ระบาดหนัก กว่าปีก่อน 2 เท่า
หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวพิษสุนัขบ้าระบาดในฐานะโรคร้ายช่วงหน้าร้อนกันอย่างคุ้นหู เพราะว่าเป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากที่สุด สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระบาด ในบ้านเราตอนนี้ไม่สู้ดีนัก พบว่ามีตัวเลขสัตว์ที่ติดเชื้อมากกว่าปีที่แล้วถึง 2 เท่าตัว จาก 160 ตัว >> 341 ตัว – อ้างอิงจากข้อมูลสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
และตอนนี้พื้นที่สุ่มเสี่ยงในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 13 จังหวัด มาเป็น 22 จังหวัดแล้ว พื้นที่สุ่มเสี่ยงได้แก่: กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, ชลบุรี, สุรินทร์, ฉะเชิงเทรา, น่าน, บุรีรัมย์, อุบลราชธานี, เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สงขลา, ระยอง, ตาก, ศรีสะเกษ, มหาสารคาม, นครราชสีมา, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์, อำนาจเจริญ และยโสธร
สาเหตุที่ทำให้พิษสุนัขระบาดในบ้านเรา มีหลายปัจจัย
- ความขัดแย้งในองค์กรรัฐเสียเอง – ช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายพื้นที่งดฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เนื่องจากโดนตรวจสอบความไม่โปร่งใสโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
- มีผู้เสี่ยงโดนกัดมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ เพราะต้องกับช่วงปิดเทอมพอดี
- เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่พาสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกัน
ความจริง 8 ข้อ ที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับพิษสุนัขบ้า
- พิษสุนัขบ้าคืออะไร? โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากไวรัสจะโจมตีระบบประสาทจนถึงขั้นเสียชีวิต ไวรัสดังกล่าวจะอาศัยอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ และสามารถติดต่อผ่านสัตว์สู่คนได้ เมื่อโดนกัดเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาก็น้ำลายสัมผัสโดนแผลเปิด, ดวงตา จมูก หรือปาก หากว่าร่างกายคุณเเสดงอาการของโรคนี้แล้ว โอกาสรอดเเทบจะเป็นศูนย์
- สัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ มีอะไรบ้าง?เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า มีผลกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น นก, ปลา, สัตว์เลื้อยคลาย, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำไม่มีผลใดๆ ส่วนใหญ่แล้วเชื้อพิษสุนัขบ้า จะเจอในสัตว์ป่า อย่างพวก สกั้งค์, แรคคูน, ค้างคาว, จิ้งจอก เป็นต้นแต่ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า “แมว” กลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าไม่น้อยเลย ถึงแม้ทางกฏหมายแล้วเจ้าของจะต้องฉีดพิษสุนัขบ้าให้แมวก็ตาม ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าเจ้าของไม่ยอมฉีดวัคซีนป้องกัน แมวของเขาก่อนที่จะต้องไปคลุกคลีอยู่กับสัตว์ป่านอกบ้าน เชื้อพิษสุนัขบ้ายังพบได้บ่อยใน สุนัข, วัว อีกด้วย ส่วนสัตว์ประเภทม้า, แพะ, แกะ, หมู, ฟอเรท อาจจะไม่พบบ่อยนักถึงเเม้ว่าจะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย
การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และทำหมันสัตว์จรจัดไม่ให้แพร่พันธู์ ก็เป็นอีกวิธีป้องกันโรคพิษสุุนัขบ้าได้ สำหรับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่
