ปิ๊งไอเดีย ! เล็งออกใบสั่งยา ให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านขายยา หวังลดความแออัดในโรงพยาบาล
กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชนไม่น้อย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เสี่ยหนู อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมบอร์ด สปสช. ถึงแนวคิดให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านขายยาว่า ไอเดียเปลี่ยนสถานที่รับยานั้น ก็เพื่อลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล และแก้ปัญหาประชาชนต้องรอคิวรับยาเป็นเวลานาน
พอมีไอเดียดี ๆ แบบนี้ ออกมาทำให้ประชาชนตั้งคำถามว่า สุดท้ายหากกระทรวงสาธารณสุข รับลูกแนวคิดให้ “ผู้ป่วยนำใบสั่งยา ไปรับยาที่ร้านขายยาได้” จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านไหนได้บ้าง และร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการนี้
ไอเดียเปลี่ยนสถานที่รับยาที่แท้จริง คือ
สำหรับไอเดียออกใบสั่งยา ให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านขายยานั้น ทาง อนุทิน ชาญวีรกูล ระบุชัดว่า ต้องการลดเวลาในการอยู่ภายในโรงพยาบาลของผู้ป่วย เนื่องจากว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยจำนวนมากต้องใช้เวลารอคิวพบแพทย์ และรอคิวรับยา ก็เกือบหมดเวลาไปครึ่งวันแล้ว ฉะนั้น การให้ประชาชนสามารถนำใบสั่งยาจากแพทย์ไปเบิกยาที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้ หากทำได้ก็จะลดจำนวนคนรอคิวได้ เป็นผลให้ประชาชนรอคิวไม่เกิน 1 ชั่วโมง และพบหมอ 10-15 นาที คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย
ถ้าเปลี่ยนสถานที่รับยา ต้องไปรับที่ไหน ?
ในส่วนของร้านขายยาที่ผู้ป่วยสามารถนำใบสั่งยาจากโรงพยาบาลไปยื่นขอรับยานั้น เบื้องต้น กำหนดให้เป็นเฉพาะ “ร้านขายยา” ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 20,000 แห่งทั่วประเทศ
ขณะเดียวกันยาที่ผู้ป่วยจะสามารถนำไปรับยา ณ ร้านขายยานั้น เป็นประเภทยาทั่วไปที่อยู่ในบัญชียาหลักของ สปสช. รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังที่มีการรับเป็นประจำอยู่แล้ว โดยหลังจากที่ สปสช. จ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลแล้ว ก็จะโอนเงินไปให้ร้านขายยา ส่วนยาเฉพาะทางก็ยังรับยาที่โรงพยาบาลเช่นเดิม
และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับไอเดีย “ออกใบสั่งยา ให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านขายยา” ที่คาดว่า หากผ่านการอนุมัติออกมาเป็นนโยบายจริง น่าจะช่วยแก้ปัญหาความแออัดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลได้ไม่น้อย และที่ผ่านมีร้านขายยาที่ทดลองนำร่องใช้ระบบดังกล่าวจำนวน 36 แห่งกระจายในพื้นที่กรุงเทพฯ
แต่ก่อนที่นโยบายเปลี่ยนสถานที่รับยา เป็นร้านขายยา จะเป็นรูปเป็นร่างอย่างแท้จริง การเลือกทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการเคลมและการรักษา ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย และหากจะเลือกซื้อประกันสุขภาพ ขอแนะนำให้เลือกตามความคุ้มครองที่คุณต้องการมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทยพีบีเอส
READ MORE :
- ประกันสุขภาพแห่งชาติ คืออะไร ?
- โรงพยาบาลธงฟ้า คืออะไร? จะเริ่มใช้บริการได้จริงเมื่อไหร่?
- ถ้ามีประกันสุขภาพแล้ว ควรทำประกันอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ ?
- ประกันสุขภาพครอบครัว คืออะไร เลือกทำแบบไหนได้บ้าง
- ช่องทางบริจาค “ก้าวคนละก้าว” ช่วย 8 โรงพยาบาลอีสาน มีที่ไหนบ้าง ?