อีกกี่สิบปี เราจะยังมีแรงทำงานหาเงินอย่างนี้อยู่หรือเปล่า?
ช่วงนี้ถ้าใครได้เข้าไปอ่านเรื่องราวการเงินใน Pantip จะเห็นว่าเริ่มมีผู้มาตั้งกระทู้เกี่ยวกับการเก็บเงินไว้ตอนแก่ชรากันบ้างแล้ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 5-6 ปีก่อนมีแต่คนอยากจะเป็นเถ้าแก่มือใหม่ ที่มีธุรกิจเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง แต่ปี 2018 เป็นต้นมาจะเห็นกระแสกลับมาอยู่ที่ผู้ที่ต้องการทำงานในระบบ เป็นพนักงานเอกชน พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลงทุนกับหุ้น หรือกองทุนต่าง ๆ เพื่อมีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
คนที่รีบวางแผนการเงินของชีวิตไว้ก่อนจะทำให้ช่วงที่อายุเพิ่มขึ้นนั้นทำงานหนักน้อยลง และยังคงมีรายได้เข้ามาเสมอ ใครที่อายุยังไม่ถึง 30 ปีแล้วไม่เคยนึกถึงเรื่องเก็บออมเลย ช่วงอายุ 50 ปีเป็นต้นไปก็จะเริ่มอยู่ยากขึ้น เวลาเจ็บป่วยต้องไปใช้การรักษาด้วยสิทธิพื้นฐาน ที่ต้องต่อคิว ต่อแถวเป็นเวลานาน และได้ยารักษาแบบทั่วไป ซึ่งตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าเทคโนโลยีการรักษาพยาบาลจะไปไกลแค่ไหน และรัฐจะส่งเสริมด้านสุขภาพให้เจริญไปแค่ไหนแล้ว
วันนี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำแนะนำของเพื่อน ๆ สมาชิก Pantip จัดอันดับเป็น 5 วิธีที่เห็นผลสูงสุดเพื่อเก็บออมมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณ หากใครยังไม่คิดจะเก็บเงินก็ขอให้อ่านไว้เป็นความรู้
5 วิธีเก็บเงินเอาไว้ใช้หลังเกษียณ
1) หางานอยู่ในสิทธิ์ประกันสังคมให้ได้นานเกิน 15 ปี
เราสามารถเบิกเงินมาใช้หลังเกษียณทุกเดือน ๆ จากประกันสังคมได้เดือนละประมาณ 5,000 กว่าบาท แต่ต้องส่งสบทบกับกองทุนประกันสังคมมาแล้วกว่า 180 เดือน ซึ่งคิดเป็นระยะเวลาทั้งหมดก็ 15 ปีด้วยกัน เงินเบิกส่วนนี้เรียกว่า “เงินชราภาพ” ซึ่งจะจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ส่งสมทบเกิน 180 เดือน แต่หากส่งไม่ถึงจะได้เป็นบำเน็จ ซึ่งได้ไม่มากนัก
2) หางานที่บริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือหลังจากทำงานครบ 5 ปีขึ้นไป บริษัทจะสมทบเงินให้ก้อนหนึ่ง โดยแต่ละเดือนคุณจะต้องจ่ายเงิน 5% จากเงินเดือน เพื่อเข้าสมทบกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พอครบ 5 ปี บริษัทก็จะสมทบให้อีกเท่าหนึ่ง หากเงินเดือนเกิน 15,000 บาทไปแล้ว ก็ถือว่าช่วงนั้นจะได้เงินเก็บเป็นหลักแสนกัน
3) ลงทุนออมในกองทุน LTF / RMF
การลงทุนถือว่าจะได้กำไรเกิน 10% แต่การลงทุนกับกองทุนต้องทำการบ้านศึกษารายละเอียดกองทุน คือมีโอกาสที่ฝากเงินไป 5 ปี แล้วเงินจะหายก็มี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อฝากกับกองทุนทุกกองทุนแล้วเงินจะหาย ส่วนใหญ่จะได้กำไรกัน แต่ต้องรอ 5 ปี 10 ปี ขึ้นอยู่กับการปันผลของกองทุนนั้น
4) ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์
หากมีที่ดิน มีบ้าน ก็นำไปให้ผู้อื่นมาเช่น เกิดเป็น Passive Income ให้คุณได้มีเงินเก็บเห็นยอดมากกว่าการปันผลหุ้น หรือกองทุนเสียอีก คนไทยสมัยก่อนจึงนิยมซื้อห้องแถว หรือตึกแถวไว้ให้คนอื่นเช่า สร้างรายได้เพิ่มจากงานประจำ
5) ทำประกันสุขภาพ
การเจ็บป่วยเป็นความเสี่ยง เพราะค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งทำเอาเงินเก็บในชีวิตเกือบสูญ หากไม่มีประกันก็จะต้องจ่ายเองเกือบทั้งหมด และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคร้ายแรงอย่าง ความดันโลหิต, เบาหวาน, มะเร็ง ควรรีบทำประกันสุขภาพไว้ ป้องกันความเสี่ยงที่ต้องเสียเงิน
แม้ว่าประกันสุขภาพจะเป็นการจ่ายทิ้ง แต่การจ่ายต่อปีก็คุ้มค่าและสุดท้ายก็จะได้เคลมในจำนวนเงินพอ ๆ กับที่จ่ายไปนั่นเอง
นอกจากนี้ใครที่ปัจจุบันยังมีหนี้อยู่ จำเป็นต้องรีบเคลียร์หนี้ที่เป็นหนี้เสียอย่างหนี้บัตรเครดิตให้หมดไปเสียก่อน เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ เข้าจะกระทบกับการเก็บเงินสดของคุณยามเกษียณ ปัจจุบันมีสินเชื่อที่ไว้รีไฟแนนซ์บัตรเครดิตให้ลดยอดจ่ายต่อเดือน ต้องรีบจัดการก่อนที่จะบานปลายนะคะ
อ่านเพิ่มเติม
- ขาดส่งประกันสังคมมาตรา 39 เกิน 3 เดือน มีผลอะไรบ้าง?
- ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร?
- วิธีเช็คเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออก
ดูโปรโมชั่นสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตทั้งหมดที่นี่