- สัตว์ที่เป็นพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไรบ้าง? เมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกาย มันจะวิ่งเข้าสู่เส้นประสาทเดินทางไปยังสมอง สัตว์เลี้ยงอาทิเช่น สุนัข, แมว, ฟอเรท ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าอาจเเสดงอาการแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ หวาดระแวง, ดุร้าย, น้ำลายไหลมาเป็นพิเศษ, กลืนลำบาก, เดินโซเซ, หรือชักกระตุก ทั้งนี้อาจมีอาการซึมเศร้า, ทำร้ายตัวเอง,กลัวแสงแดด,สัตว์ป่าที่ติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า อาจจะแค่แสดงอาการผิดปกติทางวิสัย ยกตัวอย่าง สัตว์ที่มักจะเห็นได้ในเวลากลางคืน แต่ดันโผล่ออกมาเดินเล่นในช่วงกลางวัน
- เชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คนมีโอกาสติดมาแค่ไหนการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัข และทำหมันสัตว์ ร่วมกันการดูแลรักษาผู้ที่ถูกกัดอย่างถูกวิธี สามารถช่วยจำนวนผู้เป็นโรคพิษสุนัขในสหรัฐอเมริกาได้เป็นจำนวนมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา สัตว์ที่เป็นพาหะโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุดคือ “ค้างคาว” และยังมีบางเคสที่ติดเชืื้อพิษสุนัขบ้าจะการบริจาคอวัยวะที่ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นเคสที่หายากมากๆในประเทศอื่นๆ รวมถึงบ้านเรา สุนัขก็ยังเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัชบ้าอันดับต้นๆ อยู่ดีเพราะฉะนั้นเราก็ควรระวังเมื่อต้องเจอกับสุนัขที่มีอาการต้องสงสัยเหล่านี้
- คุณสามารถช่วยลดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดไปก่อน– พา สุนัข,แมว, ฟอเรท, ม้า หรือปศุสัตว์ ของคุณไปหาสัตวแพทย์ เขาจะให้คุณแนะนำวัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดกับสัตว์แต่ละชนิดของคุณ
– ลดโอกาสที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณติดเชื้อพิษสุนัข โดยไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของคุณเดินเล่นนอกบ้านโดยลำพัง เลี้ยงสัตว์เลี้ยงของคุณไว้ในบ้าน ทำหมันสัตว์สัตว์เลี้ยงจะช่วยลดพฤติกรรมสัตว์หนีนอกบ้าน และลดการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องการได้อีกด้วย
– อย่างติดขยะหรืออาหารสัตว์ไว้นอกบอก เพราะจะทำให้สัตว์จรจัดหรือสัตว์ป่ามาคุ้ยเขี่ยหาอาหาร
– ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ป่า นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าชั้นดีอีกตัว
– ไม่ควรอยู่ใกล้สัตว์ป่า ถึงแม้ว่ามันจะดูเชื่องแค่ไหนก็ตาม และสอนเด็กๆไม่ให้เข้าใกล้สัตว์ที่เราไม่คุ้นเคยด้วย ถึงเเม้ว่ามันจะดูเชื่องก็ตาม
– เมื่อคุณพบสัตว์ป่าที่มีอาการต้องสงสัย หรือผิดปกติ แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในท้องที่ ทางรัฐบาลมากที่สุด
– ไม่ควรปล่อยให้บ้านของคุณมีรังค้างคาวอยู่ในบ้าน - สิ่งที่ควรเมื่อสัตว์เลี้ยงของคุณไปกัดคนอื่นเข้า – แนะนำให้เหยื่อไปพบแพทย์ไปทันที เพื่อติดต่อคำแนะนำจากแพทย์
– พาสัตว์เลี้ยงของคุณไปตรวจสอบประวัติการฉีดยากับสัตวแพทย์
– แจ้งกับ หน่วยงานท้องถิ่นและกรมปศุสัตว์ เพื่อดูอาการอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 10 วัน / หรือคุณสามารถกักขังดูออกการภายในบ้านก็ได้
– รายงานอาการผิดปกติของสัตว์เลี้ยงของคุณให้เจ้าหน้าที่และสัตว์แพทย์วินิจฉัย
– อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของคุณเดินเล่น หรือหนีไปข้างนอก คุณจะต้องนำสัตว์ของคุณไว้ในบ้าน
– หลังจากที่ผ่านช่วงกักขังดูอาการแล้ว คุณจะต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง หากยังไม่เคยฉีด - สัตว์เลี้ยงของเราโดนกัด ทำอย่างไร– พาไปหาสัตวแพทย์ทันที และแจ้งกับหน่วยงานดูแลท้องถิ่น
