ไม่หวานหมู รัฐบาลไทยเตรียมเก็บภาษีกับ E-commerce ดัง
ทราบไหมว่า ทุกวันนี้ เวลาที่คุณสั่งของออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน เงินไปอยู่ที่ใคร? แน่นอนว่าก็ต้องไปอยู่กับเจ้าของสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ใน 100% จะกลับมาสู่ผู้ค้าชาวไทย ที่ผลิตสินค้าออกมาฝากขายกับหลายเว็บไซต์ดัง ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ต่างประเทศ อย่างไลน์ ที่อยู่ญี่ปุ่น เฟซบุ๊กและยูทูป ก็มาจากอเมริกา พ่วงกับลาซาด้าและอาลีบาบา ที่มาจากจีน ซึ่งรายได้ต่อปี ที่ส่งไปให้กับประเทศเหล่านี้ มากจนอาจกระทบให้กับภาพรวมเศรษฐกิจเราพังได้
ทำไมต้องเก็บภาษี ลาซาด้า, ไลน์, เฟซบุ๊ก, อาลีบาบา, ยูทูป
นอกจากสินค้าที่จับต้องเป็นชิ้นได้ ยังมีรายได้จากงานบริการ เช่น การจองที่พัก การจองบัตรคอนเสิร์ต ซึ่งรายได้ลักษณะที่มาจากอิเล็กทรอนิกส์นี้ กฎหมายของไทยเรายังพัฒนาไม่ทัน ซึ่งสมัยนี้มันมีอาชีพที่เกิดขึ้นมาใหม่ และบางอาชีพเราก็ไม่อยากจะเชื่อว่าจะเป็นอาชีพได้ คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาโดยใช้นวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการหารายได้ ซึ่งช่วงนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาเข้าสู่ โครงสร้างนโยบายเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 (อ่านเพิ่มเติม : ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร? ) ที่จะใช้นวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนช่วยพัฒนาประเทศ จึงตื่นตัวกับอาชีพออนไลน์มากขึ้น ภาษีที่รัฐบาลกำลังปรับปรุงจะเรียกเก็บกับเว็บไซต์ E-commerce นี้ คือ ภาษี VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แค่ปีที่แล้วปีเดียว รายได้จาก E-commerce ก็ก้าวสู่ 2,500,000,000,000 บาท (สองล้านห้าแสนล้านล้านบาท) มากจนเกือบนับเลขไม่ถูก ซึ่งกลุ่มเว็บไซต์ที่ต้องถูกเก็บภาษี มีดังนี้
- เว็บไซต์ซื้อขายสินค้า ได้แก่ Alibaba และ Lazada
- เว็บไซต์ และ โซเชียล เน็ตเวิร์ก ได้แก่ youtube, Facebook
- เว็บไซต์จองที่พัก ได้แก่ Traveloka, Expedia
- เว็บไซต์ตัวแทนจองบัตรคอนเสิร์ตและตั๋วชมการแสดง ได้แก่ Thaiticketmajor
- เว็บไซต์นายหน้าขายประกันออนไลน์ ได้แก่ MSIG, CIGNA, RABBIT FINANCE
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ทราบว่าเว็บใดจะโดยสรรพากรเรียกตรวจสอบชี้แจงก่อน และยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดว่ามีเว็บไซต์กี่เว็บ จากกี่บริษัท ที่เปิดร้านออนไลน์อยู่ในปัจจุบันนี้
เพื่อป้องกันเงินในประเทศที่กำลังจะหมุนออกไป
ไลน์ที่เราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้ เวลาซื้อสติ๊กเกอร์ หรือเล่นเกมส์ เหรียญ Coin ต่างเป็นรายได้ส่งไปญี่ปุ่น
