ทำไม! เราต้องตรวจเครดิตบูโร
หากแม้ว่าคุณไม่มีแพลนที่ยื่นเรื่องขอสินเชื่อ หรือว่าทำบัตรเครดิตนั้น แต่คุณก็สามารถที่จะยื่นขอรายงานข้อมูลเครดิตของคุณได้เช่นกัน การยื่นครั้งนี้นั้น จะทำให้คุณได้ตรวจเช็ค รวมถึงทำให้คุณรู้รายละเอียดมากขึ้น
เป็นการตรวจเช็คข้อมูลเครดิตของคุณไปในตัว อีกทั้งหากคุณเคยมีการขอสินเชื่อและได้ทำการปิดบัญชียอดหนี้ไปแล้วนั้น ยอดได้ถูกปรับเป็นศูนย์จริงรึเปล่า นอกจากนี้หากมีหนี้งอก หนี้สินที่คุณไม่ได้เป็นคนทำ ก็จะทำให้คุณได้ทราบและรีบดำเนินการตรวจสอบได้ทันถ่วงที อีกทั้งยังรู้ถึงประวัติการชำระหนี้ของคุณที่ผ่านมาอีกด้วย
ข้อมูลเครดิต คืออะไร?
ข้อมูลเครดิต คือ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของคุณ ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล
ของบริษัทข้อมูล และจะปรากฎในรายงานข้อมูลเครดิต เมื่อมีผู้ขอเรียกดู
โดยข้อมูลเครดิต ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
และประวัติการชำระสินเชื่อ
รายงานข้อมูลเครดิต คืออะไร?
รายงานข้อมูลเครดิต คือ รายงานที่บริษัทข้อมูลเครดิตนั้น จัดทำขึ้นและให้สิทธิสถาบันการเงินที่ได้
รับความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลเรียกดู หรือเจ้าของขอมูลก็สามารถเรียกดูได้
โดยรายงานข้อมูลเครดิตจะเเสดงข้อมูลสินเชื่อ ประวัติการชำระสินเชื่อ สถานะทุกบัญชีที่เจ้าของข้อมูล
มีอยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่งที่เป็นสมาชิกบริษัมข้อมูลเครดิต
1. เตรียมตัวก่อนไปขอสินเชื่อ – กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ ขอบัตรเครดิต ดังคำว่า “รู้เราก่อนไปหาเขา”
หากคุณมีแพลนที่จะทำเรื่องขอสินเชื่อ ขอกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ รวมไปถึงขอบัตรเครดิตนั้น คุณได้เคยเช็คประวัติการชำระหนี้ หรือที่เรียกว่าข้อมูลเครดิตของคุณกันแล้วรึยัง ซึ่งแน่นอนว่าในการขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมทางการเงินนั้น สถาบันการเงินต่าง ๆ จะตรวจสอบและเช็คประวัติการชำระหนี้ของคุณกับบริษัทข้อมูลบัตรเครดิต โดยเครดิตบูโรนั้นเป็นเพียงตัวกลาง ในการให้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเครดิต ซึ่งมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ดีและไม่ดีของลูกค้าให้กับสถาบันการเงินเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการทำหน้าที่ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) แต่อย่างใด หากพบว่าคุณมีการผิดนัดค้างชำระจากสถาบันการเงินรายอื่นนั้น สถาบันการเงินที่คุณขอยื่นเรื่อง จะเป็นฝ่ายที่ตัดสินใจในการ “อนุมัติหรือไม่อนุมัติ” ในการขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของคุณเอง
2. ตรวจว่ามี “หนี้งอก” หรือหนี้ที่ไม่ใช่ของเราหรือไม่
เมื่อคุณยื่นขอรายงานข้อมูลเครดิตไปนั้น หากพบว่าคุณมีหนี้ที่ไม่ใช่ของคุณขึ้นมานั้น ให้คุณติดต่อไปยังสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อตรวจสอบและชี้แจ้งโดยทันที
3. ตรวจว่า “มีประวัติค้างชำระหรือไม่”
กรณีที่คุณมีการผิดนัดชำระหนี้สิน และค้างชำระเกิน 90 วัน สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้าง ให้บริษัทข้อมูลเครดิตต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ค้างชำระเกิน 90 วัน และบริษัทข้อมูลเครดิต จะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงินไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีก เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิต ได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงิน
ถ้าหากมีข้อมูลไม่ถูกต้อง คุณไม่เคยค้างชำระหรือผิดนัดนั้น คุณสามารถที่จะยื่นขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ได้ที่สถาบันการเงิน และเมื่อสถาบันการเงินตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริง พบว่าข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง สถาบันการเงินจะทำการส่งข้อมูลที่ถูกต้องกลับไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตให้แก้ไข และแจ้งผลการตรวจสอบให้คุณทราบภายใน 30 วัน
4. ตรวจว่า “เมื่อชำระหนี้ที่ค้างหมดไปแล้ว” มีสถานะปิดบัญชียอดหนี้ เป็นศูนย์หรือไม่
เมื่อคุณได้ทำการปิดบัญชียอดหนี้ไปแล้วนั้น หากยื่นเรื่องขอรายงานข้อมูลเครดิต อย่าลืมตรวจสถานะการปิดบัญชียอดหนี้ของคุณว่าเป็น “ศูนย์” หรือไม่ หาก “ไม่เป็น” ให้คุณติดต่อไปยังสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อขอตรวจสอบโดยทันที
>>ในกรณีที่ชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว ประวัติจะค้างอยู่นานเท่าไหร่ ?<<
5. ตรวจว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ถูกต้องหรือไม่
ข้อมูลส่วนบุคคล ยกตัวอย่าง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคลจะเป็น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น หากมีข้อมูลไม่ถูกต้องสามารถยื่นขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่บริษัทข้อมูลเครดิตทันที
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก บริษัทข้อมูลแห่งชาติ