โรคหายาก และ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องยังคงอยู่ในความคุ้มครองของบัตรทอง
วันที่ 16 สิงหาคม 2562 มีข่าวออกมาเกี่ยวกับการตัดสิทธิ์บัตรทอง ทำให้คนไทยหลายคนตกใจกับข่าวนี้จนคิดไปว่าเป็นการยกเลิกบัตรทองไปในอนาคต ซึ่งภายหลังจากข่าวนี้เผยแพร่ออกไปเพจต่าง ๆ อย่างไรที่มา เพราะเกิดจากการคาดการของแอดมินเฟซบุ๊กบางกลุ่มที่คาดการไปถึงการตัดงบบัตรทองนั้น ทำให้วันที่ 17 สิงหาคม 2562 ทางโฆษกรัฐบาลต้องออกมาแก้ข่าวใหม่ว่ามีการปรับปรุงแก้ไขจริง แต่เป็นการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย การเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัว รวมถึงมีบริการฉีดวัคซีน และการรักษาโรคหายากต่าง ๆ เพื่อให้การรักษาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้ยว
คนไทยเราทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการรักษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ได้รับเลขประจำตัวประชาชนในตอนแจ้งเกิด ซึ่งรหัสประจำตัวประชาชน 13 หลักนั้นสำคัญมาก เป็นการยืนยันว่าคุณมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการจากรัฐ และได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นพลเมืองประเทศไทย นอกจากเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉินที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ใน 72 ชั่วโมงแล้ว หากเจ้บป่วยด้วยโรคทั่วไป ก็ใช้สิทธิ์บัตรทอง 30 บาท รักษาได้
ปัจจุบัน “บัตรทอง” ทำอะไรได้บ้าง?
โดยปัจจุบันนี้การใช้สิทธิ์บัตรทองจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์การรักษาอื่น ที่เป็นสิทธิ์รักษาพื้นฐานจากทางรัฐ ได้แก่ สิทธิ์รักษาจากประกันสังคม และ สิทธิ์รักษาข้าราชการ โดยสิทธิ์ของบัตรทองเมื่อเปรียบเทียบกับประกันที่เราซื้อกันเอง อาจจะได้ค่าห้องและค่ารักษาต่าง ๆ ไม่เท่ากันโดยได้สิทธิพื้นฐานค่ารักษาทั้งหมด ดังนี้
- บริการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด
- ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด หลังคลอด และคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง (อาจจะหมายถึงการฝากครรภ์ แต่ไม่รวมค่าคลอด)
- การตรวจรักษา วินิจฉัยโรค และฟื้นฟูสรรถภาพทางการแพทย์
- ค่ายาและเวชภัณฑ์หลักตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
- ค่าอาหาร ค่าห้องสามัญระหว่างรักษาตัว
- การส่งตัวเพื่อรับการรักษาต่อ
นอกจากค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังได้รับสิทธิ์บริการอุดฟัน ทำฟัน และประคบแพทย์ไทย (หรือรักษาด้วยการนวดและยาสมุนไพรไทย) และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายคนพิการ (ข้อมูลจาก jvkk.go.th)
โดยคุ้มครองโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง 6 โรค ได้แก่
- ต้อกระจก
- ผ่าตัดหัวใจ
- บำบัดมะเร็งด้วยคีโม
- เพดานปากเทียม
- ยาต้านไวรัส HIVs
- ล้างไตทางช่องท้องสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ซึ่งการมีโครงการ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นี้มีแนวคิดที่จะถูกปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง มีข่าวว่าจะยกเลิกบัตรบ้าง หรือ เปลี่ยนชื่อและนโยบายให้บัตรทองนี้ใช้ได้กับผู้ยากไร้เท่านั้น
แต่หากต้องลดสิทธิ์ของบัตรทองไปจะกระทบกับผู้ป่วยที่เคยใช้บริการอยู่ อย่างเช่น ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรับยาบรรเทาอาการ เช่น โรคความดันโลหิต, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
ทำอย่างไรถึงได้รับบัตรทอง?
เมื่อเด็กแรกเกิดจะได้รับสิทธิ์ “บัตรทอง” จะต้องมีคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งเป้นบุคคลที่ได้รับสัญชาติไทย มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักที่ทางรัฐออกให้ สามารถติดต่อขอทำบัตรทองได้ที่ ทุกสถานีอนามัย, โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน หรือ สาธารณสุขจังหวัด เวลา 8.30 – 16.30 น. วันจันทร์ถึงศุกร์เท่านั้น
สรุปบัตรทอง ยังมีอยู่ หรือ ยกเลิก และถูกตัดงบหรือไม่?
สรุปแล้วข่าวที่ได้ยินกันว่าบัตรทองจะถูกยกเลิกหรือ บัตรทองถูกตัดงบ นั้นไม่เป็นความจริง (ยืนยันที่มาจากโฆษกรัฐบาลได้) และจากข่าวการเพิ่มงบสิทธิ์บัตรทอง จะเกี่ยวข้องกับโรคที่ต้องรอการอัพเดทข่าว ต่อไปนี้
- การคิดค่ารักษาพยาบาล คิดเป็นรายหัว
- เด็กเล็กได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วง คาดว่าเป็นวัคซีนโรต้า
- ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้
- คัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV Test
- ผ่าตัดแผลเล็กเพื่อลดเวลาแอดมิทเป็นผู้ป่วยใน
- ล้างไตแบบที่ทำผ่านหน้าท้องด้วยเครื่องล้างไตที่ทำที่บ้านได้
- ยาป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรักษาสมัยใหม่ที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยทั่วไปได้รับการรักษาที่ดีขึ้น ตามเทคโนโลยีการรักษาที่พัฒนาจากช่วงแรกที่เพิ่งเริ่มออกโครงการบัตรทองมา
และมีโครงการที่จะให้ประชาชนที่มารักษาตรวจอาการที่โรงพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิ์บัตรทอง สามารถนำใบสั่งยา ไปซื้อยาจากร้านขายยาที่ได้รับใบอนุญาตใกล้บ้านท่าน โดยที่ไม่ต้องแออัดรอคิวจ่ายยาที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ๆ ต้องมารอดูกันว่าโครงการนี้จะมีทิศทางที่แน่ชัดต่อไปอย่างไร คาดว่าจะได้คำตอบไม่เกินเดือน ก.ย. 62 นี้
ที่มาจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ www.nhso.go.th
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ “บัตรทอง” ที่นี่
- ผู้ถือบัตรทอง สามารถรับสิทธิบริการสาธารณสุข กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตได้
- สิทธิบัตรทอง รักษาโรคอะไรได้บ้าง
- ลงทะเบียนสิทธิบัตรทองในกรุงเทพที่ไหนได้บ้าง?
- ประกันสุขภาพแห่งชาติ คืออะไร ?