เมนูของหวานไทย มีที่มาจากคนญี่ปุ่นหรือนี่?
เข้มข้นกันทุกตอน ละครดัง จากหนังสือบุพเพสันนิวาส ตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ เรื่องราวการทำขนมไทย ประวัติศาสตร์ความหวานเลื่องชื่อของขนมชาววัง ซึ่งมาจาก “ท้าวทองกีบม้า” รับบทโดย ซูซี่ สุษิรา แน่นหนา แม้ว่าจะทราบแล้วว่าเธอนี่แหละ เจ้าแม่การทำขนมแต่ก็ยังงงอยู่ว่าเธอเป็นผู้สร้างสรรค์เมนูใดบ้าง? วันนี้ Promotions.co.th มีคำตอบมาบอกกันค่ะ
ข้อมูลจากจดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ระบุว่า นางฟอลคอน ได้ส่งจดหมายไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส ให้แบ่งส่วนรายได้ที่เคยมอบให้กับสามีของนางบ้าง เมื่อครั้งที่นางต้องคอยติดตามสามี เพื่อรับหน้าที่เป็นผู้ดูแล อาหารคาวหวาน หน้าห้องเครื่อง และนางก็พรรณาว่าตัวเองได้รับความทุกข์ยากเพียงใด
อย่างที่ทราบว่า “นางมะลิ” เป็นชาวต่างชาติ ที่มีเชื้อสายทั้งญี่ปุ่น และ แขก รวมกัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก แต่ก็เติบโตในประเทศไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ แถมยังต้องถูกแต่งงานอย่างจำใจ กับคนใหญ่คนโตเป็นถึงขุนนางฝรั่งเศส แต่นางฟอลคอน ก็ยัง สำนึก รัก ที่จะทำงานสนองพระเดชพระคุณ ราชวงศ์อยุธยามาหลายรุ่น แม้ว่าสามีจะตายไป ตัวนางกับบุตรชายเองก็ยังรับราชการ เกี่ยวกับการดูแลอาหาร เสื้อผ้า ในวัง โดยมีบันทึกว่า สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ นางฟอลคอนเอง มีสตรีอยู่ในบังคับบัญชาถึง 2,000 คน เทียบเท่ากับพนักงาน บริษัทมหาชน ดี ๆ สัก ออฟฟิศหนึ่งในปัจจุบัน
ด้วยความที่นางมีเชื้อสายญี่ปุ่น และ สมรสกับฝรั่ง ดังนั้นจึงนิยมอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะฝรั่งติดหวาน มากกว่าอาหารติดเค็มแบบไทย ๆ จึงได้มีการดัดแปลงวิธีการทำขนมแบบฝรั่ง ขึ้นถวาย ซึ่งมีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ไว้ดังนี้ ขนมทองหยิบ, ขนมทองหยอด, ขนมหม้อแกง, ขนมสังขยา
1 ขนมทองหยิบ / ทองหยอด
อาหารของหวาน ที่ทำจากไข่เมนูยอดฮิต ที่รับประทานกันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยนี้ เดิมทีเป็นของชาววังเท่านั้น พอชาววังออกมาอยู่กับบ้านต่างจังหวัด ก็นำความรู้นี้ติดตัวมาทำขนมขายด้วย อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ต่างกันตรงที่ ทองหยอด มีส่วนผสมของถั่วเป็นไส้อยู่ข้างใน ใครที่ไม่ชอบกลิ่นถั่ว ก็ต้องกินทองหยิบ แทน
2 ขนมฝอยทอง
ขนมหวานที่มาเป็นเส้น ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นของกินเล่นยอดฮิตได้ มีชื่อ ภาษาไทยว่า “ฝอยทอง” เป็นของหวานที่หลายคนรัก และซื้อเป็นของฝาก วิธีการทำคือ นำไข่แดง ตีกับแป้งจำนวนไม่มาก และต้มน้ำเชื่อมให้เดือด พอน้ำเดือด ก็นำไข่นี้ราดใส่กระชอน ให้มันเป็นเส้นลอยน้ำ แล้วใช้ส้อมตักเส้นขึ้นมาจับเป็นก้อนเหมือนขนมจีน แล้ววางบนภาชนะที่สะอาด
3 ขนมหม้อแกง / สังขยา
