อย่าลืมไปเลือกตั้ง 24 มี.ค. 62 ได้ถึง 17.00 น.
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 นี้ เรามีนัดกับว่าที่รัฐบาลใหม่กันที่ทุกเขตเลือกตั้ง ไป ๆ มา ๆ นี่เราไม่ได้เลือกตั้งกัน 8 ปีแล้วหรือนี่! รวมระยะเวลาแล้วลูกโตเข้า ป.2 กันเลยทีเดียว สำหรับใครที่ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตไม่ทัน ไม่ต้องตกใจไป .. ให้ไปที่เขตตามทะเบียนบ้าน วันที่ 24 มีนาคม 2562 กันให้ทันในเวลา 17.00 น (ถ้าอยู่ต่างจังหวัดก็ต้องรีบจองตั๋วรถทัวร์กลับบ้าน) >> จองตั๋วรถทัวร์ออนไลน์ ทำอย่างไร?
.. มีคำถามที่หลายคนสงสัยว่าหากไม่ไปเลือกตั้งในครั้งนี้จะเกิดอะไรขึ้น? ก็จะเสียสิทธิ์ทางการเมืองในการลงสมัคร ส.ส. หรือการรับราชการเป็นข้าราชการท้องถิ่นต่าง ๆ ตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน นะคะ นี่ถ้ารู้ตัวว่ายังไม่มีความรู้เรื่องเลือกตั้ง ต้องรีบศึกษากันจากบทความนี้นะ
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้คุณจะได้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เพื่อนำมากาเลือกจาก โลโก้ของพรรค ที่ต้องอัพเดทก็คือหากกาผิดที่ หรือ ทำเครื่องหมายอื่น จะทำให้บัตรใบนั้นเป็นบัตรเสีย อาทิ กาเครือ่งหมายถูก √ , หรือเลือกพรรคที่ถูกยุบไปแล้ว หลังจากนั้น คะแนนของพรรคต่าง ๆ จะนำไปคำนวณลำดับสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้น
ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง ปี 2562 นี้จะมี Logo พรรค กับชื่อพรรคการเมือง อย่างเดียว ในแต่ละเขตจะเรียงชื่อเบอร์กับพรรคไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะดูจากป้ายหาเสียงที่เราเห็นอย่างเดียวแล้วไปกาไม่ได้ ต้องไปเช็ครายชื่อ ส.ส. พรรค ที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือ หน้าเว็บไซต์ที่เราบอกไว้ด้านล่าง เพราะฉะนั้นเท่ากับว่า เราเลือก ส.ส. จากพรรคเป็นหลักนั่นเอง แต่หากรัก ส.ส. คนไหนเป็นพิเศษ ก็ต้องจำให้ได้ว่าเขาสังกัดพรรคอะไร
เว็บไซต์ตรวจสอบผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 2562 คือเว็บ https://election.bora.dopa.go.th หากถูกส่งลิ้งค์ไป URL อื่น นั่นเป็นเว็บปลอมที่หลอกเอาเลขบัตรประชาชนแน่ ๆ เพราะฉะนั้นให้ดูที่หัวเว็บดี ๆ ว่าใช่ election.bora.dopa.go.th หรือไม่? วิธีการใช้งานคือ กรอกเลขประจำตัวประชาชน และดูรายละเอียดลำดับชื่อของคุณ รวมถึงเขตเลือกตั้ง และพื้นที่ที่ต้องเดินทางไปเลือกตั้งได้ทันที
ตรวจสอบรายชื่อ ส.ส. ที่ลงในเขตเลือกตั้งของคุณได้จากเว็บไซต์ https://elect.in.th/candidates ซึ่งบางพรรคก็ไม่ได้ส่ง ส.ส. ในเขตของคุณ และแต่ละเบอร์ ในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ ก็เรียงลำดับไว้ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องจำเบอร์พรรคในเขตตัวเองให้ดี ๆ และต้องเช็ครายชื่อ ส.ส. จากเว็บนี้และหน้าหน่วยเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งคุณสามารถอ่านนโยบายพรรค และค้นประวัติ ส.ส. จาก Google ได้ครบ จบในเว็บเดียว ดังนี้
เมื่อเปิดหน้าเว็บผ่าน “คอมพิวเตอร์ ”
จะได้หน้าดังนี้
เมื่อเปิดหน้าเว็บผ่าน “มือถือ”
จะได้หน้าดังนี้
กรอกรหัสไปรษณีย์ เพื่อแสดงชื่อผู้สมัคร
ค้นหาประวัติผู้สมัครจาก Google
การนับคะแนนบัตรเลือกตั้งปี 2562 นี้ อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยเราจะมี ส.ส. ทั้งหมดทั่วประเทศ 500 คน
- ส.ส.เขต 350 คน
- ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน
ใครที่ไม่เข้าใจสูตรการคำนวณ ก็ลองอ่านความคิดเห็นที่สมาชิก Pantip ท่านนี้อธิบายไว้ จะเข้าใจง่ายขึ้น สรุปคือ วิธีการจัดสรรคะแนนนี้จะทำให้พรรคเล็ก ๆ ได้เป็น ส.ส. กันมากขึ้น จึงมีพรรคใหญ่ ๆ แบ่ง ส.ส. แตกออกมาเป็นพรรคเล็กเยอะมากในการเลือกตั้งครั้งนี้
เราอาจจะยังไม่ทราบเลยว่าเป็น “ส.ส. มีเงินเดือนเท่าไหร่” ในที่นี้เป็นข้อมูลปี พ.ศ.2555 ค่ะ เป็นออกเป็น เงินเดือน + ค่าประจำตำแหน่ง ดังนี้
- ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี = 119,920 บาท (74,420 + 45,500)
- ตำแหน่งรัฐมนตรี ทุกกระทรวง = 115,740 บาท (73,240 + 42,500)
- ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย ทุกกระทรวง = 113,560 บาท (72,060 + 41,500)
- ตำแหน่งประธานรัฐสภา = 113,560 บาท (64,000 + 50,000)
- ตำแหน่งประธานวุฒิสภา = 108,500 บาท (63,000 + 45,500)
- รองประธานรัฐสภา = 108,505 บาท (63,000 + 45,000)
- รองประธานวุฒิสภา = 105,500 บาท (63,000 + 42,500)
- ผู้นำฝ่ายค้าน = 108,500 บาท (63,000 + 45,500)
- ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา และ สภาผู้แทนราษฎร = 105,500 บาท (63,000 + 42,500)
- ส.ส. / ส.ว = 104,000 บาท (63,000 + 41,000)
เพิ่งรู้ว่าเงินเดือน ส.ส. หลักแสนกันเลยทีเดียว หลังจากวันที่ 24 มีนาคมนี้ เราจะได้รู้กันแล้วว่าใครจะได้เป็น ส.ส. เขตเรา และใครมีโอกาสจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่ง 2 – 3 วันก็น่าจะพอเดาผลออก และจะมีการเปิดสภายืนยันอีกครั้ง เพื่อเลือกตั้งนายก และนำรายชื่อขึ้นถวายให้พระมหากษัตริย์ประกาศลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงมาเป็นพระราชกิจจานุเบกษากันอีกครั้ง
..ใครที่อายุเกิน 18 ปี แล้วก็อย่าลืมศึกษาเรื่องนี้ไว้นะ เดี๋ยวจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนะจะบอกให้!