ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส คืออะไร?
ช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมานี้เราจะได้ยินเรื่องราวของคำว่า #รถไฟฟ้าเสีย #รถไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้า BTS โดยรอบวันที่ 24 – 27 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมานี้ มีเหตุผลชี้แจงว่า มาจาก ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง ซึ่งมันคืออะไร? เรามาดูกัน

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส ใช้คลื่นสัญญาณ 2400 MHz เป็นตัวส่งสัญญาณสื่อสารระหว่างสถานี ซึ่งทางคุณ ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ให้สัมภาษณ์กับทาง ThaiPBS (เรื่อง “กสทช.ยอมรับ WiFi ป่วน! กระทบบีทีเอส ระบบขัดข้อง” ทางเว็บไซต์ http://news.thaipbs.or.th/content/272980) ไว้ว่า สัญญาณที่รบกวน รถไฟฟ้าบีทีเอส คือ สัญญาณ Wifi นั่นเอง
คลื่นความถี่ 2400 MHz มีความหนาแน่นทะลุเพียง 1-2 ห้องคอนกรีตเท่านั้น สามารถถูกรบกวนได้ด้วยคลื่น Wifi ง่าย ๆ ซึ่งสถานีที่มักมีปัญหาคือ สถานีพร้อมพงษ์ และ สยาม ซึ่งเป็นจุดที่มีความเข้มของสัญญาณ Wifi จากทางอาคาร ที่เปิดให้นักท่องเที่ยว Check In หรือมาจากการใช้งานของออฟฟิศ และ ผู้ใช้งานทั่วไป (สัญญาณจากค่ายมือถือที่ปล่อยจุด Wifi สาธารณะ ก็เกี่ยวข้องเหมือนกัน)
คลื่นสัญญาณไวไฟ (Wifi) รบกวนระบบส่งสัญญาณ BTS
ไม่น่าเชื่อว่าสัญญาณไวไฟ (Wifi) จะรบกวนการส่งสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ ในขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไม่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะว่าใช้คลื่นสัญญาณไวไฟ คนละคลื่นกัน
ซึ่งคลื่นที่ 2400 MHz เป็นที่นิยมแพร่หลายกับการใช้งานออฟฟิศทั่วไป จึงเป็นการยากที่จะแก้ไข ไม่ให้สัญญาณตีกัน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ก็ใช้คลื่นสัญญาณนี้สื่อสารกับ สถานี และ ทุกขบวนที่ต้องผ่าน จึงทำให้ล่าช้า สถานีละ 5 ถึง 10 นาที
ทางเพจ ได้ทำ Infographic ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการปี 2018 มา เสียและขัดข้องรวมไปแล้ว 28 ครั้ง ดังนี้
- เดือนมกราคม 2561 – เสีย 2 ครั้ง โดยแจ้งว่ารถไฟฟ้าขัดข้อง
- เดือนกุมภาพันธ์ 2561 – เสีย 7 ครั้ง โดยแจ้งว่ารถไฟฟ้าขัดข้อง
- เดือนมีนาคม 2561 – เสีย 4 ครั้ง โดยแจ้งว่ารถไฟฟ้าขัดข้อง
- เดือนเมษายน 2561 – เสีย 3 ครั้ง โดยแจ้งว่าจุดสับรางขัดข้อง / รถไฟฟ้าขัดข้อง
- เดือนพฤษภาคม 2561 – เสีย 2 ครั้ง โดยแจ้งว่ารถไฟฟ้าขัดข้อง
- เดือนมิถุนายน 2561 – เสีย 9 ครั้ง โดยแจ้งว่ารถไฟฟ้าขัดข้อง / ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง
ทางออกของปัญหาระบบสัญญาณขัดข้องนี้ ทาง กสทช. แจ้งว่า กำลังจะเปิดคลื่นสัญญาณ 800 – 900 MHz ซึ่งกันไว้สำหรับการใช้งานรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะเปิดให้บริการในปี 2562 เป็นต้นไปเท่านั้น ไม่ได้ใช้ร่วมกับคลื่นสัญญาณอื่น และไม่ได้เปิดให้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์และเอกชนประมูล ซึ่งทาง กสทช. แจ้งว่า หาก BTS ต้องการมาขอเช่าเพื่อใช้คลื่นสัญญาณนี้มาแก้ปัญหาสัญญาณรบกวนในคลื่น 2400 MHz ก็จะเปิดให้ใช้ในอนาคต ขึ้นอยู่กับว่า BTS จะจัดการอย่างไร..
อ่านเพิ่มเติม..
- ลุ้นรับ บัตรรถไฟฟ้า BTS ลายน้องหมา จาก Shopee ฟรี !
- คอนโดราคา 1 ล้าน ติดรถไฟฟ้า 2018 ยังมีอยู่ไหม?
- ส่วนลด บัตรโดยสาร รายเที่ยว และ เติมเงิน รถไฟฟ้า BTS 25 ฿ จาก DTAC
- วิธีติดตั้ง Samsung Pay เพิ่มบัตรเครดิตซิตี้
- ขายรถไฟฟ้า Mini Cooper สีเหลือง ไว้สอนลูกให้ใจเย็น