หม้อแกง หรือ สังขยา เป็นเมนู ของฝากจากภาคใต้ แม่กิมไล้ แต่ความจริงมีที่มาจาก ท้าวทองกีบม้านี้ โดยใช้วิธีผสมไข่กับครีม กวนจนกลายเป็นสังขยา รับประทานคู่กับ ข้าวเหนียว อิ่มท้องได้ หรือ ผสมกะทิ ทำเป็นขนมหม้อแกง มีกลิ่นไหม้ ๆ ติดนิดหน่อย หอมอร่อย กับน้ำตาลมะพร้าว ..พูดแล้วมดขึ้นทีเดียว
4 ขนมปังขิง / คุ้กกี้
ถ้าใครเคยดูละครเรื่องสี่แผ่นดิน จะพบว่า ขนมที่หน้าตาเหมือนคุ้กกี้ และ ขนมปังขิง นี้จะถือเป็นของหวานแบบโบราณ ที่บรรจุใส่ขวดป้องกันความชื้น เก็บไว้กินยามท้องว่างได้เป็นอย่างดี มีที่มาจากท้าวทองกีบม้าเช่นกัน บางสูตรก็ใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วย ซึ่งตกทอดตำรับจากรุ่นสู่รุ่น มาถึงปัจจุบันนี้
5 ลูกชุบ
ขนมที่ทำจากถั่วเขียว กวนกับน้ำตาลมะพร้าว ใส่เนื้อมะพร้าวขูดหน่อย ๆ ให้พอหอม และตกแต่งด้วยสีสัน ปั้นเป็นรูปทรทงต่าง ๆ และเสียบไม้จุ่มลงในวุ้นเจลาติน (สมัยก่อนมีเจลาตินได้ยังไง?) เป็นขนมไทยที่หวานไม่มาก ได้ประโยชน์จากไฟเบอร์ในมะพร้าวอีกเพียบ
นอกจากนี้ยังมีขนม ทองม้วน, ทองพลุ,ทองโปร่ง, กะหรี่ปั๊บ,สัมปันนี,ขนมไข่เต่า อีก ที่คาดว่ามาจาก Creative ของท้าวทองกีบม้า ละครยังไม่จบ แต่ก็สงสัยว่าชีวิตของ “ท้าวทองกีบม้า” นี้จะมีจุดจบที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร? สปอยล์ให้ฟังได้ว่า (เพราะวิกีพีเดียเขียนไว้แล้ว) สามีของนางถูกประหารชีวิต แต่นางก็ไม่ได้มีอาการเสียใจแต่อย่างใด และไม่ให้สามีจูบลาลูกด้วยซ้ำ ตระกูลฟอลคอน ถูกยึดบ้าน และนางก็แบ่งสมบัติออกเป็น 3 ส่วน แต่ปรากฎว่านำกลับมาได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น และ คนที่เอาสมบัติของนางไป ก็เรือล่มเสีชีวิตอยู่ที่แหลมกู๊ดโฮป สมบัติที่ฝากไว้นั้นก็หายไประหว่างทางบนเรือนั่นเอง
ใครที่หลงรักเมนูอาหารที่ทำจากไข่นี้มาโดยตลอด ก็คงทราบกันแล้วว่า ใครเป็นต้นกำเนิด ฟังอย่างนี้แล้ว นอกจากรสมือจะอร่อย ความจงรักภักดี ต่อแผ่นดินเกิด อย่าง สยาม ก็ทำให้เรื่องราวของเธอได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างสวยงาม แถมยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณกับครอบครัวมาอย่างยาวนาน คาดว่าคงมีทายาท สืบเชื้อสาย อาศัยอยู่ในประเทศไทยเราถึงทุกวันนี้
และเรื่องราวที่นางได้เขียนจดหมายไปยังรัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้รับเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงกลางชีวิต พอเหมาะกับที่ลูกชาย 2 คน ได้เข้ารับราชการกับรัฐบาลไทย และถูกบันทึกเรื่องราว เป็นหนังสือที่ชื่อว่า “ท้าวทองกีบม้า” โดย คึกเดช กันตามระ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ เซ็ตที่เกี่ยวข้องกับนิยายบุพเพสันนิวาส หามาอ่านกันได้ค่ะ
Read More :
- วิธีห่อขนมจีบ 5 แบบ ตั้งแต่ง่ายถึงยาก (มีคลิป)
- รวมเมนูขนมหวาน เครื่องสำอาง และสถานที่จัดงาน ต้อนรับวันคริสมาสต์ 2017- ปีใหม่ 2018
- รีวิวขนมคัพเค้กในเซเว่น ทำง่ายไม่ต้องง้อเตาอบ! ราคา 20 บาท
- รีวิว 12 ขนมในเซเว่น มาพร้อมความน่ารักเต็ม 10 ราคาไม่แพงด้วยนะจ๊ะ!
- 7 ร้านอาหารที่ไม่ปิดช่วงสงกรานต์ 2561
**ที่มาจาก วิกีพีเดีย “ท้าวทองกีบม้า”