ศาลบังคับเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาคืนเจ้าหนี้ไม่ได้ ถ้าลูกหนี้มีรายได้ไม่ถึง 20,000 บาท
เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 60 ที่ผ่านมา มีประกาศ พระราชกิจจานุเบกษา เพิ่มเติม เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๖๙ ก ราชกิจจานุเบกษา โดยแก้ไขเรื่องทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ซึ่งสิ่งต่อไปนี้ ศาลไม่สามารถเรียกมาเพื่อคืนให้กับเจ้าหนี้ได้ ..ฟังแล้วเจ้าหนี้จะหดหู่นิดหน่อย ซึ่งผลกระทบที่มีมาแน่ๆ คือ
- 1 ผู้ที่มีรายได้ 15,000 บาท จะไม่สามารถกู้สินเชื่อบ้านได้
- 2 ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท จะไม่สามารถขอสินเชื่อได้
- 3 อาจจะเกิดหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น เพราะผู้มีรายได้น้อยจะไม่สามารถกู้สถาบันการเงินได้ (หากสถาบันการเงินรับความเสี่ยงได้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
ตามภาษากฎหมาย ทรัพย์สินต่อไปนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ได้แก่
- เบี้ยเลี้ยง จาก เงินเดือน หรือรายได้ครั้งคราว ที่ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท
- ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด ที่จ่ายแก่ลูกหนี้หรือคู่สมรส หรือ ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่
- เงินสงเคราะห์จากทางราชการ เงินบำนาญ ที่จ่ายแก่ลูกหนี้หรือคู่สมรส หรือ ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่
- ค่าชดเชยหรือรายได้อื่นของบุคคลที่สามที่รวมแล้วไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
- เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลุกหนี้ได้รับอันเนื่องมาจากความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศบตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าหน้าที่บังคับคดีเห็นสมควร
ถ้าเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยต่อศาล สามารถยื่นเรื่องภายใน 15 วัน นับตั้งแต่มีการกำหนดจำนวนเงินเพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้
แต่อ่านดูแล้วก็ไม่โหดร้ายสำหรับเจ้าหนี้เท่าไหร่ เพราะจำนวนเงินรายได้ดังกล่าว มีเคสที่รวมถึงรายได้ของคู่สมรส และ ญาติ ของลูกหนี้ด้วย หากลูกหนี้ของคุณมีรายได้ไม่ถึง 20,000 บาท แต่เมื่อรวมกับคู่สมรส หรือ ญาติ (ลูกก็รวม) อย่างน้อยต้องเกิน 20,000 บาทอยู่ดี กฎหมายที่เพิ่มเติมมาใหม่นี้ อาจจะให้ผลดีกับทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็เป็นได้
กฎหมายนี้ไม่ได้ออกมาบังคับใช้เพราะเคสกรณีลูกหนี้ไม่จ่าย เงินกู้ กยศ.เพียงอย่างเดียว เพราะว่ามีหลายกรณีที่การกู้ยืมนี้มีปัญหา แล้วเกิดการบังคับจ่ายขึ้น ซึ่งปรับรายได้ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบันก็เท่ากับว่า ทางเจ้าหน้าบังคับคดี ต้องทำงานแตกต่างจากเดิมมากขึ้น ต้องช่วยเหลือทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ดูถึงความพร้อมในการชำระเงินคืนด้วย
ไม่ใช่ว่าพอลูกหนี้มีรายได้ไม่ถึง 20,000 บาท ก็ลอยตัวสบายใจไป แล้วเจ้าหนี้ก็ต้องมานั่งร้องไห้ เมื่อเกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น ทางเจ้าหน้าที่บังคับคดีจะดูไปถึงรายได้ของคู่สมรส ญาติ ก่อนที่จะมาประเมินว่าควรจะใช้หนี้ด้วยทรัพย์สินส่วนใด นอกจากนี้ยังออกมาเพื่อปกป้องลูกหนี้ หากลูกหนี้เสียชีวิตทางเจ้าหนี้จะมาบีบเอาเงินญาปณกิจกับญาติ ณ เดี๋ยวนั้นเลยไม่ได้ นอกจากว่าลูกหนี้จะทำกองทุนไว้หลายที่ (จากบริษัทที่ทำงาน หรือจากประกันชีวิต และอื่นๆ) ก็ต้องรอให้งานศพจัดเสร็จก่อนแล้วค่อยจัดสรรเรื่องหนี้กันต่อไป
ดูผลิตภัณฑ์ “การเงิน” ทั้งหมดที่นี่ >>