ยูทูป เฟซบุ๊ก ที่นั่งดูคลิปตลก กด Script โฆษณาหนีกันทุกวันนี้ เงินค่าโฆษณา เป็นของบริษัท Google สหรัฐอเมริกา
ข้าวของจะขึ้นราคาไหม
เมื่อเตรียมเก็บภาษีกับ 5 เว็บนี้ ก็มีคำถามว่า สินค้าที่จำหน่ายบนเว็บไซต์เหล่านี้จะขึ้นราคาไหม? ซึ่งในหลักเศรษฐศาสตร์ กลไกราคานั้นถูกควบคุมด้วยหลายๆ ปัจจัย การขึ้นภาษีอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทางเจ้าของเว็บนำมาพิจารณากับค่าคอมมิชชั่นในการวางขายสินค้าบนเว็บไซต์ของพวกเขา ราคาสินค้าอาจจะสูงขึ้นเป็นบางรายการ และเป็นบางช่วงเวลา แต่สุดท้ายจะกลับลงมาสู่ระดับราคาที่ผู้ซื้ออย่างเราสัมผัสได้ สรุปแล้วจะมีผลกระทบกับลูกค้าอย่างเราดังนี้
- ถ้าเก็บค่า คอมมิชชั่น มากกว่านี้ พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยก็อยู่กันไม่ได้แล้วจ้า .. ได้ยินมาว่า บางเว็บไซต์ที่ให้ฝากขายของ ให้แม่ค้าเอาของสต็อกกับร้าน นอกจากเก็บค่าคอมสูง (เกือบเทียบเท่าฝากวางห้าง) แล้ว บางทีเมื่อลูกค้าขอคืนของเนื่องจากไม่พอใจในสินค้า สินค้าของร้านก็จะไม่สามารถนำมาปัดฝุ่นวางขายได้แล้ว เท่ากับว่าร้านค้าต้องเสียสินค้าเหล่านี้ไปฟรีๆ ร้านค้ารายย่อยจะหนีไปขายที่อื่นแล้ว
- ราคาสินค้าบางประเภทจะสูงขึ้น สินค้าบางรายการจะมีบ้าง ที่ราคาสูงขึ้น ซึ่งลูกค้าอย่างเราอาจจะไม่ทราบว่าพ่อค้าแม่ค้า ต้องบวกกำไรกับขั้นตอนใด คร่าวๆ คือ สินค้าจากกลุ่มธุรกิจรายย่อย ที่ผลิตสินค้าเอง จะต้องขึ้นราคาเพื่อสู้กับค่าคอมมิชชั่น แต่สินค้าอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน เครื่องดูดฝุ่น ไมโครเวฟ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง นาฬิกา และสินค้าราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป อาจจะไม่กระทบมาก
- สินค้าที่ราคาสูงเกินไป จะขายไม่ออก เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทย ไม่ได้ดูตลาดแค่เว็บใดเว็บหนึ่งเพียงอย่างเดียว ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ทำให้ผู้บริโภคคิดหนักหน่อยเมื่อต้องชำระค่าสินค้าหรือบริการสักอย่างหนึ่ง หากขายแพงเกินไป คนก็ไม่ซื้อ เพราะลูกค้ารู้ราคาตลาดนะจ้ะ
ไม่ต้องกลัวว่าการเก็บภาษี ลาซาด้า, ไลน์, เฟซบุ๊ก, ยูทูป และ อาลีบาบา จะทำให้คุณได้รับผลกระทบมาก หากมองในภาพรวมทางเศรษฐกิจ ที่เราคนไทยต่างต้องส่งเงินออกไปให้ จีน ญี่ปุ่น และ อเมริกา รวมกันกว่า 1,000,000,000,000 จริง สู้เอาเงินกลับมาไว้ในประเทศ ให้เราใช้กันเองดีกว่านะจ้ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม :
กรมสรรพากร ให้คุณตรวจสอบ ภาษีคืนในปี 2560 ออนไลน์ได้แล้ว
8 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คนยื่นภาษี 2560 รับเงินคืนจาก สรรพากรผ่าน Prompt Pay มากกว่า 60% แล้ว