– ถึงแม้ว่าหมา, แมว, ฟอเรท ของคุณจะเคยได้รับวัคซีนแล้ว แต่ก็จะต้องฉีดกระตุ้นทันที และกักขังเพื่อดูอาการอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าของ ตามกฏหมาย (โดยเฉลี่ยราวๆ 45 วัน) สัตว์เลี้ยงที่วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพแล้ว จะได้รับการประเมินช่วงเวลาเป็นกรณีไป
– สุนัข แมว ฟอเรท ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน และมีโอกาสที่จะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าอาจจะต้อง
ทำการการุณยฆาต หรือกักขังเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
– ส่วนสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าประเภทอื่นๆ นอกเหนือจาก สุนัข,แมว และ ฟอเรท ควรจะทำการุณยฆาตทันที - แล้วถ้าเราโดนกัดหล่ะ? – อย่าพึ่งตกใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความจะทำเมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้น รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ทันที
– พบแพทย์โดยด่วน เล่าอาการให้ฟัง ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด คุณหมดจะแนะนำวิธีรักษาป้องกัน และยังแนะนำโรคอื่นสุ่มเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจะเกิดขี้นเเทรกซ้อนได้
– ถ้าเป็นได้ กักขังสัตว์ที่กัดคุณในกล่องหรือภาชนะที่มีขนาดใหญ่และปลอดภัย โทรหาหน่วยงานท้องที่ เพื่อนำไปตรวจสอบภายหลัง หากคุณไม่สามารถจับมันได้ ให้จำรูปร่างหน้าตา หรือมองว่ามันหนีไปเเถวไหน
– ถ้าเกิดว่ามันเป็นสัตว์ป่า พยายามจับมันโดยไม่ให้ถูกกัดอีกครั้ง และถ้าจับไม่ได้และจำเป็นต้องฆ่าจริงๆ จงทำแต่ระวังอย่างทำร้ายศีรษะ เพราะเราต้องตรวจสมองเพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า
– แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการ จะช่วยป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้สรุป
โรคพิษสุนัขบ้าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ สถานการณ์บ้านเมืองเราในปัจจุบันมีการระบาดของพิษสุนัขบ้าอย่างกว้างขวาง สิ่งที่จะทำให้คุณและสัตว์เลี้ยงของคุณปลอดภัยจากเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ ก็คือการฉีดวัคซีน เมื่อถูก หมา, แมว, หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอาการต้องสงสัยติดเชื้อพิษสุนัข กัด,ข่วน,เลีย,น้ำลายกระเด็นเข้าตา,แผล เป็นต้น
ส่วนเจ้าของสัตว์เลี้ยงก็ควรหมั่นดูแลไม่ให้สัตว์เลี้ยงของตน คลุกคลีกับสัตว์จรจัด ออกไปเดินเล่นตามลำพัง ฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องฉีดกระตุ้นเมื่อถูกกัด ทั้งนี้ก็ควรที่จะแสดงจิตสำนึก ความรับผิดชอบที่ดี เมื่อสัตว์เลี้ยงของตนไปกัดคนอื่น สิ่งแรกทีควรทำเมื่อเราถูกกัดควรจะรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยลดอาการติดเชื้อไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรีบไปพบเเพทย์เพื่อขอรับวัคซีนไม่ว่าจะกรณีใดใดก็ตาม เพื่อความมั่นใจ
เมื่อเราจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับสัตว์ดุร้าย คงเป็นเรื่องยากที่จะห้ามไม่ให้มันกัดเรา แต่เราเลือกที่จะไปฉีดวัคซีนป้องกันและรักษาภายหลังได้ แต่ทั้งนี้ก็จะตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาล, ค่าเสียเวลา อันมีค่าของคุณ ถ้าเกิดมีเจ้าของสัตว์เลี้ยงรับผิดชอบก็ดีไป แต่หากเป็นสัตว์จรจัดคุณคงจะต้องควักกระเป๋าตัวเองเสียเป็นแน่ แต่หากคุณมีประกันอุบัติเหตุ ก็จะช่วยลดหย่อนค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้มากเลย