประหลาด และไฟครอบสอดบัตรหายไป แลดูเหมือนมีอุปกรณ์นูนๆ ขึ้นมา หลายแห่ง หรือแม้กระทั่งมีกล่องเสียบกระดาษโบชัวร์สำหรับแจก ก็ไม่ควรกด เพราะธนาคารส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายติดกระดาษแจกอยู่แล้ว แสดงว่ามีผู้ไม่หวังดีเริ่มจะเอาสิ่งผิดปกติมาเตรียมรับข้อมูลของคุณไปใช้ต่อแล้ว
หากพบเจอตู้เหล่านี้ ให้แจ้งไปที่ธนาคารต้นสังกัดบัตรของท่าน ด่วน!!!!
แต่การไม่เอาเงินเก็บไว้กับบัตรที่มี ATM นี้ก็ถือว่าเป็นการป้องกันอย่างหนึ่ง อย่างบัญชีที่เราตั้งใจว่าจะใช้เป็นเงินเก็บ มีเงินฝากเกิน 15,000 – 20,000 บาท ก็ควรจะแยกไว้ (เผื่อวันใดวันหนึ่งเงินงอกเป็นหลักแสน-ล้าน) ไม่ผูกบัญชีนั้นกับ internet Banking (ปลอดภัยไว้ก่อน) บางคนเข้าใจผิดว่าจะเว่อไปหรือเปล่า.. เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และถ้าไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวคุณก็ควรระมัดระวังและเตือนคนรอบข้างด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม :
♥ ภัยใหม่กำลังมา Bluesnarfing ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ระยะไกล
♥ E-Banking แบบไหนตอบโจทย์คุณมากที่สุด
♥ SCB มีความน่ารักจากตัวการ์ตูน Line มาให้อัพเกรดความฟรุ้งฟริ้ง!
♥ เลือกใช้ตัวไหนดี? 6 บริการจ่ายเงินออนไลน์ ข้อดีข้อเสีย ใช้จ่ายผ่าน App มือถือและไว้ช้อป
ดูข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ “บัตรเอทีเอ็ม” ได้ที่นี่ >>